รับบุตรบุญธรรมที่ไหน การรับลูกบุญธรรม มีใครสนใจ รับบุตรบุญธรรมบ้าง ขอบุตรบุญธรรมได้ที่ไหน ? อ่านคำตอบ ขั้นตอนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

บทความ

รับบุตรบุญธรรมที่ไหน การรับลูกบุญธรรม มีใครสนใจ รับบุตรบุญธรรมบ้าง ขอบุตรบุญธรรมได้ที่ไหน ? อ่านคำตอบ ขั้นตอนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

 

 รับบุตรบุญธรรมที่ไหน การรับลูกบุญธรรม มีใครสนใจ รับบุตรบุญธรรมบ้าง ขอบุตรบุญธรรมได้ที่ไหน ? อ่านคำตอบ ขั้นตอนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

News Update -  19 เมษายน 2564 การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นการให้บริการด้านสวัสดิการเด็ก การดำเนินงานให้รับเด็กเป็นบุตร บุญธรรมจำเป็นต้องอาศัยหลักของกฎหมายควบคู่กับหลักการทางสังคมสงเคราะห์ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2533 กฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร เป็นต้น

ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า ยุคนี้มีผู้สนใจ รับเด็กๆ ไปเป็นลูกจำนวนมาก จึงมีคำถามเข้ามาทางเพจ sasook บ่อยๆ เช่น  

ขั้นตอนการรับหลานเป็นบุตรบุญธรรม ? การรับ บุตรบุญธรรม แบบ สมบูรณ์ ? บุตรบุญธรรมมีสิทธิอะไรบ้าง ?   บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกหรือไม่ ? บุตรบุญธรรม เป็นบุตร ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ? 

จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เอกสาร ? ค่าใช้จ่ายในการรับบุตรบุญธรรม ? ขั้นตอนการรับลูกติดภรรยาเป็นบุตรบุญธรรม ? จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ที่ไหน ? บุตรบุญธรรมใช้นามสกุลใคร ? ( เดี๋ยวเราจะมีคำตอบมาให้ครบถ้วน ) 

การขอรับเด็ก ( ผู้เยาว์ ) เป็นบุตรบุญธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม คุณสมบัติตามกฎหมายของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

1 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ( นับตั้งแต่วันเกิด ถึงวันที่ยื่นคำร้อง ) 2 ต้องมีอายุมากกว่าเด็กที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรม ไม่น้อยกว่า 15 ปี 3 ต้องเป็นผู้ที่ไม่ต้องห้ามเป็นผู้ปกครองเด็กตามมาตรา 1587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์ หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์ ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดา

หรือร่วมแต่บิดา หรือมารดากับผู้เยาว์ ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อ ห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง

หลักเกณฑ์การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม 1 ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นคนสัญชาติไทย ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ซึ่งขอรับเด็กสัญชาติไทยที่บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาเป็นผู้ให้ความยินยอม

หรือเด็กที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของบิดามารดา และได้ผ่านการทดลองเลี้ยงดูครบกำหนดแล้ว

ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นคนสัญชาติไทย ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ซึ่งขอรับเด็กสัญชาติไทยที่ได้รับยกเว้นการทดลองเลี้ยงดูตามกฎหมาย

สำหรับ คุณสมบัติทางสังคมของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม 1 เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ ครอบครัวอบอุ่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวดี 2 ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

3 ต้องมีฐานะการครองชีพที่มั่นคง มีทรัพย์สินและรายได้ที่แน่นอน ไม่มีหนี้สิน และไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายการลี้ยงดูหรือสนับสนุนการศึกษาของเด็ก 4 ต้องมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ถูกสุขลักษณะ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่อยู่ห่างไกลจากชุมชนมากเกินไป

5 ต้องมีเวลาให้กับเด็กที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรม ให้ความสำคัญ และเอาใจใส่เด็กอย่างใกล้ชิด 6 ต้องมีเหตุผลในการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่เหมาะสม ไม่เชื่อถือเรื่องโชคลาง รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอย่างเปิดเผยและจริงใจ ไม่ได้รับการคัดค้านจากสมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง

7 ต้องไม่มีบุตร หรือเด็กในความอุปการะมากเกินไป เพื่อให้บุตรบุญธรรมได้รับความรักและการเอาใจใส่อย่างเต็มที่ 8 ไม่เคยมีประวัติกระทำความผิดตามกฎหมาย หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ต่อบุคคลอื่นหรือประพฤติผิดศีลธรรมและจารีตประเพณีอันดีงาม 9 ต้องมีวุฒิภาวะเหมาะสมที่จะอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนให้บุตรบุญธรรมประพฤติตนเป็นคนดี

ในส่วนของ เอกสารประกอบการพิจารณาของฝ่ายผู้ขอและคู่สมรส 1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ คนละ 1 ฉบับ 2 สำเนาทะเบียนบ้าน คนละ 1 ฉบับ

3 สำเนาทะเบียนสมรส 1 ฉบับ หรือสำเนาทะเบียนการหย่า หรือสำเนาใบมรณะบัตร (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต) 4 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล คนละ 1 ฉบับ 5 ใบรับรองแพทย์แสดงว่ามีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ คนละ 1 ฉบับ (ไม่เกิน 6 เดือน) 6 รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้ว เท่านั้น คนละ 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)

รวมทั้งต้องผ่านหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1 หากผู้ขอมีบุตรอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี บุตรต้องมาลงนามยินยอมให้บิดามารดารับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ และแนบสำเนาบัตรประชาชนของบุตร คนละ 1 ฉบับ

2 หากบุตรไม่สามารถมาลงนามได้ ให้ผู้ขอรับเด็กทำบันทึกระบุเหตุผลที่บุตรไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอม และให้บุตรนั้นทำบันทึกแสดงความยินยอมให้บิดามารดารับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

3 หากคู่สมรสไม่ขอรับเด็กเป็นบุตรด้วย คู่สมรสต้องมาลงนามแสดงความยินยอมให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมฝ่ายเดียวต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอม ไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องมีคำสั่งอนุญาตของศาลแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น

4 กรณีผู้ขอรับเด็ก (มีสัญชาติไทย ไม่ได้ CITIZEN หรือ GREENCARD) ทำงานและอาศัยอยู่ต่างประเทศให้นำสำเนาหนังสือเดินทาง หนังสืออนุญาตทำงาน หนังสือรับรองการทำงานและรายได้ และทำหนังสือขอความร่วมมือเยี่ยมบ้านในต่างประเทศโดยต้องระบุสถานทูต หรือสถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่อยู่ของตน และยินยอมจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น

5 ในการติดตามเยี่ยมบ้าน และติดตามการทดลองเลี้ยงดูเด็ก (กรณีต้องทดลองเลี้ยงดูเด็กตามกฎหมาย) ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (หลักฐานที่เป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแปลเป็นภาษาไทย โดยแปลอย่างถูกต้อง และได้รับการรับรอง)

6 หากผู้ขอรับเด็กมีคู่สมรส ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่อยู่กินร่วมกันฉันท์สามีภรรยา คู่สมรสนั้นไม่สามารถขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมร่วมได้ และต้องลงนามในเอกสารคำร้องขอรับเด็ก พร้อมมีเอกสารหลักฐานดังกล่าวข้างต้น

เอกสารประกอบการพิจารณาของบิดามารดาเด็ก 1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ คนละ 1 ฉบับ 2 สำเนาทะเบียนบ้าน คนละ 1 ฉบับ 3 สำเนาทะเบียนสมรสหรือสำเนาทะเบียนการหย่าและบันทึกการหย่าซึ่งระบุว่าฝ่ายใดเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตร หรือสำเนาใบมรณะบัตร (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต) จำนวน 1 ฉบับ

4 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล คนละ 1 ฉบับ 5 รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้วเท่านั้น คนละ 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน) 6 บิดามารดาเด็กต้องมาลงนามแสดงความยินยอมมอบเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ถึงแม้บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตหรือถูกถอนอำนาจปกครอง

เอกสารประกอบการพิจารณาของเด็ก สำเนาสูติบัตรเด็ก จำนวน 1 ฉบับ สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ- นามสกุล จำนวน 1 ฉบับ รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้ว เท่านั้น จำนวน 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน) กรณีเป็นเด็ก

อายุตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี อนุโลมให้ใช้รูปขนาดโปสการ์ดได้ กรณีเด็กมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี เด็กต้องมาลงนามแสดงความยินยอมเป็นบุตรบุญธรรมต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีเด็กมีอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้เด็กเขียนบันทึกระบุเหตุผลที่ต้องการ และยินยอมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ขอรับเด็ก

เอกสารประกอบการพิจารณาของผู้รับรอง จำนวน 2 คน

ผู้รับรองต้องรู้จักกับผู้ขอรับเด็ก เช่น บิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หัวหน้าหน่วยงาน 1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ คนละ 1 ฉบับ 2 สำเนาทะเบียนบ้าน คนละ 1 ฉบับ

ผู้รับรองไม่ต้องมาในวันที่ผู้ขอรับเด็กนำคำร้องมายื่น แต่ต้องรับรองสำเนาเอกสารของตนเองให้ครบ

** บุคคลที่เชื่อถือได้ ในแบบ บธ.4 หน้าที่ 5″ ” ผู้รับรองในแบบ บธ. 7 ข้อ 11 และผู้รับรองที่ลงนามในหนังสือรับรองต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันเท่านั้น

***การรับรองใน แบบ บธ. 7 ข้อ 11 ของผู้รับรอง ให้เขียนรับรองผู้ขอรับเด็กว่ามีความเหมาะสมที่จะเลี้ยงดูเด็กอย่างไรบ้างตามความคิดเห็นของผู้รับรอง เช่น ความมั่นคงของรายได้ หน้าที่การงาน ความประพฤตินิสัยใจคอ อารมณ์จิตใจ สภาพครอบครัว และให้ระบุระยะเวลาที่ผู้ขอรับเด็กได้อุปการะเลี้ยงดูเด็กด้วย

หมายเหตุ 1 เอกสารหลักฐานของทุกคน (ยกเว้นของผู้รับรอง) ให้นำฉบับจริงมาแสดงด้วย ในวันที่นำคำร้องขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมายื่น

2 ไม่อนุญาตให้ผู้ขอรับเด็ก หรือบุคคลอื่นใดนำหนังสือแสดงความยินยอมต่าง ๆ ไปให้ผู้ที่ต้องมาลงนามต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ไปลงนามที่อื่นทุกกรณี

และนี่คือ คุณสมบัติที่ค่อนข้างโหด แต่ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เชื่อว่า ขั้นตอนต่างๆ ที่ยุ่งยากนี้จะนำมาซึ่งความสุขของเด็ก ที่จะเป็นลูกคุณในอนาคต และเด็กก็จะเรียกคุณว่า พ่อแม่ นั่นเอง 

23 เมษายน 2564

ผู้ชม 21620 ครั้ง

Engine by shopup.com