หาคำตอบ ยาหมดอายุ ทิ้งที่ไหน “ดร.ตี๋เล็ก” สิรวิชญ์  แนะวิธีจัดการยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพให้ถูกต้อง

บทความ

หาคำตอบ ยาหมดอายุ ทิ้งที่ไหน “ดร.ตี๋เล็ก” สิรวิชญ์  แนะวิธีจัดการยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพให้ถูกต้อง

News Update  : คำถามที่ถามเข้ามา เราจะทยอยตอบเป็นเรื่องๆนะครับ ส่วนบทความนี้มาจากคำถาม ยาหมดอายุ ทิ้งที่ไหน ?  

ที่ผ่านมา สภาเภสัชกรรมรณรงค์ให้คนไทยมีการใช้ยาและสมุนไพรอย่างสมเหตุผลภายใต้คำขวัญ “ฉลาดใช้ยาและสมุนไพรสมเหตุผล ยุค 4.0 ... ปรึกษาเภสัชกร” 

โดยความร่วมมือจากสมาคมวิชาชีพ ได้แก่ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย) 

สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) และสมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย) สมาคมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และสมาชิกเภสัชกรทุกคน

Are Expired Drugs Safe to Take ?

- คำถาม ยาหมดอายุ ทิ้งที่ไหน ? 

ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม และ เพจ sasook รายงานว่า ภก.สิรวิชญ์ พันธนา หรือ “ดร.ตี๋เล็ก” เภสัชกรชำนาญการ ( ด้านเภสัชกรรมคลินิก ) โรงพยาบาลบึงกาฬ ระบุเกี่ยวกับคำถามที่ถามเข้ามาแบบห้วนๆ ว่า ยาหมดอายุ ทิ้งที่ไหน ? 

วิชาชีพเภสัชได้เน้นความสำคัญของการจัดการ ยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพ หรือยาที่ไม่ใช้แล้ว

ห้ามนำยาที่ไม่ได้ใช้แล้วไปให้ผู้อื่นใช้ต่อ โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เนื่องจากการเจ็บป่วยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจนำไปสู่การใช้ยาไม่เหมาะสมจนเกิดอันตรายแก่ชีวิตได้

ห้ามนำยาไปทิ้งยาลงในถังขยะทั่วไป โดยไม่มีการทำลาย  ด้วยจากอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่เก็บยาไปใช้ หรืออาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ รวมถึงอาจเกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้ ไม่ทิ้งยาลงในส้วมหรือชักโครกเด็ดขาด

เนื่องจากยาที่ทิ้งลงในส้วมหรือชักโครกจะถูกระบายไปยังท่อน้ำทิ้ง และระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมจนอาจเกิดพิษต่อสัตว์ในน้ำ ปนเปื้อนในน้ำที่นำมาใช้ในเกษตรกรรม  

หรือ ตกค้างในแหล่งน้ำที่นำมาผลิตเป็นน้ำประปา และอาจเกิดอันตรายเมื่อเรานำน้ำกลับมาใช้ได้

- คำตอบจัดการกับยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพ

สำหรับการจัดการกับยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพ หรือยาที่ไม่ใช้แล้วและต้องการทิ้งสามารถดูรายละเอียดคำแนะนำวิธีทิ้งยาได้ที่เอกสารกำกับยา

แต่ถ้าไม่มีเอกสารกำกับยาหรือไม่มีคำแนะนำวิธีทิ้งยา แนะนำให้รวมรวบยาดังกล่าวใส่ถุง แล้วนำไปฝากทิ้งที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน

หรืออาจทิ้งเองได้ โดยหากเป็นยาเม็ด ยาแคปซูลแนะนำให้ทุบ บด หรือตัดเม็ดยาให้แตกละเอียดก่อน หากเป็นยาน้ำที่หมดอายุหรือเปลี่ยนสี กลิ่น หรือมีตะกอนผิดไปจากเดิม ให้เทยาออกจากขวด

จากนั้นนำยาเม็ด ยาแคปซูล หรือยาน้ำนั้นไปผสมกับแกลบ ขี้เลื่อย ขี้เถ้า หรือดิน ตามที่หาได้ คลุกเคล้าจนเข้ากันดี แล้วนำใส่ถุงหรือภาชนะที่ปิดมิดชิด

พร้อมเขียนข้อความระบุให้ชัดเจนว่าเป็น “ยาหมดอายุ” “ยาเสื่อมสภาพ” “ยาเหลือใช้” ก่อนนำไปทิ้งตามถังขยะที่ชุมชนได้จัดเตรียมไว้ให้ ( ถ้ามี )

เภสัชกร ดร. สิรวิชญ์ พันธนา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

  1. WHO.1999. Guidelines for Safe Disposal of Unwanted Pharmaceuticals in and after Emergencies.Interagency Guideline. http://www.who.int/water_sanitation_

health/medicalwaste/unwantpharm.pdf. Access on June,20, 2018.

  1. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. คู่มือประชาชน แนวทางการจัดการยาที่ตกค้างในชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News   

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

23 พฤศจิกายน 2562

ผู้ชม 17933 ครั้ง

Engine by shopup.com