รู้กันยัง ? วันนี้ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็น ปีอธิกสุรทิน มี 366 วัน คนที่มีวันเกิดวันนี้ ต้องเฝ้ารอ วัน ที่ 29 กุมภาพันธ์ 4 ปี มี ครั้ง
รู้กันยัง ? วันนี้ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็น ปีอธิกสุรทิน มี 366 วัน คนที่มีวันเกิดวันนี้ ต้องเฝ้ารอ วัน ที่ 29 กุมภาพันธ์ 4 ปี มี ครั้ง
29 กุมภาพันธ์ 2563 ภาษาอังกฤษ , Leap Day , ปีอธิกสุรทิน ความหมาย , ปี อธิกสุรทิน คืออะไร , ปีอธิกสุรทิน , ปีอธิกสุรทิน มีลักษณะอย่างไร , ปีอธิกสุรทิน ภาษาอังกฤษ - News Update วันเสาร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563
ใครเกิดวันนี้ยกมือขึ้น 29 กุมภาพันธ์ ( Leap Day ) เคยสงสัยไหมว่า ทำไม 4 ปีมีครั้งเดียว ? 29 กุมภาพันธ์ 2563 คงเป็นวันพิเศษของใครหลายคนที่มีวันเกิดวันนี้
( สาระน่ารู้ ask a question : 29 กุมภาพันธ์กี่ปีมีครั้ง ? The answer : วันที่ 29 กุมภาพันธ์ถูกกำหนดให้ 4 ปีมีหนึ่งครั้งเท่านั้น
- leap day คือ ? วันอธิกสุรทิน.
- กุมภาพันธ์ มี 29 วัน มีปีไหนบ้าง ? ทุกๆ ปีจะมีเวลาเพิ่มขึ้นประมาณ 6 ชั่วโมง ดังนั้น 4 ปีจะเท่ากับ 24 ชั่วโมง จึงต้องเพิ่มให้ปีดังกล่าวมี 366 วัน ดังนั้นก็นับไปอีก 4 ปีก็จะมี 29 กุมภาพันธ์.
- เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ? ทุกๆ ปีจะมีเวลาเพิ่มขึ้นประมาณ 6 ชั่วโมง ดังนั้น 4 ปีจะเท่ากับ 24 ชั่วโมง จึงต้องเพิ่มให้ปีดังกล่าวมี 366 วัน.
- ปีอธิกสุรทิน 2563 ? ปีนี้มี 29 กุมภาพันธ์.
- 4ปีมีครั้งเดียว ภาษาอังกฤษ ? และ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ภาษาอังกฤษ ? ในภาษาอังกฤษ อธิกวารใช้คำว่า leap day.
- มีปีไหนบ้าง เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ? อาทิเช่น 29 กุมภาพันธ์ 2563 และหากถามว่า ปี อธิกสุรทิน คือ ปี ที่ มี 366 วัน คือ ปี พ ศ ใด ? หลักการคำนวณ โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบกินเวลา 365.25224 วัน หรือ 365 กับอีก ¼ วัน
ซึ่งปีปกติที่มี 365 วันก็จะทำให้เวลาขาดไป ¼ วัน ดังนั้นจึงต้องทดไว้ เมื่อทดครบ 4 ปีก็จะได้เท่ากับ 1 วันพอดี จึงทำให้ต้องเพิ่ม 1 ปีมี 366 วันในทุกๆ 4 ปี.
- วันที่29กุมภาพันธ์ กี่ปีมีครั้ง ? เช่น เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เพราะปีปกติมี 365 วัน แต่ทุกๆ 4 ปีจะต้องเพิ่มขึ้นมาอีก 1 วันเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ นั่นหมายความว่าโลกใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์นานกว่า 365 วัน.
- 4 ปี มี 1 ครั้ง ภาษาอังกฤษ ? ปี อธิกสุรทิน ในภาษาไทย คือ อธิก แปลว่า เพิ่ม , สุร แปลว่า พระอาทิตย์ , ทิน แปลว่า วัน หรือภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Leap year คือปีที่มีการเพิ่มวัน เพื่อให้ปฏิทินได้สอดคล้องกับปีฤดูกาลหรือปีดาราศาสตร์.
- ปีอธิกสุรทินคือ ? ปีอธิกสุรทิน มีลักษณะอย่างไร ?
แต่ละฤดูกาล แต่ละเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ไม่ได้เกิดซ้ำในจำนวนเต็มวัน หมายถึง ภายใน 1 วันไม่ได้ใช้เวลา 24 ชั่วโมงพอดีนั่นเอง
ปฏิทินซึ่งมีจำนวนวันในแต่ละปีเท่าเดิมจึงต้องเลื่อนวันให้ตรงกับเหตุการณ์ต่างๆในแต่ละวัน เช่น เช้า เที่ยง เย็น โดยการแทรกวันเพิ่มเข้าไปในปีนั้น.)
เนื่องจากวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ต้องรอตั้ง 4 ปีกว่าจะมีให้เห็นสักครั้ง ช่างเป็นเดือนพิเศษไม่เหมือนใคร ๆ จริงๆ
เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยว่าทำไมกันนะ 29 กุมภาพันธ์ ( Leap Day ) ทำไม 4 ปี ถึงมีแค่ครั้งเดียว ? และทำไมต้องเป็นวันที่ 29 กุมภาพันธ์
เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า ล่าสุด ทาง google doodle ได้วาดภาพ ให้แสดงไว้ที่หน้าแรกแล้ว
เรามาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ปีอธิกสุรทิน และมาทำความเข้าใจเดือนพิเศษ อย่างเดือนกุมภาพันธ์กันให้มากขึ้นดีกว่า
ปีอธิกสุรทิน เป็นปีที่มีการเพิ่มหนึ่งวัน หรือ หนึ่งเดือนในกรณีของปฏิทินสุริยจันทรคติ เพื่อให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์ หรือปีฤดูกาล
เหตุเพราะฤดูกาลและเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ไม่ได้เกิดซ้ำในจำนวนเต็มวัน ปฏิทินซึ่งมีจำนวนวันในแต่ละปีเท่าเดิมจึงต้องเลื่อนให้ตรงกับเหตุการณ์ที่ปฏิทินควรจะติดตามเมื่อเวลาผ่านไป
ซึ่งจะมีการแทรกวันหรือเดือนเพิ่มเข้าไปในปีนั้น การเลื่อนจึงสามารถทำให้ถูกต้องได้ นอกจากนี้ปีที่ไม่ใช่ปีอธิกสุรทิน เรียกว่า ปีปกติสุรทิน (common year)
เดือนกุมภาพันธ์ ใน ปีอธิกสุรทินนั้นจะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันตามปกติ ดังนั้น ปีดังกล่าวจึงมี 366 วัน แทนที่จะมี 365 วัน
ในปฏิทินฮีบรู เดือนจันทรคติที่ 13 มีการเพิ่มเจ็ดครั้งทุก 19 ปี เข้าไปในเดือนจันทรคติสิบสองเดือนในปีปกติสุรทินเพื่อให้ปีปฏิทินไม่คาดเคลื่อนจากฤดูกาลเร็วเกินไป
ในปฏิทินเกรโกเรียน ปฏิทินมาตรฐานปัจจุบัน ในส่วนใหญ่ของโลก ปีอธิกสุรทิน หมายถึง ปีที่หารด้วย 4 ลงตัวเป็นส่วนมาก
ปีอธิกสุรทินแต่ละปีนั้น เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วัน แต่การเพิ่มวันเข้าไปในปฏิทินทุก 4 ปีเพื่อชดเชยตามข้อเท็จจริงที่ว่าระยะเวลา 365 วันนั้นสั้นกว่าปีสุริยคติเกือบ 1 ส่วน 4 วัน หรือ 6 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม ปฏิทินจูเลียน ยังไม่ใช่ปฏิทินที่ใช้มาถึงปัจจุบัน เพราะปฏิทินดังกล่าวยังพบจุดบกพร่อง เนื่องจากในปีคริสตศักราชที่ 1582
มีการค้นพบว่า โลกไม่ได้ใช้เวลา 1 ปีหมุนรอบดวงอาทิตย์ 365.25 วัน หรือเท่ากับ 365 วัน 6 ชั่วโมง
แต่ถูกค้นพบว่าการโคจรดังกล่าวอยู่ที่ 365.2425 วันต่อ 1 ปี หรือเท่ากับ 365 วัน 5 ชั่วโมง 48 นาที 45 วินาที
ซึ่งใกล้เคียงกับของเดิม เท่ากับว่า หากใช้ปฏิทินจูเลียนไปครบ 134 ปี จะทำให้มีวันงอกเกินออกมา 1 วัน
จากการคำนวณครั้งนั้น จึงได้เกิดการเสนอการปฏิรูปปฏิทินขึ้นใหม่เรียกว่า "ปฏิทินเกรโกเรียน" (Modern “Gregorian” Calendar)
โดยได้พระสันตปาปาเกรโกรีที่ 13 เป็นผู้ประกาศใช้และเริ่มต้นในปีเดียวกัน (ค.ศ.1582) โดยที่ปฏิทินเกรโกเรียน ได้ปรับปรุงปฏิทินให้มีผลย้อนหลัง
ตามจำนวนวันที่หายไป 10 เมื่อปี ค.ศ.1900 และจะถูกใช้เป็นปฏิทินคริสตศักราชสากลจนถึงปัจจุบัน
05 มกราคม 2564
ผู้ชม 24205 ครั้ง