“น้องเบียร์ ทนพญ.พิชญ์ธัชชนก” นักเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลนาคู อ. นาคู จ. กาฬสินธุ์ เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าววงการแพทย์ บทความสุขภาพ คลินิกเสริมความงาม ระบบสาธารณสุข การค้าการลงทุน ธุรกิจสตาร์ทอัพ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว วาไรตี้

บทความ

สารพัดปัญหา “น้องเบียร์ ทนพญ.พิชญ์ธัชชนก” วิชาชีพนักเทคนิคการแพทย์

 

 MED HUB NEWS - หากพูดถึง “นักเทคนิคการแพทย์” ( ทนพญ.) หลายคนคงคิดว่าเป็นคุณหมอที่รักษาคนไข้ในโรงพยาบาล แต่ความเป็นจริงคนเหล่านี้ก็เปรียบเสมือน "คนเบื้องหลัง" เพราะบุคคลกลุ่มนี้จะอยู่ด้านหลังกำแพงกันระหว่างตัวเองกับผู้ป่วย

งานที่ “นักเทคนิคการแพทย์” ทำต้องต้องละเอียดรอบครอบ ทำด้วยใจที่รัก และต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ แม้จะไม่มีใครรู้ ใครเห็นก็ไม่น่าวิตก เพราะผลสำเร็จนั้นจะเป็นประจักษ์พยานที่มั่นคง

.....แม้ว่าวิชาชีพนี้จะน่าเห็นใจมากๆ เพราะสำคัญมากในระบบสาธารณสุขไทย แต่ก็ถูกมองข้ามเสมอ แม้แต่แพทย์ และ พยาบาล ฯลฯ 

ทีมข่าวเว็บไซต์  Medhubnews.com  ได้สัมภาษณ์พิเศษ “นักเทคนิคการแพทย์หญิง”  ทนพญ.พิชญ์ธัชชนก แก้วดี หรือ คุณเบียร์  หมอแล็บคนสวย จาก โรงพยาบาลนาคู อ. นาคู จ. กาฬสินธุ์

คุณเบียร์  หมอแล็บคนสวย แม้ว่าเจ้าตัวบอกว่าไม่ชอบให้ใครเรียกว่า หมอแล็บ เท่าไหร่นัก เพราะไม่ชอบ เนื่องจากเราเรียนมาทางด้าน  Medical Technologist  หรือ  Med.Tech ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการ หรือ ห้องแล็บ นั่นเอง

แต่คำนี้ก็กลายเป็นที่ติดปากไปแล้ว เหมือน เจ้าหน้าที่ใน รพ.สต.ก็เรียกกันว่า “หมออนามัย”  

วันนี้ครบรอบ 1 ปี จากเดือนกันยายน 2560 ที่ทำงานวันสุดท้าย กับชีวิตลูกจ้างชั่วคราว 6 ปี 11 เดือน สายงานห้องปฏิบัติการ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ ตำแหน่งสุดท้าย คือ หัวหน้างานเทคนิคการแพทย์

“การเข้าสู่ระบบสาธารณสุขไทยนั้น เบียร์เริ่มชีวิตนักศึกษาจบใหม่ด้วยตำแหน่ง นักเทคนิคการแพทย์ เริ่มบรรจุทำงานลูกจ้างชั่วคร่าวด้วยเงินเดือน 10,030บาท ใน รพ.ช M2 อย่าสงสัย ว่าทำไมได้บรรจุสักที่ เพราะโง่บวกขัดแย้ง กับรายได้ ภาระงาน

คือเรียนก็ อัดแน่นเต็มที่ใน 4 ปี เรียนภาคทฤษฎี แล้วก็ลงปฏิบัติ แบบเรารู้สึกตัวนะว่าเรียนเยอะไปไหม เพราะเป็นคนง่ายๆ ติดสายอาร์ตๆ มากกว่าด้วย ตอนแรกสอบติด ม.ข พ่อแม่อยากให้เป็นครู เราชอบศิลป์ แต่ตกสัมภาษณ์ค่ะ

กระทั่งมา จบสายวิทย์ คณิต ในตอนสอบนี้ คณิต2 ,วิทย์กายภาพ คือไปลงเลือกสายศิลป์เพราะคิดว่า ชอบ แต่พอนึกย้อนไป ความที่เบียร์เป็นวัยรุ่น สมัยนั้นยังรักอะไรที่สบายๆไม่เน้นเครียด พักเรียนไป 8 เดือนทำงานช่วยที่บ้านเพื่อแลกกับการมาเรียนม.เอกชน (รังสิต) ก็ ลงคณะเทคนิคการแพทย์คะ คือเราจะเรียนก็ต้องจบมามีงานทำ สิ สายทางการแพทย์

ตอนนั้นมองดู ชอบแนว ไม่วุ่นวายมากเน้น ปฏิบัติ นี้แหละ ใช่สุด เรียนไป ก็ เรียนได้ค่ะ ไม่อ่านเยอะ เราขอแค่ผ่าน ไม่อยากคิดมาก ก็เรียนไป เรียนจน ลืมชีวิตปกติค่ะ

การเรียนเราเน้นๆ หนักทุกๆ ขบวนการศึกษาค่ะ ก็ต้องอดทน อดหลับอดนอน กาแฟ วันละ 5-8แก้ว จัดมาล่ะค่ะ จนจบ มาสู้ศึกการสอบใบประกอบ รุ่นนั้น เราคิด จะไปเป็น ตัวแทนบริษัท ดูแล้วคงจะเดินสายผจญภัย ไม่เหมาะกับเรา สมัยนั้นไม่มีใบประกอบก็ ทำงานได้

ถ้ามีก็ได้ค่าใบประกอบ 1000บาท เราก็เฉยๆค่ะ แต่ด้วยคิดว่าไม่อยากทำงานรัฐ เลยไม่อยากจะสอบผ่านเหตุผลส่วนตัวจริงๆค่ะ  พอที่นี้ มันต้องใช้ทุน ด้วยเหตุผล พ่อแม่ คือมันได้ลงเรือแล้ว ทำงานก็ เช้าบ่ายดึก งานตรวจสุขภาพ สภาพ ต้องถึกค่ะ

"เป็นผู้หญิงที่ต้นขาสาว MT ใหญ่โต ทุกส่วน ลำแขนนิ้วมือเส้นเลือดนูนชัดค่ะ นึกภาพตามนะคะ จนอยากมีประสบการณ์เพิ่มก็มาสมัครสอบทำงานรพช F3 ที่เดิมรพช.M2 อยู่ทน 6ปี พอย้ายมารพช.F3 คะ อันนี้ก็ โหดเหมือนกัน สายพัฒนาคุณภาพ มาประจบตรวจสุขภาพค่ะ"

เป็นคนขยันเรียนค่ะ ตอนนั้นบ้ายมาอยู่ที่นี่  พอรับทราบว่ามา บุกเบิกงานเทคนิคการแพทย์ หนูทำทุกๆอย่างค่ะ เพราะ 1 MT เราต้องสู้ ค่ะ เลือกมาที่นี่ เพราะ ใกล้บ้าน ขอบอกว่า ลูกกตัญญู หนูกล้าใช้อย่างภาคภูมิใจคะ เพราะพยายามไม่ทำให้พ่อแม่ผิดหวัง เงินต้องให้ทุกเดือน เราคิดว่าเราต้องให้

เพราะพ่อแม่ให้ความสบายมาตลอดคะเรื่องเงินก็ไม่เคยขาด ช่วงเวลาเรียนนี้ ใช้จ่ายลืมคิดค่ะ เราก็สายธรรมะ ด้วยความที่ชอบศึกษา ชอบงานขายอยากเรียนต่อแต่สถานะลูกจ้าง จะเรียนเสาร์อาทิตย์ก็ ไม่อยากเสียเงินเสียเวลาพัก ก็เลยลุยเอง ความรู้มีอยู่ทั่วไปค่ะ

อ่านและติดตามประสบการณ์ คนที่ประสบความสำเร็จ เราก็ทำร้านลงหุ้นร้านเครื่องสำอาง ตอนนั้น  ต้นทุนสูงมากค่ะ เราเป็นคนจริงจัง เสาร์อาทิตย์ทุ่มให้งาน แต่พอถึงวาระที่ต้องเลือกแล้วเราขายหุ้นร้านเพราะการทำงานสองอย่างเป็นภาระหนักมาก มันจะไม่ได้อะไร

หากเทียบเรื่องการเงิน ตอบเลยว่าค้าขายรายได้เยอะกว่ามากเหนื่อยน้อยกว่า  แต่พอมาทำงาน สติหลุดโลกค่ะ เพราะงานเทคนิคการแพทย์ก็ต้องพัฒนางานคุณภาพรับประเมินเดินงานโรงพยาบาล ร่วมเป็นคณะกรรมการ ก็เต็มที่คะ แต่เราทำงานไว กล้าคิดกล้าออกความคิดเห็นก็รับโปรเจกมา 5ส

อันนี้ก็หนักหน่วงคะก็ปิดงานรับคำชมและขอบคุณ จากงานนั้นซึ้งเลยค่ะ ขอไม่กล่าวถึง มามองห้องตัวเองที่ต้องรับผิดชอบ เอกสารต้องแก้และปรับปรุงให้สอดคล้องกับการทำงาน

ในภาระงานมันแขวนไว้ตรงหัวหน้าห้องแล็บ ( เทคนิคการแพทย์ ) ความชัดเจนในมาตรฐาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ สิทธิคนไข้ งานบริการเชิงรุกเชิงรับ การปรับระบบการให้บริการ งานเครื่องมือที่ต้องเดินแผน จัดซื้อจัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ บริหารงบประมาณ ตามแผนจัดซื้อ เจรจาต่อรอง

เข้าเวรดึก ...จะคล้ายหมอแล็บแพนด้า ไปแล้ว 

แม้กระทั้งต้องคิด คำนวณความคุ้มทุนในการเปิดบริการ แต่ละตัวทดสอบ การประเมินที่ผ่านมา มันคือผลสอบในการทำหน้าที่นี้

วันนี้เหลือเวลาอีกครึ่งเดือน ในบทบาทสุดท้ายสายวิชาชีพที่เบียร์คงแอบหลงรักไปโดยไม่รู้สึกตัว ต่อไปเบียร์ก็คงเดินทางเข้าสู่การปฏิบัติกรรมฐาน ไปฝึกสติมาค่ะ

ท่านผอ แนะนำวัดป่าสุคโต ได้สิ่งดีๆ กลับมาเยอะมากค่ะ เพราะความสุขความปิติที่แท้จริงคือ การทำงานโดยไม่ได้หวังผลไม่ได้หวังลาภยศ หรือคำสรรเสริญ

แต่เบียร์ทำด้วยหัวใจนักเทคนิคการแพทย์ ที่พร้อมทุ่มเทฝีมือไม่รู้ก็ต้องพยายามเพื่องานที่เป็นประโยชน์ต่อคนจริงๆคะเพราะคือสิ่งมีชีวิตที่ต้องการความช่วยเหลือในการช่วยบ่งชี้ วิเคราะห์ ติดตามประเมิน โรค/สภาวะ ร่างกาย ถ้าให้เล่าจริงๆ มันเยอะมากค่ะ แต่เบียร์ไป เบียร์ลาออก 2 ที่  ผอ.เรียกคุยถามเราว่าเราตัดสินใจดีแล้วใช่ไหม

เคยเดินทางมาหน้าตึก สป. เรียกร้อง ปัญหาความไม่เป็นธรรม และเหลื่อมล้ำในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ แล้ว 

เบียร์ มองว่าคุ้มกับการทุ่มเท เพื่องาน เวลาไป ผลงานเรายังตั้งอยู่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วม แต่เบียร์ก็ได้ประสบการณ์ ที่คงหาที่ไหนไม่มี เบียร์ขอเดินหน้าต่อเพื่อผญจภัยเติมเต็มความสุข เพราะรู้จักทุกข์พอเจอสุขเราก็รับรู้แล้วปล่อยวาง ได้ การไม่ยึดติด เราจะเบาใจเบากาย จริงๆค่ะ

ส่วนของเบียร์เน้นปล่อยว่าง เดินงานทั้งเมตตา ขันติ วิริยะ อุเบกขา มรรค8 หนูดึงมาใช้หมดคะ เพราะ ทำงานคือการปฏิบัติธรรม ฝึกสติรู้สึกตัว ได้ทั้งธรรมได้งาน ก็ ยังคงใช้ความรู้สายงานเทคนิคการแพทย์ต่อไปค่ะ แต่คงต้องตามหาฝันต่อคะ  เริ่มงานปี 53 - ปี60 กระทรวงสาธารณสุข

พอได้อ่านเจอ.....บทความนี้ ยกมาจากหมอท่านหนึ่งที่เคยเขียนลาออก มันเป็นข้อความที่คงสื่อภาพชัดในมุมของหมอ คำกล่าวที่ว่า จะทำงานเรื่อยๆ แต่พอได้มาทำงานจริงๆ แล้วกลับพบความจริงที่ไม่ใช่อย่างที่คิดเอาไว้ เพราะมีอะไรเกิดขึ้นมากกว่านั้น

“การมีไดโนเสาร์อยู่ในองค์กร เราอยากจะให้เค้าพัฒนาเรื่องนี้ แต่คนที่แก่กว่าเค้าก็ไม่อยากทำ บอกว่า “เค้าทำอย่างงี้กันมาตั้งนานแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอะไร เราจะให้เค้าเปลี่ยนทำไม?” บางทีการที่เราอยู่แต่ใน Comfort zone จนชิน ถ้าไม่รู้จักพัฒนาตัวเอง อีกหน่อยก็จะอยู่แบบไดโนเสาร์แบบนี้ไปเรื่อยๆ” 

นี่คืองานของ “นักเทคนิคการแพทย์” ที่ฟังดูแล้วงานหนัก โหดไม่ใช่น้อยๆ เป็นบุคลากรของกระทรวง สธ.ที่มีคุณภาพ แต่ต้องลาออกจากระบบสาธารณสุขไทย

สำหรับ ปัญหาความไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์  ประเด็นที่อยากให้ความสำคัญคือเรื่องฐานเงินเดือนของนักเทคนิคการแพทย์ เงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้รับไม่สมดุลกับหลักเกณฑ์การต่อใบประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ซึ่งดำเนินการโดยสภาเทคนิคการแพทย์

โดยหลักเกณฑ์การต่อใบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้นำมาจากหลักเกณฑ์ของสภาเภสัชกรรม ที่นอกจากให้ต่ออายุทุก 5 ปีแล้ว ยังกำหนดให้ต้องเข้าอบรม และประชุมวิชาการเพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ ซึ่งจะมีการเก็บคะแนนเพื่อประกอบการพิจารณา

วิชาชีพเทคนิคการแพทย์  ยังต้องอัพเดทความรู้ใหม่ๆ เสมอ อายุใบประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ทุก 5 ปี แต่มีสภาวิชาชีพแห่งหนึ่ง ไม่เคยต้องต่อใบประกอบวิชาชีพ  ประชุมสามัญประจำปีก็ยังไม่เคย เรียนจบก็ได้ตำแหน่งตลอดชีวิต...แน่นอนจริงๆ  !

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ 

Thailand Health and Wellness News  

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา  

22 กันยายน 2561

ผู้ชม 31263 ครั้ง

Engine by shopup.com