บทเรียนเรือล่มภูเก็ต เตรียม “โรงพยาบาลเกาะพะงัน” ทั้ง บุคลากร เครื่องมือแพทย์ ดูแลประชาชน “นักท่องเที่ยว” หนุนระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ ทั้งทางเรือ อากาศ เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว วาไรตี้ และ ธุรกิจบริการเชิงสุขภาพ ฯลฯ

บทความ

"บทเรียนเรือล่ม" ท่องเที่ยวพัง สธ.ตื่นพัฒนา “การแพทย์ฉุกเฉินเกาะพะงัน สมุย”

MED HUB NEWS - หลังจากเกิดกรณีเรือฟีนิกซ์อับปางในทะเลภูเก็ต เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเสียชีวิตเป็นจำนวนมากนั้น

พบว่าการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินที่ล่าช้า เป็นบทเรียนสำคัญของระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล ซึ่งสร้างความเสียหายให้การท่องเที่ยวไทยจำนวนมาก

medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า อดีตรองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ขวัญใจ “อาสาสมัคร สาธารณสุข”

หนึ่งในผู้บริหารที่เชี่ยญชาญงานด้านระบบบริการสุขภาพ กฎหมายใหม่ๆ นายแพทย์ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 11 ให้สัมภาษณ์ว่า

กระทรวงสาธารณสุข มีแผนพัฒนาโรงพยาบาลทุกแห่งให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะดูแลประชาชนในความรับผิดชอบ โดยในเขตสุขภาพที่ 11 มีหลายพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศระดับโลก เช่น เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพะงัน 

จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพทั้งในเรื่องบุคลากร เครื่องมือแพทย์ ให้สามารถดูแลประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว

รวมทั้งพัฒนาระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพแบบไร้รอยต่อ ทั้งทางบก ทางเรือและทางอากาศ เพื่อความปลอดภัยผู้ป่วย

เช่น ที่เกาะพะงัน มีโรงพยาบาลเกาะพะงัน เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง อยู่ห่างจากตัวจังหวัด120 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง

กระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรบุคลากร พร้อมเครื่องมือแพทย์เพียงพอ ที่จะดูแลประชาชนในพื้นที่รวมทั้งนักท่องเที่ยว

โดยมีแพทย์ทั่วไป 4 คน ทันตแพทย์ 3 คน 3คน เภสัชกร 3 คน พยาบาลเฉพาะทาง 10 คน พยาบาลวิชาชีพ 32คน สหวิชาชีพอื่นๆ 42คน รวมทั้งหมด 94 คน 

สามารถให้บริการครอบคลุมทั้งงานรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน  ฝากครรภ์ ทำคลอดปกติ ผ่าตัดเล็ก การวางแผนครอบครัว เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยโรคซับซ้อนเกินศักยภาพของโรงพยาบาล เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ภาวะตั้งครรภ์ผิดปกติ เป็นต้น  จำเป็นต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือผ่าตัด ทุกราย

ทุกสิทธิ์การรักษา ที่เข้ามารักษาผ่านการตรวจวินิจฉัยว่าต้องส่งรักษาต่อ จะมีระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพไปยังโรงพยาบาลเครือข่าย

คือโรงพยาบาลเกาะสมุย และโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ผ่านศูนย์นเรนทรอ่าวไทย 1669 เพื่อขอใช้เรือสปีทโบ๊ท ส่วนในช่วงมรสุมเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม คลื่นลมแรงมาก

จะประสานสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ขอใช้เฮลิคอปเตอร์ เรือรบหลวง หรือเรือแบบเร็วลมพระยาเช่าเหมาลำ 

โดยในปี 2560 ทำคลอดปกติ 134 ราย ผิดปกติ 2 ราย ส่งต่อโรงพยาบาลเกาะสมุย 41 ราย ส่วนปี 2561 ทำคลอดปกติไปแล้ว 89 ราย ผิดปกติ 1 ราย ส่งต่อโรงพยาบาลเกาะสมุย 37 ราย

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์สุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

 

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com

ได้จาก Facebook : sasook ของเรา

18 ธันวาคม 2561

ผู้ชม 2572 ครั้ง

Engine by shopup.com