รวม ดาราเป็นโรคซึมเศร้า นักร้อง นายแบบ ก็ป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" ฆ่าตัวตายสำเร็จ และไม่สำเร็จ จิตแพทย์เผย “วัยรุ่นไทย” เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ากว่า 3 ล้านคน
รวม ดาราเป็นโรคซึมเศร้า นักร้อง นายแบบ ก็ป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" ฆ่าตัวตายสำเร็จ และไม่สำเร็จ จิตแพทย์เผย “วัยรุ่นไทย” เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ากว่า 3 ล้านคน
รวม ดาราเป็นโรคซึมเศร้า นักร้อง นายแบบ ก็ป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" ฆ่าตัวตายสำเร็จ และไม่สำเร็ จจิตแพทย์เผย “วัยรุ่นไทย” เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ากว่า 3 ล้านคน ป่วยแล้วกว่า 1 ล้านคน
News Update : แม้ว่าโรคซึมเศร้าจะน่ากลัว ถ้าหากได้คนรอบข้างที่เข้าใจ ได้ทำกิจกรรมใหม่ๆ ก็จะทำให้อาการเหล่านั้นดีขึ้นได้ แต่ถ้าปล่อยไว้นานจะเกิดอาการดิ่งลงอย่างรวดเร็ว อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ อ่านข่าวนี้ก็เป็นกำลังใจให้กับคนที่เผชิญอาการเหล่านี้อยู่ด้วยนะคะ
ขณะที่พบว่ามีบรรดานายแบบ นางแบบ และ ดารา นักร้อง จำนวนมาก ป่วยโรคซึมเศร้า เช่น น้ำตาล-พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ ทราย-อินทิรา เจริญปุระ แวร์ โซว ทีเจ จิรายุทธ ผโลประการ
แดน–วรเวช ดานุวงศ์ น้องสาวของวีเจจ๋า ดร.ณัฐฐาวีรนุช สิงห์ มือกีต้าร์สควิซเอนิมอล หนุ่มโอ๊ต ภานุ ฯลฯ ซึ่งบางคนก็ไม่กล้าพบแพทย์ ไม่อยากไปโรงพยาบาลศรีธัญญา
น้ำตาล-พิจักขณา
กองบรรณาธิการ ข่าวเว็บไซต์ medhubnews.com รายงานว่า ทาง กรมสุขภาพจิต เผยผลการศึกษาพบวัยรุ่นไทยมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ 44 หรือมีประมาณ 3 ล้านกว่าคน
คาดว่าขณะนี้ทั่วประเทศมีวัยรุ่นป่วยด้วยโรคซึมเศร้าแล้วกว่า 1 ล้านคน แต่อาการป่วยดูยาก มักมาด้วยพฤติกรรมใช้ความรุนแรง ก้าวร้าว ทำร้ายตนเอง ใช้ยาเสพติด ฯลฯ ทำให้คนรอบข้างไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดคิดว่าเป็นนิสัยเกเร
จิตแพทย์ ระบุว่า ปัญหาโรคซึมเศร้า เป็นภาวการณ์เจ็บป่วยที่ต้องเร่งรักษาและป้องกันเนื่องจากโรคนี้ส่งผลต่อการสูญเสียทั้งชีวิต การงาน การเรียน การเข้าสังคมของผู้ป่วย
องค์การอนามัยโลกระบุว่าในปีที่ผ่านมาประชากรโลกเผชิญปัญหานี้ 1 ใน 20 คน และเมื่อป่วยแล้วมีอัตราป่วยซ้ำได้สูงถึงร้อยละ 50-70
ที่น่าวิตกไปกว่านั้น ยังพบว่าโรคซึมเศร้าเป็นต้นเหตุใหญ่ทำให้วัยรุ่นทั่วโลกฆ่าตัวตายหรือไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป
ส่วนของประเทศไทย มีผลการศึกษาพบวัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงร้อยละ 44 หรือมีประมาณ 3 ล้านกว่าคนจากวัยรุ่นที่มีทั้งหมดประมาณ 8 ล้านคน
และมีอัตราป่วยเป็นโรคนี้ร้อยละ 18 คาดว่าขณะนี้ทั่วประเทศมีวัยรุ่นป่วยด้วยโรคซึมเศร้าแล้วกว่า 1 ล้านคน แต่ยังเข้าถึงบริการน้อย
"หนุ่มโอ๊ต ภานุ" นายแบบ นิตยสาร UNFOLD* โดนหักหลัง ปล่อยคลิปลับหลุดว่อนเน็ต จนเกือบเอาตัวไม่รอด ต้องออกมาถ่ายแบบ เปิดตัวให้สังคมรู้ และลบปมด้อยทิ้งไป
เนื่องมาจากลักษณะอาการทางอารมณ์และพฤติกรรมของวัยรุ่นที่ป่วยซึมเศร้าจะไม่เหมือนอาการของผู้ใหญ่ กล่าวคือ อาจมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง ทำร้ายตัวเองหรือคนอื่น มีอารมณ์ก้าวร้าวหรือแปรปรวนง่าย
หรือมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ใช้ยาเสพติด หรืออาจแยกตัว ไม่กล้าเข้าสังคม ทำให้ผู้ปกครอง ครู เข้าใจผิดคิดว่าเป็นปัญหานิสัยเกเร
จึงทำให้วัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าจำนวนมากไม่ได้รับการช่วยเหลือและนำไปสู่ปัญหาอื่นๆที่มีความรุนแรงขึ้นตามมา เช่น ฆ่าตัวตาย ทำร้ายคนอื่น ติดยา เรียนไม่จบ เป็นต้น
“ขณะเดียวกันด้วยลักษณะเฉพาะของตัววัยรุ่นเอง ที่ไม่ต้องการถูกระบุว่ามีปัญหา อาจปฏิเสธการไปรับการรักษา โดยเฉพาะเมื่อเจอผู้ใหญ่ที่ไม่เข้าใจ ตำหนิ
กรมสุขภาพจิตได้เร่งแก้ไขปัญหา โดยให้สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พัฒนาแนวทางการดูแลรักษาวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ เพื่อให้วัยรุ่นที่มีปัญหาได้รับการดูแลตั้งแต่ต้นอย่างทันท่วงที” นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง กล่าว
แพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์
ทาง แพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ จิตเด็กและวัยรุ่น กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย จัดทำแนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า
เพื่อให้แพทย์และบุคลากรในโรงพยาบาลทั่วประเทศใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษา ป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้อย่างถูกต้องเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของวัยรุ่น และระบบบริการมากที่สุด
“วัยรุ่นที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า มี 4 กลุ่มใหญ่ที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ 1. ผู้ที่มีประวัติเป็นคนในครอบครัวเป็นโรคทางจิตเวช เช่น เป็นโรคซึมเศร้าโรคอารมณ์ 2 ขั้ว โรควิตกกังวล สมาธิสั้น
2 มีโรคเรื้อรังทางกาย เช่นโรคมะเร็ง โรคไต โรคที่ทำให้ร่างกายผิดรูปหรือมีผลต่อภาพลักษณ์ 3. ผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตสังคม เช่น อกหัก ใช้สารเสพติด ตั้งครรภ์ กดดัน ปัญหาการเรียน โดนรังแก ใช้ความรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น และกลุ่มที่ 4 กลุ่มที่มีครอบครัวไม่อบอุ่น มีความขัดแย้งในครอบครัว รวมทั้งการเลี้ยงดูที่ขาดการสอนทักษะการจัดการอารมณ์ตนเอง
แดน–วรเวช ดานุวงศ์
สำหรับแนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า มี 4 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.การคัดกรองซึมเศร้า ซึ่งทางสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นกำลังพัฒนาเครื่องมือและช่องทางที่เข้าถึงวัยรุ่นได้ง่ายขึ้น 2. การตรวจวินิจฉัย การตรวจร่างกายและตรวจสภาพทางจิต
3.การรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัดเพื่อกระตุ้นพฤติกรรมและอารมณ์ทางบวกปรับความคิดที่ทำให้ซึมเศร้า ซึ่งจะสามารถลดภาวะซึมเศร้าลงได้ภายใน 4 สัปดาห์ และ4.การส่งเสริมการป้องกันปัญหาซึ่งครอบครัวและโรงเรียนมีส่วนสำคัญ
เนื่องจากวัยรุ่นต้องการความรัก ความเข้าใจ อีกทั้งเป็นต้นแบบที่ดีในการจัดการความขัดแย้ง ส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา
ในส่วนของโรงเรียน ควรมีระบบการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซึมเศร้าของนักเรียน เช่น การจัดกิจกรรมเสริมสร้างพลังเข้มแข็งทางใจ ทักษะชีวิต เป็นต้น
น้องสาวของวีเจจ๋า ดร.ณัฐฐาวีรนุช
ภาพจากไลน์ , อินสตาแกรมดารา
03 มิถุนายน 2566
ผู้ชม 64646 ครั้ง