ผู้ชายไทยครองแชมป์ป่วยเป็น โรคมะเร็งตับ โรคท่อน้ำดี มากที่สุด ผู้หญิงไทยป่วย มะเร็งเต้านม มากสุด ย้อนอ่านประวัติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
ผู้ชายไทยครองแชมป์ป่วยเป็น โรคมะเร็งตับ โรคท่อน้ำดี มากที่สุด ผู้หญิงไทยป่วย มะเร็งเต้านม มากสุด ย้อนอ่านประวัติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
เว็บไซต์สุขภาพ ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว - ผู้ชายไทยครองแชมป์ป่วยเป็น โรคมะเร็งตับ โรคท่อน้ำดี มากที่สุด ผู้หญิงไทยป่วย มะเร็งเต้านม มากสุด ย้อนอ่านประวัติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
News Update วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2563 - ข่าวล่าสุดวันนี้ : "โรคมะเร็ง" เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทย
มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542แนะยึดหลัก 5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลมะเร็ง
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็น “วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ”
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จมาเปิดสถาบันมะเร็งแห่งชาติ หน่วยงานของรัฐบาลในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
จึงได้ถือเอาวันนี้เป็นวันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติมาโดยตลอด นอกเหนือจากที่คนไทยทั้งชาติรู้ว่าวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีคือวันรัฐธรรมนูญ
โดยมีสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และโรงพยาบาลมะเร็งภูมิภาค 7 แห่งทั่วประเทศของกรมการแพทย์ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการดูแลรักษาด้านโรคมะเร็ง สถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทยจากสถิติพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1
และข้อมูลล่าสุดจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปัจจุบันพบว่า คนไทยมีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 336 คน หรือ 122, 757 คนต่อปี และพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 215 คน หรือ 78,540 คนต่อปี
โดยข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็งรายงานว่า อุบัติการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทย ในเพศหญิงพบว่าเป็นมะเร็ง 151 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน และพบในเพศชาย 169.3 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน
ขณะที่ปัจจุบัน นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ เป็น ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มว่า โรคมะเร็งที่พบมากในเพศชายไทยคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี
มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็ง ช่องปาก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก
ในเพศหญิงโรคมะเร็งที่พบมากที่สุด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งช่องปาก มะเร็งต่อมธัยรอยด์
แต่ถึงโรคมะเร็งจะเป็นโรคร้าย แต่เราสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้ด้วยการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
แนะนำให้ประชาชนใช้หลักการ 5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลมะเร็ง โดย 5 ทำ ประกอบด้วย 1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 2. ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด 3. กินผักผลไม้ 4. กินอาหารหลากหลาย 5. ตรวจร่างกายเป็นประจำ
ส่วน 5 ไม่ ประกอบด้วย 1. ไม่สูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่ 2. ไม่มั่วเซ็กซ์ 3. ไม่ดื่มสุรา 4. ไม่ตากแดดจ้า 5. ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ
หากปฏิบัติตามหลักการนี้ สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ 40 %และ 7 สัญญาณอันตรายโรคมะเร็ง 1.ระบบขับถ่าย ที่เปลี่ยนแปร
2. แผล ที่ไม่รู้จักหาย 3. ร่างกาย มีก้อนตุ่ม 4. กลุ้มใจเรื่องการ กินกลืนอาหาร 5. ทวารทั้งหลาย มีเลือดไหล 6. ไฝ หูด ที่เปลี่ยนไป 7. ไอ และ เสียงแหบ
หากมีอาการเหล่านี้ เกิน 3 สัปดาห์ ควรตรวจสุขภาพเพื่อค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง
สำหรับ “วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ” นับจาก พ.ศ. 2505 นายแพทย์สมชาย สมบูรณ์เจริญ ได้เสนอโครงการจัดตั้งสถานตรวจมะเร็งระยะเริ่มแรกขึ้น ที่โรงพยาบาลหญิง ( โรงพยาบาลราชวิถี )
คณะรัฐมนตรีอนุมัติเสนอจัดตั้งสถาบันมะเร็ง แห่งชาติ โดยเห็นว่า “งานป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง” เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข และเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุข ดําเนินการจัดตั้งสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
โดยให้มีสํานักงาน ไว้ในสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เริ่มโครงการในปี พ.ศ. 2509 และให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จัดโครงการดําเนินการไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 - 2514) โดยมีวัตถุประสงค์ ของโครงการฯ ดังนี้
1 เป็นศูนย์รวบรวมและเผยแพร่สถิติข้อมูลต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับมะเร็งในประเทศไทยและเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ความคิดเห็นกับสถาบันมะเร็งในต่างประเทศ
2 เป็นศูนย์ตรวจมะเร็งระยะเริ่มแรกของร่างกาย ทุกระบบ 3 เป็นศูนย์วินิจฉัย บําบัดและวิจัยเกี่ยวกับมะเร็ง 4 เป็นศูนย์ประสานงานและร่วมมือกับสถานที่ ที่มีการตรวจวินิจฉัย และบําบัดรักษาโรคมะเร็งภายในประเทศ
รวมทั้งติดต่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นกับ สถาบันมะเร็งในต่างประเทศ นําวิธีการรักษาที่ทันสมัยมาใช้ ประวัติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ( National Cancer Institute ) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
5 เป็นศูนย์อบรมเรื่องมะเร็งให้แก่ แพทย์ พยาบาล นักศึกษาแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ 6 ให้การศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องที่เป็น ประโยชน์ของการตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกและ การบําบัดรักษาที่ถูกต้อง
โดยมีช่วงเวลาที่สำคัญคือ 21 กันยายน 2511 ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ให้เกียรติมาวางศิลาฤกษ์ อาคารหลังแรก ณ บริเวณ ถนนพระรามหก ใกล้โรงพยาบาลรามาธิบดี
10 ธันวาคม 2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาเสด็จมาทรงกระทําพิธี เปิดอาคารหลังแรก และพระราชทานนามว่า “อาคารดํารงนิราดูร”
หมายความว่า ปราศจากความ เศร้าโศกอาดูรตลอดไป และ ณ โอกาส ที่สําคัญยิ่ง ฯพณฯ คุณพระบําราศนราดูร ได้กราบบังคมทูล พระกรุณา ขอบรมราชานุญาตพระราชทานถือเอา วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ
พ.ศ. 2513 นายแพทย์สมชาย สมบูรณ์เจริญ ผู้อํานวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติคนแรก ได้มีความคิดริเริ่ม ให้จัดตั้งโครงการบ้านพักฟื้นผู้ป่วยโรคมะเร็ง ด้วยเหตุผล ที่ว่า ประชาชนป่วยด้วยโรคมะเร็งมากขึ้น การรักษาโรคมะเร็ง ต้องใช้เวลานานและต่อเนื่อง
บางรายอาจใช้เวลานานเป็น เดือนหรือเป็นปี ซึ่งทําความลําบากให้ผู้ป่วยและครอบครัว เป็นอย่างมากในการเดินทางมารับการรักษา เพราะเตียงของ สถานพยาบาลมีจํานวนจํากัด
ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีที่พัก ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงได้เสนอขอที่จากกรมธนารักษ์ เพื่อจัดสร้างบ้านพักฟื้นและสถาบันวิจัยพื้นฐาน
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้มีการแบ่งส่วนราชการ ใหม่ กระทรวงสาธารณสุข ให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติมา สังกัดกรมการแพทย์
พ.ศ. 2516 กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้ จัดหาที่ดินราชพัสดุ ขนาดเนื้อที่ 100 ไร่ บริเวณคลอง 11 อําเภอธัญบุรี เพื่อสร้างบ้านพักฟื้นผู้ป่วยโรคมะเร็งและ สถาบันวิจัยพื้นฐาน ตามที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติเสนอขอ
พ.ศ. 2523 สถาบันมะเร็งแห่งชาติเสนอโครงการ จัดตั้งศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งในภูมิภาค 8 แห่ง
พ.ศ. 2529 กระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สถาบัน มะเร็งแห่งชาติดําเนินการจัดตั้งโครงการบ้านพักฟื้นผู้ป่วย โรคมะเร็งธัญบุรี และได้เริ่มดําเนินการก่อสร้างตึกผู้ป่วยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2530 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานรับผู้ป่วย โรคมะเร็ง ธัญบุรี” มีฐานะเป็นฝ่ายหนึ่งของสถาบันมะเร็ง แห่งชาติ
พ.ศ. 2532 ( วันที่ 25 กรกฎาคม 2532 ) คณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์ป้องกันและควบคุม โรคมะเร็งในส่วนภูมิภาค จํานวน 6 แห่ง ทั่วประเทศไทย
ได้แก่จังหวัดลพบุรี ชลบุรี อุบลราชธานี ลําปาง สุราษฎร์ธานี และอุดรธานี เพื่อขยายขอบเขตของงานการป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งไปสู่ภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนได้รับ บริการตรวจวินิจฉัยและบําบัดรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่ ระยะเริ่มแรก
ปี พ.ศ. 2536 กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการ ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานส่วนราชการต่างๆ โดยเฉพาะด้านบุคลากรสาธารณสุขสาขาต่างๆ ให้รวมอยู่ใน ความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียวกัน คือ สถาบันพัฒนา กําลังคนด้านสาธารณสุข สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข
จึงได้มีการโอนหลักสูตรต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของกรมการแพทย์ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้อยู่ใน ความรับผิดชอบของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และ สาธารณสุข สถาบันพัฒนากําลังคนด้านสาธารณสุข
ดังนั้น โรงเรียนเซลล์วิทยา, โรงเรียนเวชสถิติ และโรงเรียนรังสี การแพทย์ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันมะเร็ง แห่งชาติ กรมการแพทย์
จึงได้โอนไปอยู่ในความรับผิดชอบ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook
29 สิงหาคม 2563
ผู้ชม 4364 ครั้ง