โนโมโฟเบีย nomophobia,เตือนภัยคนติดมือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เสี่ยงโรคนิ้วล็อก ถึงขั้นพิการ - medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม การค้าการลงทุนด้านสุขภาพ

บทความ

"เตือนภัยติดมือถือ" แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เสี่ยงโรคนิ้วล็อก ถึงขั้นพิการ

MED HUB NEWS  ภัยร้ายดิจิตอล โนโมโฟเบีย โดย เมดฮับ นิวส์medhubnews.com รายงานว่า นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์เปิดเผยถึงปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทกับการใช้ชีวิตมากขึ้น

เรามักติดโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟนแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการทำงาน อัพเดทข่าวสาร แชทคุยกับเพื่อน เล่นเกมส์ตลอดเวลา ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เสี่ยงต่อโรคนิ้วล็อก และพบว่าผู้หญิงเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย

รวมถึงแม่บ้านที่ซักผ้าด้วยมือถือถุงหิ้วตะกร้าไปจ่ายตลาด ทำกับข้าว พ่อครัว แม่ค้า คนทำไร่ ทำสวน ช่างไม้ ช่างทำผม ช่างตัดเสื้อผ้า ช่างที่ใช้ไขควงเลื่อย ค้อนต่างๆ เป็นประจำ ผู้ที่ชอบเล่นกีฬาบางประเภท เช่น กอล์ฟ เทนนิสแบดมินตัน

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคข้ออักเสบชนิดรูมาตอยด์ มีความเสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อก โรคนี้เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว มีโอกาสเป็นได้ทุกนิ้ว

ผู้ป่วยจะมีอาการนิ้วล็อก กำมือ งอนิ้วได้ แต่เวลาเหยียดออกนิ้วใดนิ้วหนึ่งจะเหยียดไม่ออกเหมือนโดนล็อกไว้

อาการแบ่งเป็น 4 ระยะ คือระยะที่ 1 มีอาการปวดบริเวณฝ่ามือตรงกับโคนนิ้วมือ และมีอาการมากขึ้นเมื่อกดหรือบีบบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า ระยะที่ 2 เมื่องอแล้วเหยียดข้อนิ้วจะสะดุดและปวดเพิ่มมากขึ้น ระยะที่ 3 เมื่องอนิ้วลงไปแล้วจะติดล็อกไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ หรืออาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้

ระยะที่ 4 มีอาการอักเสบบวมมากจนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อยไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ หากพยายามเหยียดจะทำให้ปวดมากโรคนิ้วล็อกไม่ใช่โรคอันตราย แต่ก่อให้เกิดความรำคาญ และหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำข้อต่อยึดและเหยียดไม่ออก ขยับไม่ได้ พังผืดรอบข้อต่อของนิ้วยึดแข็งทำให้พิการได้

ด้าน นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์กล่าวว่า การรักษาโรคนิ้วล็อกจะรักษาตามระยะของอาการ โดยอาการในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาเพื่อลดอาการอักเสบ บวม ปวด ร่วมกับการแช่น้ำอุ่นวันละ 2-3 ครั้งและหยุดพักการใช้งานของมือ

ตลอดจนการนวดเบาๆ การใช้ความร้อนประคบและออกกำลังกายเหยียดนิ้ว การรักษาในระยะที่ 3 คือ การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ ปวด บวม

แต่มีข้อจำกัดคือ ไม่ควรฉีดยาเกิน 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อ 1 นิ้วที่เป็นและการรักษาในระยะที่  4 จะรักษาโดยการผ่าตัด คือ ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้วมือที่หนาให้เปิดกว้างออก เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้สะดวก ไม่ติดขัดหรือสะดุดอีกทั้งนี้การป้องกันโรคนิ้วล็อกสามารถทำได้โดย ไม่หิ้ว หรือ ยกของหนัก

ถ้าจำเป็นควรใช้ผ้าขนหนู ผ้านุ่มๆรองและหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือแทนที่จะให้น้ำหนักตกที่ข้อมือหรือวิธีการอุ้มประคอง ลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ หรือใช้เครื่องทุนแรง เช่น รถเข็น รถลากการรดน้ำต้นไม้ควรใช้สายยางแทนการหิ้วถังน้ำ

นอกจากนี้ไม่ควรบิดผ้าซักผ้าด้วยมือ และไม่ควรบิดผ้าให้แห้งสนิท เพราะจะยึดปลอกหุ้มเอ็นจนครากและเป็นจุดเริ่มต้นของโรคนิ้วล็อก ควรซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า การใช้เครื่องมือต่างๆ

เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน กรรไกร ตะหลิว อุปกรณ์กีฬา เช่น ไม้กอล์ฟ เทนนิส ควรห่อหุ้มด้ามจับ เพื่อให้ด้ามจับนุ่มขึ้น

หรือใส่ถุงมือ ลดแรงเสียดสีระหว่างมือกับอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการทำงานที่ต้องเกร็งมือต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักมือ

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News  

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

05 มกราคม 2562

ผู้ชม 2647 ครั้ง

Engine by shopup.com