“กลุ่มลาขาดควันยาสูบ ( ECST )” สุดทน "มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่" แสดงจุดยืนต้านบุหรี่ไฟฟ้าไร้เหตุผล
“กลุ่มลาขาดควันยาสูบ ( ECST )” สุดทน "มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่" แสดงจุดยืนต้านบุหรี่ไฟฟ้าไร้เหตุผล
News Update 12 เมษายน 2019 : บุหรี่เป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพทั้งในระดับบุคคล ชุมชน สังคมและประเทศชาติ เป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคเรื้อรังในหลายระบบ
เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหลอดเลือดและหัวใจ เป็นต้น ซึ่งพบว่าในทุก 1 นาที จะมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 6 – 7คน
อย่างไรก็ตาม ด้วย ยุคเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน มีการค้นพบงานวิจัยใหม่ๆ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องศึกษาให้ทันกับกระแสโลก
เนื่องจากมีนวัตกรรมที่สามารถลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ และ เป็นเรื่องที่นานาชาติให้การยอมรับแล้ว
กองบรรณาธิการ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ และ เพจ sasook รายงานว่า นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “กลุ่มลาขาดควันยาสูบ ( ECST )
ได้ทำหนังสือเรื่อง “ข้อเท็จจริงกรณี องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ( United States Food and Drug Administration) อ้างอิงเว็บไซต์องค์กร ออกแถลงการณ์เรื่องการเกิดโรคลมชักกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้า”
นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ระบุว่า ตามที่มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อเฟสบุ๊ค ระบุว่า ยูเอสเอฟดีเอ เร่งตรวจสอบเด็กและวัยรุ่น 35 รายที่เกิดอาการชัก
เพราะเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการได้รับนิโคตินในระดับสูงจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า นั้น กระผม นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “กลุ่มลาขาดควันยาสูบ ( ECST )” และเฟสบุ๊ค “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร”
ขอชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง และอาจสร้างความเข้าใจผิดให้กับสังคมโดยการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องกับสื่อมวลชน อ่านข่าว FDA is investigating nearly three dozen reports of seizures after vaping
จากการรายงานข่าวโดยสำนักข่าวต่างประเทศ อาทิ CNBC และ Forbes ยืนยันคำพูดของนายสก็อต ก็อตเลียบ ผู้อำนวยการ องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา
ที่ระบุว่า “องค์การฯ ยังไม่ได้ระบุว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความเสี่ยงในการเกิดโรคลมชัก” และว่าแม้กรณีของผู้ป่วย 35 ราย
อาจจะไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนของผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า แต่องค์การฯ มีความกังวลกับเรื่องนี้ พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนส่งข้อมูลเข้ามาที่ “ช่องทางการรายงานด้านความปลอดภัย” เพื่อรายงานปัญหาหรือข้อกังวลที่เกี่ยวข้อง
The FDA said the evidence it has analyzed so far doesn’t establish a clear pattern or cause for the cases.
“We want to be clear that we don’t yet know if there’s a direct relationship between the use of e-cigarettes and a risk of seizure ... We’re sharing this early information with the public because as a public health agency, it’s our job to communicate about potential safety concerns associated with the products we regulate that are under scientific investigation by the agency” Gottlieb and Abernethy said.
กรณีที่เกิดขึ้นนี้เป็นข้อยืนยันที่เห็นได้อย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่งว่า มูลนิธิฯ มีจุดยืนที่ชัดเจนในการต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าโดยไม่เปิดใจยอมรับหลักฐานหรือข้อมูลการวิจัยจากต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ พยายามโน้มน้าวให้สาธารณชนเข้าใจแต่ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตราย
โดยละเลยไม่พูดถึงว่าบุหรี่ไฟฟ้าได้รับการควบคุมและถูกต้องตามกฎหมายในสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้สูบบุหรี่ได้รับอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่ที่มีการเผาไหม้
ทั้งที่มูลนิธิฯ เป็นหน่วยงานที่ทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน จำเป็นต้องมีแนวคิดเชิงบวก และให้ความสำคัญกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รวมถึงแนวทางใหม่ๆ ในการลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ และให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนถูกต้อง เพื่อประกอบการตัดสินใจของประชาชน
เครือข่ายฯ เชื่อว่าการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมายจะช่วยป้องกันเด็กและเยาวชนจากพิษภัยของการสูบบุหรี่ และป้องกันเด็กและเยาวชนจากการเข้าถึงผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าได้
เราจึงได้รณรงค์ให้มีการพิจารณาทบทวนการแบนบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย และให้ข้อมูลผลการวิจัยที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้เหมาะสมต่อไป
อ่านข่าว FDA To Investigate Cases of Seizure After Vaping
CR.CNBC , Forbes
27 พฤศจิกายน 2565
ผู้ชม 4665 ครั้ง