“ทำหมันแล้วท้อง” อย่าเรียกร้องเงิน ไม่มีหมันถาวร แพทย์ชี้ เป็นคำติดปาก เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์นวัตกรรม การค้าการลงทุน

บทความ

“ทำหมันแล้วท้อง” อย่าเรียกร้องเงิน ไม่มีหมันถาวร แพทย์ชี้คำติดปาก

MED HUB NEWS จากข่าว “ทำหมันแล้วท้อง”  ซึ่งเป็นสาวแม่ลูกอ่อน อยู่อาศัยในบ้านเช่าในพื้นที่เขตคลองเตย ร้องขอความเป็นธรรมกรณีที่ได้ทำหมันกับโรงพยาบาลเลิดสิน  แล้วเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา เป็นลูกคนที่ 4 ตอนนี้ ทารกอายุได้ 5 เดือนแล้วนั้น

เว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม  และ เพจ sasook รายงานว่า  ในโลกออนไลน์ชาวเน็ตถกเถียงกันประเด็น “ทำหมันแล้วท้อง”  เกิดจากความผิด ความใคร่ ของตัวเอง หรือ หมอ  

แต่ในกรณีนี้ หากมองในตัวของคุณแม่ ที่มีลูกจำนวน 4 คน ซึ่งถือว่าเยอะมาก เพราะบางครอบครัวมีเพียงหนึ่งคน หรือ สองคนเท่านั้น

ส่วนการตั้งครรภ์ภายหลังจากทำหมันแล้วนั้น สาวๆ คนรุ่นใหม่ ควรรู้ว่า หากคุณมีลูก 3 –  5 คน จู่ๆ เกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา คุณไม่มีสิทธิได้รับการเยียวยาใดๆ ตามกฎหมายเลย  

เพราะในกรณีมีการทำหมัน เพื่อคุมกำเนิด ปัจจุบันการทำหมันเป็นการคุมกำเนิดที่ มีประสิทธิภาพสูงที่สุด คือ ได้ผลเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

แต่.......หลังทำหมันไปแล้ว คุณแม่ก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ ข้อมูลจากทั้งต่างประเทศและประเทศไทย พบว่ามีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ประมาณ 143 รายใน 10,000 รายของคุณแม่ที่ทำหมัน

นั่นคือมีคุณแม่ประมาณ 1เปอร์เซ็นต์กว่าๆ ที่ตั้งครรภ์ได้ภายหลังการทำหมัน แต่ถ้าศึกษาเฉพาะในคุณแม่ที่ทำหมันไปนานเกิน 10 ปีแล้ว พบว่ามีคุณแม่ถึงร้อยละ 1.85 ที่กลับมาตั้งครรภ์ใหม่

แม้เป็นรื่องที่พบไม่บ่อย แต่ก็มีโอกาส ซึ่งเรื่องนี้เกิดเป็นข่าวจำนวนมาก กรณีนี้  ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ประสาท ระบุว่า การทำหมันถาวร ไม่มี  ข้อเท็จจริงไม่มีการทำหมันถาวร แต่เป็นคำใช้ติดปาก

โดยแพทยสภาได้รับข้อร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากแพทย์ เนื่องจากได้ทำหัตถการทำหมันอย่างถูกต้องแล้ว แต่ทำไมจึงถูกร้องเรียนภายหลังได้ จึงให้กลุ่มงานกฎหมายแพทยสภาไปหาข้อเท็จจริง เพื่อให้ระบบเดินหน้าต่อไปได้

ประเด็นปัญหาเริ่มตั้งแต่นิยามมาตรา 3 บริการสาธารณสุข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งในปี 2555 ได้มีการเปลี่ยนแปลงนิยามการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมถึงบริการสาธารณสุขจนเกิดการตีความครอบจักรวาล

ขณะที่ ม.41 ระบุว่าการช่วยเหลือเบื้องต้นให้เป็นกรณีความเสียหายจากการรักษาพยาบาลโดยหน่วยบริการเท่านั้น ทั้งใน ม.42 ยังกำหนดให้ไล่เบี้ยสอบสวนผู้กระทำผิดอีก

แม้ว่าที่ผ่านมาบอร์ด สปสช.จะไม่เคยให้มีการไล่เบี้ยก็ตาม ขณะที่ในการพิจารณาของอนุกรรมการระดับจังหวัด ยังมีการตัดสินที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

โดยมีกรณีการอนุมัติจ่ายเงินช่วยเหลือเหตุตั้งครรภ์หลังการทำหมันโดยให้เหตุผลว่า แม้ไม่เข้าหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเบื้องต้น แต่ให้มีการจ่ายเพื่อเป็นการช่วยเหลือทางศีลธรรมและบรรเทาความเดือดร้อนของครอบครัว

ดังนั้น หากให้มีการช่วยเหลือกรณีตั้งครรภ์หลังจากทำหมันแล้ว เพราะไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ทั้งการจ่ายเงินช่วยเหลือโดยไม่มีกฎหมายรองรับเป็นเรื่องอันตรายมาก

เว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม  และ เพจ sasook รายงานว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน

เป็นการเยียวยาเบื้องต้น ที่มิใช่การจ่ายเงิน ตามมาตรา 41 และ 42 ของ สปสช. ทุกราย

เพราะถ้าต้องใช้เงินกองทุน สปสช. จะทำให้กองทุนมีปัญหา และที่ผ่านมาได้จ่ายไปแล้ว กว่า  42 ล้านบาท 

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News   

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com

ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

 

18 ธันวาคม 2561

ผู้ชม 5594 ครั้ง

Engine by shopup.com