ทำความรู้จัก คณะสหเวชศาสตร์ มธ แตกต่างอย่างไรกับ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัย อื่นๆ อย่างไร สหเวช มธ เรียนอะไรบ้าง
ทำความรู้จัก คณะสหเวชศาสตร์ มธ แตกต่างอย่างไรกับ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัย อื่นๆ อย่างไร สหเวช มธ เรียนอะไรบ้าง
เว็บไซต์สุขภาพ วาไรตี้ สังคม - ทำความรู้จัก คณะสหเวชศาสตร์ มธ , สหเวช มธ เรียนอะไร ต่างจาก เทคนิคการแพทย์ ? เผยมี ทั้งสาขาวิชากายภาพบำบัด วิทยาศาสตร์การกีฬา รังสีเทคนิค
News Update - กรณีที่ได้นำเสนอข่าว ศูนย์บริการสุขภาพ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง คณะสหเวชศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กับ เอ็มพี กรุ๊ป ประเทศไทย
คว้าใบรับรองความสามารถ ห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO 15189:2012 และ 15190:2003
คลิ๊กอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : คณะสหเวชศาสตร์ มธ. - เอ็มพี กรุ๊ป ร่วมมือจนได้ห้องแล็บ มาตรฐานสูงสุด ISO 15189 : 2012 และ 15190 : 2003
เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า หลายๆ คน อยากรู้จัก คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า เรียนอะไรบ้าง มีสาขาวิชาอะไร ?
และที่ตามมาเรื่อยๆ คณะสหเวชศาสตร์ มธ , สหเวช มธ เรียนอะไร , สหเวช มธ , คณะสหเวชศาสตร์ , มธ , คณะสหเวชศาสตร์ , คณะสหเวชศาสตร์ , เทคนิคการแพทย์ รายได้ , สหเวช ธรรมศาสตร์ , สหเวช มธ , เงินเดือนเทคนิคการแพทย์ , เทคนิคการแพทย์เงินเดือน
คณะสหเวชศาสตร์ มธ จัดตั้งขึ้น ศูนย์ใด , ป้ายคณะสหเวชศาสตร์ มธ หน้าอาคารปิยชาติ , คณะสหเวชศาสตร์ มธ ค่าเทอม , คณะสหเวชศาสตร์ มธ ใช้คะแนนอะไรบ้าง , คณะสหเวชศาสตร์ มธ มีกี่ศูนย์ , สหเวช มธ 62 , สหเวช มธ เรียนอะไร
สำหรับ คณะสหเวชศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะที่ผลิตบุคลากรคุณภาพทางด้านเทคนิคการแพทย์ชั้นนำของประเทศ มี รศ.ดร. ไพลวรรณ สัทธานนท์ เป็น คณบดีคณะสหเวชศาสตร์
แล้วทำไม ไม่เรียก คณะเทคนิคการแพทย์ ? เหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ ปัจจุบัน คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกอบไปด้วย ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ ภาควิชากายภาพบำบัด ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการพัฒนากีฬา ภาควิชารังสีเทคนิค
เริ่มแรกเดิมที คณะสหเวชศาสตร์ มีชื่อ คณะเทคนิคการแพทย์ ต่อมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีคำสั่งที่ 30/2537 ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2537 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์
เพื่อจัดทำหลักสูตรตลอดจนวางแผนเรื่องอัตรากำลังให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน ต่อมา คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมและมีมติให้เปลี่ยนชื่อคณะจากเดิม คณะเทคนิคการแพทย์ เป็น คณะสหเวชศาสตร์
เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า คณะสหเวชศาสตร์ต้องรองรับการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาต่างๆ ที่จะเปิดในอนาคตนอกเหนือจากสาขาเทคนิคการแพทย์ด้วย
เช่น สาขากายภาพบำบัด เป็นต้น จึงเสนอขอเปลี่ยนชื่อด้วยเหตุผลดังกล่าว ต่อมา มีพระราชกฤษฎีกาให้ก่อตั้งคณะสหเวชศาสตร์ขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
ทำให้เกิด คณะสหเวชศาสตร์ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะงานเทคนิคการแพทย์ ที่ประชาชนไม่ค่อยรู้จัก ไม่ได้มีโอกาสพบเจอในโรงพยาบาล เป็นวิชาชีพที่ปิดทองหลังพระมาตลอด
แต่ปัจจุบัน งานเทคนิคการแพทย์ ก้าวหน้าไปไกลมาก มีเทคนิคการแพทย์ สู่ชุมชน และ ในคณะสหเวชศาสตร์ ก็มีศูนย์บริการสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยที่ ศูนย์บริการสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้าใบรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO 15189:2012 และ ISO 15190:2003
แถมยังมีหน่วยงานภาคเอกชน โดยบริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ร่วมขับเคลื่อนระบบห้องปฏิบัติการให้มีความพร้อมในการให้บริการอย่างมืออาชีพ อย่างเต็มรูปแบบ
นับเป็น 1 ในจำนวนเพียง 200 ห้องปฏิบัติการทั่วประเทศไทยที่ผ่านการรับรองนี้ จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการของประเทศไทย
ศูนย์บริการสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นความก้าวหน้าของงานเทคนิคการแพทย์ มีการบริการที่มีมาตรฐานสูงและเป็นการบริการที่มีความสะดวกแบบ One stop service ให้กับผู้รับบริการ
ที่ผ่านมาศูนย์บริการสุขภาพ ได้ให้บริการแก่ผู้รับบริการตรวจสุขภาพ ครอบคลุมทั้งภาครัฐ และเอกชน มีระบบให้บริการเคลื่อนที่ตามโรงงานและบริษัทต่างๆ
งานตรวจสุขภาพประชาชนในชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานราชการ รวมทั้งงานบริการตรวจสุขภาพบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย และให้บริการด้านงานวิจัยต่างๆ
งานบริการที่ทางหน่วยงานได้ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน คือ การตรวจวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ งานตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ รถ Mobile X-ray การตรวจทางอาชีวะอนามัย
การตรวจวิเคราะห์สารโลหะหนัก และการตรวจวิเคราะห์โดยเทคนิคทางโมเลกุล การตรวจวินิจฉัยวัณโรคดื้อยา รวมถึงการตรวจ Alpha-thalassemia อีกด้วย
ถือเป็นการยกระดับ วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ บริการประชาชนด้วยคุณภาพ ครบวงจร มีผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้องแม่นยำ ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย
รวมทั้งมุ่นเน้นการให้บริการประชาชน ด้วยการให้ความรู้ด้านสุขภาพกับ ผู้รับบริการ จากผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยทุกครั้งที่ออกสู่ชุมชน
นั่นคือบทบาทหน้าที่สำคัญของนักเทคนิคการแพทย์ที่ต้องเจอชุมชน คนป่วย คนไข้ เหมือนวิชาชีพอื่นๆ
แท็ก : คณะสหเวชศาสตร์ มธ , สหเวช มธ เรียนอะไร , สหเวช มธ , คณะสหเวชศาสตร์ , มธ , คณะสหเวชศาสตร์ , คณะสหเวชศาสตร์
เทคนิคการแพทย์ รายได้ , สหเวช ธรรมศาสตร์ , สหเวช มธ , เงินเดือนเทคนิคการแพทย์ , เทคนิคการแพทย์เงินเดือน
25 มกราคม 2567
ผู้ชม 17239 ครั้ง