หญิงชาวมาเลเซีย ตั้งโพลถามผ่านโซเชียล ตัวเองควรอยู่หรือตาย ก่อนก่อเหตุฆ่าตัวตาย หลังผลโพลพุ่ง 69 %

บทความ

พิลึก หญิงชาวมาเลเซีย ตั้งโพลถามผ่านโซเชียล ตัวเองควรอยู่หรือตาย ก่อนก่อเหตุฆ่าตัวตาย หลังผลโพลพุ่ง 69 %

News Update วันพฤหัสบดีที่ 16  พฤษภาคม 2562 : ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ขีวิตของเรามากยิ่งขึ้น 

กอง บ.ก.เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข  การท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ เกือบ 600 ล้านคนทั่วโลก

และมีราวๆ 10 ล้านคนในไทย สถิตการใช้ทุกๆ 20 นาที มีการอัพโหลดรูปถ่ายมากกว่า 3.7 ล้านรูป แชร์ ลิงก์ และอัฟเดทสเตตัส มากว่าล้านข้อความ

กรณี รายงานข่าวระบุว่าวัยรุ่นวัย 16 ปีที่ไม่เปิดเผยชื่อ เป็นชาวเมืองกูชิง ในรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซียเสียชีวิต หลังตั้งโพลเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมา ผ่านอินสตาแกรม แพลทฟอร์มแชร์ภาพชื่อดังที่เฟสบุ๊คเป็นเจ้าของ

นอกจากนี้ เธอตั้งโพลพร้อมข้อความ “สำคัญมากๆ จริงๆ ช่วยฉันเลือกหน่อย อยู่หรือตาย” โดยผลโพลพบว่า 69 เปอร์เซ็นต์สนับสนุนให้เธอจบชีวิตลง ขณะที่ 31 เปอร์เซ็นต์เลือกให้เธอมีชีวิตต่อไป

ทั้งนี้นักการเมืองในมาเลเซีย รวมถึงรัฐมนตรีเยาวชนและกีฬาไซเอด ซัดดิค ออกมาเรียกร้องให้มีการสืบสวนกรณีดังกล่าวอย่างเร่งด่วน รวมถึงหามาตรการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าวซ้ำ และเรียกร้องให้ยกกรณีดังกล่าวเป็นวาระระดับชาติ

สำหรับ เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้คนทั่วโลกมีแนวโน้มจะติดโลกโซเชียลมากขึ้น คือ การไม่อยากอยู่อย่างโดดเดี่ยว,  ต้องการการมีตัวตนมากกว่าที่เป็นอยู่ มากกว่าที่คิด, มีความอยากรู้อยากเห็นเรื่องคนอื่น

พอๆกับต้องการให้คนอื่นรู้เรื่องของตน และการโหยหาแรงสนับสนุนและการยอมรับจากสังคม

รายงานการศึกษาผลกระทบจาการติดโซเชียล พบว่าเกิดความชุกที่จะเสพติดอาหารและช้อปปิ้งร้อยละ 29.5 ทำให้มีปัญหาภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 27.7 และทำให้เกิดอาการวิตกกังวล และภาวะอารมณ์แปรปรวน ร้อยละ 21.1

นอกจากนี้ยังพบว่าการติดโซเชียลก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อตัวเองและต่อสังคมที่รุนแรงในแต่ละช่วงวัย

เช่น ในกลุ่มวัยก่อนเรียน พบปัญหาสมาธิสั้น สูญเสียทักษะสังคม และการเสียการเรียนรู้จากประสบการณ์ การลงมือทำ

กลุ่มวัยเรียนก่อให้เกิดปัญหาด้านความรุนแรง อ้วน,สายตาเสีย, เสียวินัย, และผลการเรียนลดลง  กลุ่มวัยรุ่น ทำให้เกิดค่านิยมการบริโภคติดอินเตอร์เน็ต การรังแกกันทางโซเชียล,การล่อลวงค่านิยม และพฤติกรรมทางเพศ ผิดปกติ เป็นต้น

ปัจจุบันได้มีการบรรจุการติดโซเชียล เป็นโรคทางจิตเวชปะเภทหนึ่งที่ต้องได้รับการวินิจฉัย และบำบัด โดย แบ่งประเภทของการติดโซเชียลมีเดีย เป็น 3 แบบ

คือ  ติดสาระ เช่น ติดเกม ติดพนัน ,  ติดสัมพันธ์ เช่น ติดเฟสบุ๊ค และติดอุปกรณ์

เช่นติดรุ่นของสมาร์ทโฟนโดยหากสงสัยว่าติดโซเชียล ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News  

 

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com

ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

 

15 พฤษภาคม 2562

ผู้ชม 2846 ครั้ง

Engine by shopup.com