พยาบาลวิชาชีพ กระตือรือร้น ฝีกให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ป้องกันเคสผิดพลาด เป็นหัตถการที่ทำบ่อยในโรงพยาบาล

บทความ

พยาบาลวิชาชีพ กระตือรือร้น ฝีกให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ป้องกันเคสผิดพลาด เป็นหัตถการที่ทำบ่อยในโรงพยาบาล Ep1

News Update วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562 : จากอดีตที่ผ่านมา เคยเกิดเคสอุบัติเหตุในการเจาะเลือด และ การทำหัตถการของพยาบาล

แต่โดยข้อสรุป ทางกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้พยาบาลเจาะเลือดได้ แต่ต้องมีความชำนาญการ ซึ่งความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการชี้วัดคุณภาพของระบบสาธารณสุขในประเทศ

และถือเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญขององค์การอนามัยโลก (WHO) และรัฐบาลไทยในการนำไปสู่การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว รายงานว่า ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการทางการแพทย์ในประเทศไทย ยังคงขาดความรู้ความเข้าใจและหลักปฏิบัติที่ถูกต้องเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน

อันเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความเจ็บป่วย ความเครียด และอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน นอกจากผลกระทบด้านสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลแล้ว

วิธีการทำงานที่ไม่ปลอดภัยยังส่งผลให้โรงพยาบาลและระบบสาธารณสุขมีต้นทุนเพิ่มขึ้นด้านค่ารักษาและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์  เนื่องจากโรงพยาบาลต่างๆ ยังคงประสบปัญหาต่างๆ ดังนี้

บุคลากรทางการแพทย์ ขาดความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่ถูกต้อง

บุคลากรทางการแพทย์รวมถึงผู้บริหารโรงพยาบาล ยังได้รับการฝึกอบรมและข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการทำงานอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ

โรงพยาบาลขาดระบบการตรวจสอบการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่แม่นยำ ที่จะช่วยกระตุ้นหรือก่อให้เกิดมาตรการปรับปรุงและพัฒนาเรื่องความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์

ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย

ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย ร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)  

ซึ่งปฏิบัติงานในนามของกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) และหน่วยงานภาคเอกชน

ได้แก่ บริษัทบี. บราวน์ เมลซุงเกน เอจี  ( B.Braun Melsungen AG ) และสถาบัน Aesculap Academy  

จึงได้ร่วมกันดำเนินโครงการ “การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย” ขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพทางการแพทย์ 

ที่เน้นการให้ความรู้และพัฒนามาตรการด้านความปลอดภัยแก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ อันจะส่งผลต่อความปลอดภัยของคนไข้ในอนาคต

โดยมีการอบรม “การพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดด้วยความปลอดภัย” ณ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 21-22 ตุลาคม 2562

ทีมข่าว เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com ได้เข้าร่วมทำข่าว และ สัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพด้วย 

การอบรมมุ่งเน้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพทางการแพทย์ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางสาธารณสุข และลดความเสี่ยงในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ผ่านหัวข้อต่างๆ ได้แก่

การพยาบาลผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ การป้องกันอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดที่เกิดกับบุคลากร 

และกิจกรรมระดมสมองเพื่อหาโอกาสพัฒนาและกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดที่เกิดกับบุคลากร

การประเมินตนเองและค้นหาโอกาสพัฒนาโดยผ่านกิจกรรมการระดมสมองเพื่อหาโอกาสพัฒนาและกำหนดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด

ในบทบาทของผู้บริหารทางการพยาบาล รวมทั้งหาโอกาสพัฒนาและกำหนดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด ในบทบาทพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงาน

แนวทางการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร

: บทบาทผู้บริหารทางการพยาบาล แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร:บทบาทผู้ปฏิบัติทางการพยาบาล

ภายในห้องฝึกอบรม ได้มีกการแบ่งกิจกรรมที่ 1 ฝึกปฎิบัติการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด 4 ฐาน (สำหรับผู้ปฏิบัติทางการพยาบาล) ฐาน 1 PIV and dressing

 ฐาน 2 CVC dressing and scrub the hub ฐาน 3 Insertion ฐาน 4 Flushing and locking

กิจกรรมที่ 2 ฝึกการนิเทศทางการพยาบาล: การพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร

การนำเสนอกิจกรรมพัฒนาคุณภาพและสรุปผลการเรียนรู้ “การพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร”

สำหรับ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ (Infusion Therapy) เป็นการนำสารน้ำเข้าสู่ร่างกายของคนไข้ผ่านหลอดเลือดดำ มักจะใช้กับคนไข้ที่เข้ารับการรักษา เพื่อป้องกันหรือรักษาภาวะไม่สมดุลของอิเลคโตรไลท์ (สารน้ำ) และน้ำในร่างกาย

เพื่อรักษาภาวะสมดุลของน้ำและสารน้ำในร่างกายให้สารอาหาร วิตามิน และเป็นแหล่งพลังงานแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ รักษาภาวะสมดุลของความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย

รักษาภาวะสมดุลและปริมาตรของเลือดและส่วนประกอบของเลือด ให้ยาฉีดบางชนิดเข้าทางหลอดเลือดดำ

ติดตามอ่าน การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (Peripheral intravenous infusion) ในคอนเทนต์ที่ 2 

อ่านตอนที่ 2 คลิ๊กลิ้งค์นี้

[ https://medhubnews.com/ดูบทความ-57140-พยาบาลวิชาชีพกระตือรือร้นฝีกให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ]

24 ตุลาคม 2562

ผู้ชม 2706 ครั้ง

Engine by shopup.com