อาลัย น้องชานนท์ ช็อกเสียเลือดมาก ตายอย่างสงบด้วย โรคไข้เลือดออก หลังพบ "ไข้เลือดออก" ส่อระบาดอย่างหนัก เว็บไซต์สุขภาพ

บทความ

อาลัย น้องชานนท์ ช็อกเสียเลือดมาก ตายอย่างสงบด้วย โรคไข้เลือดออก หลังพบ "ไข้เลือดออก" ส่อระบาดอย่างหนัก

ไข้เลือดออก , medhub news , เว็บไซต์สุขภาพ , ข่าวสุขภาพ , น้องชานนท์ ไข้เลือดออก เสียชีวิต , น้องชานนท์ ตาย โรคไข้เลือดออก , ผู้ใช้เฟสบุ๊ค ซา ดีด , ข่าวน้องชานนท์  

News Update วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2562 : หากเอ่ยถึงการระบาดของโรคไข้เลือดออก ชาวบ้านทั่วไปมักจะคิดถึงช่วงสูญเสีย "ปอ ทฤษฎี" ดาราชื่อดัง

จึงมีความตื่น และ ตระหนักจากภัยร้าย “ไข้เลือดออก” ที่เคยคร่าชีวิตคนดัง 

ล่าสุด medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า หลังจากกรณีผู้ใช้เฟสบุ๊ค ซา ดีด

โพสต์ข้อความแจ้งข่าวขอความช่วยเหลือให้ช่วยกันบริจาคเลือด เพื่อเอาไปช่วยชีวิต น้องชานนท์

ซึ่งนอนป่วยเป็น โรคไข้เลือดออก มีอาการช็อกเสียเลือดมาก น่าเป็นห่วง ทำให้คนในโลกออนไลน์ ต่างกระหน่ำแชร์ข้อความนี้เป็นจำนวนมาก

กระทั่ง เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ครอบครัวแจ้งข่าวร้ายว่า  น้องชานนท์ ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ

โดยพี่ชายโพสต์ข้อความสุดเศร้าว่า ขอขอบคุณทุกคนที่ช่วยกันน้องไปสบายแล้ว

ขอบคุณทุกกำลังใจและการช่วยเหลือน้องชานนท์ ท่ามกลางชาวเน็ตที่เข้าไปคอมเม้นต์ให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะในช่วงนี้ ฤดูฝนมีผู้ป่วยจำนวนมาก จากการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกระบาด มักจะมีวงรอบแตกต่างกันไป

โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2562 นี้ คาดการณ์ว่าจะระบาดในช่วงฤดูฝนนี้ 

หากวันนี้คนไทยรำลึก และ ตื่นตัวในดาราต้นแบบเพื่อเตือนใจป้องกันไข้เลือดออกจะดีมากๆ และหากปลุกกระแส ปอ ทฤษฏี สหวงษ์ เชื่อว่าประชาชนจะตื่นตัวมากขึ้น

เพราะทัศนคติเรื่องสุขภาพของคนไทย ยังมองว่าโรคไข้เลือดออกเป็นเพียงโรคชิลๆ และคิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา 

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือเร่งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก  หลังหลายพื้นที่เกิดพายุฝนต่อเนื่อง อาจเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก

เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องในหลายจังหวัดอาจเกิดน้ำท่วมขังและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกและมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ซื้อยากินเองก่อนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ไม่ได้ติดตามการรักษาต่อเนื่อง

จึงขอความร่วมมือทุกภาคส่วนช่วยกันรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มข้นและประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างต่อเนื่อง

เร่งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เน้นย้ำอาการที่ต้องสงสัยและแนวทางการดูแลรักษาโรคไข้เลือดออกให้คลินิก ร้านขายยา และโรงพยาบาลทุกระดับ

หากพบว่าผู้ป่วยมีไข้สูง สงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกให้รีบไปพบแพทย์และไม่ซื้อยากินเอง และขอความร่วมมือประชาชนดูแลป้องกันตัวเอง ทายากันยุง นอนในมุ้งและทำลายแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลาย

ทั้งนี้ ปี 2559 ไม่มีใครไม่รู้จักปอ ทฤษฏี สหวงษ์ คนส่วนใหญ่รู้จักเขาในฐานะพระเอกหนุ่มที่โลดแล่นอยู่ในวงการบันเทิงมากว่าสิบปี

ส่วนคนนอกวงการบันเทิงจะรู้จักเขาจากสื่อทุกแขนง ที่เกาะติดนำเสนอข่าวเกี่ยวกับอาการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกชนิดร้ายแรงแบบรายวันและ วันละหลายครั้ง  กระทั่ง วันที่ 18 ม.ค. 2559 ปอ ทฤษฏี เสียชีวิต

ด้าน นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า กลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ มักจะมีปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพอื่นๆร่วมด้วย

เช่น น้ำหนักเกินมาตรฐาน มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น ส่งผลให้กลุ่มเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

กรมควบคุมโรค ขอแนะนำให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มดังกล่าวป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด โดยยึดหลัก “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค”

คือ 1.เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง  2.เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

และ 3.เก็บน้ำ ภาชนะใส่น้ำต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ทั้งนี้จะสามารถป้องกันได้ถึง 3 โรค ในคราวเดียวกัน คือ 1. โรคไข้เลือดออก 2. โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 3. ไข้ปวดข้อยุงลาย

รวมถึงควรสังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการ ไข้สูงมากโดยฉับพลัน ปวดเมื่อย หน้าตาแดง อาจมีผื่นขึ้นใต้ผิวหนังตามแขนขา ข้อพับ 

ดังนั้น ถ้ามีไข้สูง 2-3 วันไม่หายหรือไม่ดีขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัย เพราะหากเข้ามารับการวินิจฉัยช้า  อาจเป็นเหตุสำคัญทำให้มีโรคแทรกซ้อนรักษายากขึ้นและเป็นปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตได้

ส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเป็นพื้นที่เสี่ยงที่จะพบผู้ป่วยได้ง่าย เพราะการกระจุกตัวของประชากร ดังนั้น ประชาชนที่อาศัยและทำงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

หรืออาศัยในหอพักหรือคอนโดมิเนียม ขอให้สำรวจลูกน้ำยุงลายตามแจกันต้นไม้ ถาดรองน้ำตามต้นไม้

หรือแหล่งน้ำขังที่ใสสะอาด หากพบลูกน้ำ ยุงลายให้คว่ำหรือทำลายแหล่งนั้นทันที และหมั่นเปลี่ยนน้ำเป็นประจำ หรือใส่

หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

 


เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News   

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

 

28 มิถุนายน 2562

ผู้ชม 6188 ครั้ง

Engine by shopup.com