125 ปี ชาตกาล เปิดหนุ่มหล่อ ทายาทคณะราษฎร จอมพล ป. พิบูลสงคราม เจเจ กฤษณภูมิ - พีเจ มหิดล ท่านคือ พระเอก หรือผู้ร้าย
125 ปี ชาตกาล เปิดหนุ่มหล่อ ทายาทคณะราษฎร จอมพล ป. พิบูลสงคราม เจเจ กฤษณภูมิ - พีเจ มหิดล ท่านคือ พระเอก หรือผู้ร้าย
- 125 ปี ชาตกาล เปิดสองหนุ่มหล่อ ทายาทคณะราษฎร จอมพล ป. พิบูลสงคราม เจเจ กฤษณภูมิ - พีเจ มหิดล เยาวชนคนรุ่นใหม่สับสน ท่านคือ พระเอก หรือผู้ร้าย ?
News Update วันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2563 : ตามที่มีการบันทึก จอมพล ป. พิบูลสงคราม เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2440 เท่ากับว่าวันที่ 14 กรกฎาคม ในปี 2563
ดังนั้น ชาตกาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม คือ 123 ปี บุคคลสำคัญ เป็นหนึ่งในคณะนายทหารผู้ร่วมก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475
โดยมีการสืบทอดทางสายเลือด ดังนี้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นพ่อของ พลตรี อนันต์ พิบูลสงคราม
พลตรี อนันต์ เป็นพ่อของ พิบูลพร พิบูลสงคราม
พิบูลพร พิบูลสงคราม เป็นพ่อของ เจเจ กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม ดังนั้น เจเจ คือเหลนแท้ ๆ สายตรง ของจอมพล ป. ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด
นับแต่จอมพล ป. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปี 2481 มีนโยบายในการสร้างชาติ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลัทธิชาตินิยม เช่น ออกกฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ
มีการสงวนอาชีพบางอย่างไว้เฉพาะคนไทย และปลูกฝังให้ประชาชนนิยมใช้สินค้าไทย ด้วยคำขวัญว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ"
รัฐบาลจอมพล ป. ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่าง ให้สอดคล้องกับการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และให้เกิดความทันสมัย
เช่น ประกาศให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เลิกสวมเสื้อราชปะแตน และให้นุ่งกางเกงขายาวแทน มีการยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน
มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ในวันที่ 24 มิถุนายน 2482 และเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน ตามโบราณราชประเพณีพระราชจักรีวงศ์
เป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักโลกตะวันตก โดยเริ่มเปลี่ยนในปี 2484
ในปี 2562 มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับบุคคลในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะ คณะราษฎร วันที่ 27 ธันวาคม 2562 ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน จ.ลพบุรี
บวงสรวงอนุสาวรีย์จอมพล ป.พิบูลสงคราม- พระยาพหลพลพยุหเสนา สองสมาชิกคนสำคัญของคณะราษฎร ก่อนรื้อถอน
ทายาทของจอมพล ป.และ พระยาพหลพลพยุหเสนา เปิดเผยกับ บีบีซีไทยว่าข่าวนี้ได้รับแจ้งจากศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน จ.ลพบุรี
เจเจ กฤษณภูมิ กับ น้องชาย มหิดล พิบูลสงคราม (พีเจ)
พ.ต.พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา บุตรชายคนที่ 4 ของพระยาพหลพลพยุหเสนา ให้ข้อมูลว่า ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน จ.ลพบุรี จัดพิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม และ อนุเสาวรีย์พระยาพหลพลพยุหเสนา
เพื่อย้ายอนุสาวรีย์ทั้งสองแห่งออกไป ซึ่งปัจจุบันได้รื้อออกออกไปจัดเก็บไว้ยังสถานที่หนึ่ง
“ไม่ตกใจ เพราะคิดไว้อยู่แล้ว…เราไม่มีปัญญาจะต่อสู้ต้านทานอะไร” พ.ต.พุทธินาถ กล่าว
เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า สำหรับ พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรที่ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย
จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 และนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย
ส่วน จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เข้าร่วมกับคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ถือว่าเป็นแกนนำคณะราษฎร ปีกทหาร และยังเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งหลายสมัยและครองอำนาจยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยเป็นนายกฯ 8 สมัย รวม 14 ปี 11 เดือน 8 วัน
นั่นคือ ประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งในวงการบันเทิง มี เจเจ กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของ พิบูลพร พิบูลสงคราม กับจามิกา ( สกุลเดิม : จึงอยู่สุข )
มีน้องชายชื่อ มหิดล พิบูลสงคราม (พีเจ) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไมนามสกุลดูคุ้นๆ จัง นั่นก็เพราะว่าคุณพ่อของหนุ่มเจเจนั้น เป็นบุตรชายของ พลตรีอนันต์ พิบูลสงคราม กับหม่อมหลวงพร้อมศรี (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์)
ด้วยเหตุนี้หนุ่มเจเจ จึงมีสถานะเป็นเหลนของจอมพลแปลก พิบูลสงครามนั่นเอง
บ้านจอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย หรือ พิพิธภัณฑ์จังหวัดทหารบกเชียงราย
เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งที่สนใจ ของจังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่บริเวณดอยจอมทอง เปิดให้ชมเข้าฟรีทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัติฤกษ์
บ้านจอมพล ป.พิบูลสงคราม สร้างเมื่อปี พ.ศ.2484 เพื่อเป็นบ้านพักรับรองให้จอมพล ป.ที่ไปตรวจราชการและเป็นศูนย์บัญชาการของกองทัพภาคพายัพ
จนกระทั่งถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2489 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของค่ายเม็งรายฯ ซึ่งจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง
บ้านจอมพล ป.ตั้งอยู่บนเนินเขาใกล้กับวัดพระธาตุจอมทองสามารถเอารถยนต์ขึ้นได้สามทางที่มีภูมิประเทศสงบร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ อาณาบริเวณกว้างขวาง และรูปแบบบ้านเป็นอาคารสองชั้น กว้าง 19.25 เมตร คูณ 29.25 เมตร พื้นชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
พื้นชั้นบนเป็นไม้เนื้อแข็ง ฝาชั้นบนและล่างก่ออิฐฉาบปูนเรียบ ห้องชั้นบนและล่างมีชั้นละ 3 ห้อง โดยมีเตาผิงไว้ใช้ในฤดูหนาวด้วย
ปัจจุบันทางจังหวัดทหารบกเชียงรายได้นำอาวุธปืนโบราณที่ใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งฝ่ายญี่ปุ่นและสัมพันธมิตรไปจัดแสดงพร้อมมีรูปถ่ายจอมพล ป.และนิทรรศการที่เกี่ยวข้องให้ผู้เข้าชมได้ดู และศึกษา
สำหรับบทบาทของกองทัพภาคพายัพที่เกี่ยวข้องกับ บ้านพักจอมพล ป. ดังกล่าว เกิดจากกรณีกองทัพไทยและญี่ปุ่น
ได้มีข้อตกลงเรื่องเขตแดนการรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อปี 2484 ให้ประเทศไทยรับผิดชอบฝั่งตะวันออกแม่น้ำสาละวินถึงลำน้ำโขง
จนเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาในปี 2485 ทำให้กองทัพภาคพายัพของไทยถูกส่งเข้าไปบุกเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ซึ่งอยู่ในฝั่งของฝ่ายสัมพันธมิตรในขณะนั้น
จนเป็นที่มาทำให้เกิดบ้านจอมพล ป.ที่ใช้เป็นศูนย์บัญชาการ และบ้านพักดังกล่าว
ภาพ : mahidol_pj , jaylerr ทวิตเตอร์
24 มิถุนายน 2566
ผู้ชม 51695 ครั้ง