ชาวบ้านทวงถามคืบหน้า "ราชวิถี รังสิต" นายทุนแห่ทำธุรกิจโรงพยาบาล ย่านเดียวกันจำนวนมาก
ชาวบ้านทวงถามคืบหน้า "ราชวิถี รังสิต" นายทุนแห่ทำธุรกิจโรงพยาบาล ย่านเดียวกันจำนวนมาก
ชาวบ้าน ประชาชนคนไทยจำนวนมาก สอบถามถึงความคืบหน้าโรงพยาบาลราชวิถี 2 ( รังสิต ) ซึ่งอาจจะเป็นเพราะก่อนหน้านี้ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ ได้นำเสนอข่าว
ผู้บริหารกรมการแพทย์ และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลราชวิถี วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2560 อ่านข่าวโรงพยานาลราชวิถี รังสิตวางศิลาฤกษ์
ล่าสุดผู้สื่อข่าว medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า คนไทยจำนวนมาก มีความกังวลใจ และ อยากให้โรงพยาบาลราชวิถี 2 ( รังสิต ) เสร็จเร็วๆ
โดยประชาชนไม่มีช่องทางในการเข้าถึงข้อมูล หรือ รับทราบถึงความคืบหน้าการก่อสร้างใดๆ เลย
ส่วนใหญ่จะใช้กูเกิ้ลเสริ์จคำว่า “ราชวิถี รังสิต” ก็จะเจอข้อมูลล่าสุด ผู้สื่อข่าว medhubnews.com รายงานไว้เป็นข้อมูลจากงานวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2560
ดังนั้น medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ จึงไปสรรหามาให้ทราบสำหรับข้อมูล โรงพยาบาลราชวิถี 2 ( รังสิต ) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไปและอุบัติเหตุ ใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลราชวิถี 2 ( รังสิต ) ประกอบด้วยอาคารผู้ป่วยนอก – อุบัติเหตุ , อาคารผู้ป่วย
และอาคารบริการ ตั้งอยู่ที่ ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ( ติดกับโรงพยาบาลธัญญารักษ์ ) มีผู้รับเหมาคือ บริษัท พี.คอนสตรัคชั่น แอนด์ แมทรีเรียล จำกัด
จากการตรวจสอบพบว่า ช่วงนี้ นพ.มานัส โพธาภรณ์ ผอ.โรงพยาบาลราชวิถี กำลังจะเปิดอาคารหอพักแพทย์และพยาบาล 18 ชั้น โรงพยาบาลราชวิถี มุ่งมั่นสู่การเป็น "ศูนย์การแพทย์ชั้นนำระดับนานาชาติ" ซึ่งการก่อสร้างนี้ยังขาดเงินอีกราว 500 ล้านบาท
ทำไมชาวบ้านจึงสนใจติดตามข่าวสารนี้ ? อาจเป็นเพราะ โรงพยาบาลย่านรังสิต ปทุมธานี และ กรุงเทพฯ โซนเหนือ รังสิต ดอนเมือง สายไหม หลักสี่ บางเขน ถนนวิภาวดี รามอินทรา ไม่ค่อยมีโรงพยาบาลที่ชาวบ้านสามารถเข้าถึงบริการได้ เพราะมีแต่ คลินิกและโรงพยาบาลเอกชนราคาแพง แถมไม่รับสิทธิประกันสุขภาพ
ปัจจุบันแม้ว่าโรงพยาบาลเอกชนจะมีอยู่มากกว่า 340 แห่งทั่วประเทศ มีจำนวนเตียงทั้งระบบไม่ต่ำกว่า 35,000 เตียง และ กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ
แต่ความต้องการของประชาชนยังสูงมากส่งผลให้ผู้ประกอบการ นายทุน เล็งเห็นโอกาสที่จะเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลแพงๆ จากผู้ป่วยย่านรังสิต กรุงเทพฯ โซนเหนือ ดอนเมือง สายไหม หลักสี่ บางเขน ถนนวิภาวดี รามอินทรา
นายทุนจำนวนมากจึงเดินหน้าขยายการลงทุน ก่อสร้างจำนวนมาก คาดการณ์ว่าภายในปี 2563 จะมี รพ.เอกชนเปิดใหม่ ย่านรังสิต 3-4 แห่ง ซึ่งชาวบ้านไม่สามารถไปรักษาได้แน่นอน เว้นจะได้รับสิทธิประกันสังคม หรือ เวลาใกล้สิ้นชีวิต ( โครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ หรือ ยูเซป )
ทั้งนี้ มีรายงานว่า หนึ่งในกลุ่มทุนโรงพยาบาลนั้นคือ โรงพยาบาลธัญญเวช อำเภอลำลูกกา ปทุมธานี เป็นโรงพยาบาล 211 เตียงดำเนินการในนาม บริษัท ธัญญเวช จำกัด
เป็น บริษัทในเครือกลุ่ม รพ.สินแพทย์ ของนายสิทธิ ภาณุพัฒนพงศ์ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และนายแพทย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ ผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้น รพ.รามคำแหง ขณะนี้การก่อสร้างดำเนินการเกือบเรียบร้อยแล้ว
โรงพยาบาลธัญญเวช อำเภอลำลูกกา เป็นการร่วมมือกันของ รพ.สินแพทย์ กับ รพ.วิภาราม ซึ่งผู้ป่วยที่มีกำลังจ่าย หรือ ฐานะทางเศรษฐกิจ การเงินที่ดี เท่านั้นจะใช้บริการได้
ส่วน โรงพยาบาลราชวิถี รังสิต ใครที่ผ่านย่านรังสิต จะพบว่าตัวโครงสร้างทั้ง 3 อาคารเสร็จแล้วเหลือตกแต่งภายในภายนอก และอุปกรณ์ทางการแพทย์
ขณะที่โรงพยาบาลเอกชน กทม.โซนเหนือ ทาง บมจ.เคพีเอ็น เฮลท์แคร์ ที่ตั้งอยู่ในซอยนวลจันทร์ ถนนรัชดา-รามอินทรา แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ก็เริ่มก่อสร้างอย่างรวดเร็ว
จากการตรวจสอบพบว่า เคพีเอ็นฯ มีผู้ถือหุ้น บมจ.สหยูเนี่ยน 25% รองลงไปเป็นนายณพ ณรงค์เดช 18% และนายไกรวิน ศรีไกรวิน อดีตผู้บริหาร รพ.พญาไท 12% และกลุ่มสหพัฒน์ถือหุ้นผ่าน บมจ.สหพัฒนพิบูล, บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง และ บมจ.ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนลรวม 10%
ขณะที่ รพ.วิมุตติ อินเตอร์เนชั่นแนลของ กลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์ พฤกษา เรียลเอสเตท ของนายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ก็อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เป็น รพ.ขนาด 254 เตียง บนถนนพหลโยธิน สะพานควาย ติดกับธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ล่าสุดได้เปลี่ยนชื่อเป็น รพ.วิมุต อินเตอร์เนชั่นแนล
ส่วน รพ.อินทรารัตน์ ขนาด 152 เตียง บนพื้นที่ 6 ไร่ บนถนนรามอินทรา ดำเนินการโดยบริษัทโรงพยาบาลอินทรารัตน์ จำกัด ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มทุนใหม่ที่กระโดดเข้าสู่ธุรกิจ รพ.
มีผู้ถือหุ้นใหญ่ประกอบด้วย นายชาติ นานาวราทร ( 22.58% ) นางวรารัตน์ นานาวราทร ( 22.58% ) นอกจากนี้ ยังมีชื่อของแพทย์จาก รพ.เอกชนอีกจำนวนหนึ่งที่ถือหุ้นด้วย
อาทิ แพทย์หญิงกนกแก้ว วีวรรณ แพทย์หญิงศุภรัตนา คุณานุสนธิ์ นายแพทย์ประภาส ธีระกุล และที่น่าจับตาก็คือ รพ.น้องใหม่รายนี้ตั้งอยู่คนละฝั่งถนนและห่างจาก รพ.สินแพทย์ เจ้าตลาดในย่านถนนรามอินทรา เพียง 1.5-2 กิโลเมตรเท่านั้น
นอกจากนี้ยังพบว่า มี รพ.อย่างน้อยอีก 2 แห่ง เริ่มการก่อสร้าง อาทิ รพ.หทัยราษฎร์ ในเครือ รพ.เซ็นทรัล เยนเนอรัล ตามแผนจะสร้างเป็นอาคาร 9 ชั้น 126 เตียง บนถนนหทัยราษฎร์ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
และโครงการอาร์เอสยู อินเตอร์เนชั่นแนล ฮอสพิทอล ของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อดีตเจ้าของโรงพยาบาลพญาไท ตามแผนจะสร้างเป็น รพ.ขนาด 304 เตียง อาคารสูง 21 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 1 ชั้น บนพื้นที่ 6 ไร่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
กลุ่มทุนอีกหลายรายที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบกิจการโรงพยาบาล และคาดว่าอยู่ระหว่างการยื่นขออีไอเอ อาทิ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่จดทะเบียนตั้ง บริษัท ซีพี เมดิคัล เซ็นเตอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า โรงพยาบาลต่างๆ ที่ผุดขึ้นมากมาย รองรับการเป็น "เมดิคอล อับ" ที่คนชั้นกลาง และ ชาวต่างประเทศ สามารถใช้บริการได้
แต่สำหรับ ประชาชนคนไทย เอื้อมไม่ถึงแน่นอน ดังนั้น โรงพยาบาลราชวิถี 2 ( รังสิต ) จึงเป็นที่พึ่งของผู้ป่วยย่านรังสิต กรุงเทพฯ โซนเหนือ ดอนเมือง สายไหม หลักสี่ บางเขน ถนนวิภาวดี รามอินทรา และใกล้เคียง
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
01 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้ชม 10660 ครั้ง