เฟกนิวส์ พ่อง เว็บไซต์ราชกิจจาฯ ประกาศ ปิดปากสื่อมวลชน ห้ามเผยแพร่ข้อมูลรัฐบาลมองว่าเท็จ เป็น "Fake News" หรือ "ข่าวปลอม" ฝ่าฝืนให้ กสทช.สั่งปิดทันที
เฟกนิวส์ พ่อง เว็บไซต์ราชกิจจาฯ ประกาศ ปิดปากสื่อมวลชน ห้ามเผยแพร่ข้อมูลรัฐบาลมองว่าเท็จ เป็น "Fake News" หรือ "ข่าวปลอม" ฝ่าฝืนให้ กสทช.สั่งปิดทันที
ไปกันใหญ่ #savethailand เว็บไซต์ราชกิจจาฯ ประกาศ ปิดปากสื่อมวลชน ห้ามเผยแพร่ข้อมูลที่รัฐบาลมองว่าเท็จ เป็น "Fake News" หรือ "ข่าวปลอม" ฝ่าฝืนให้ กสทช.สั่งปิดทันที
News Update - ข่าว 30 กรกฎาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29)
เนื้อหาระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 2563 และต่อมาขยายเวลาการใช้บังคับออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2564 นั้น
โดยที่มีการเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือข้อมูลที่บิดเบือน ทำให้เข้าใจผิดหรือสับสน กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ การละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น
การรักษาความสงบเรียกร้อยหรือการรักษาสุขภาพของประชาชนโดยผ่านทางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นายกฯ ออกข้อกำหนดไว้ดังนี้
1.ห้ามผู้ใดเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว
หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
2.กรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารตามข้อ 1 ในอินเตอร์เน็ต ให้ กสทช. แจ้งผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเตอร์เน็ตตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระเสียง
วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมทุกรายทราบ และให้ผู้รับใบอนุญาตังกล่าวทุกราย มีหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อความหรือข่าวสารดังกล่าวมาจากเลขที่อยู่ไอพี (IP address) ใด
หากเป็นเลขที่อยู่ไอพี (IP address) ที่ตนเป็นผู้ให้บริการ ให้แจ้งรายละเอียดตามที่ กสทช.ทราบและให้ระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เลขที่อยู่ไอพี (IP address) นั้นทันที
ให้ กสทช.ส่งรายละเอียดตามที่ได้รับแจ้งตามวรรคที่หนึ่งให้แก่ สำนักตำรวจแห่งชาติ(ตร.)โดยเร็วเพื่อดำเนินคดีต่อไป ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตำมวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในใบอนุญาตการให้บริการอินเตอร์เน็ต และให้ กสทช. ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ค. 2564 เป็นต้นไป ประกาศวันที่ 29 ก.ค2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐนตรี
ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า แอมมี สลิโพวิตซ์ ผู้จัดการโครงการวิจัยของหน่วยงาน Freedom House
ที่ออกรายงาน Freedom in the World และรายงาน Democracy under Lockdown กล่าวว่า การระบาดของโคโรนาไวรัสก่อให้เกิดสิ่งคุกคามเสรีภาพสื่อด้วย
หน่วยงาน Freedom House พบว่า ในบรรดา 192 ประเทศที่อยู่ในการทำสำรวจ มี 91 ประเทศซึ่งรวมถึงไทย สหรัฐฯ และอังกฤษที่ใช้กฎข้อบังคับไม่มากก็น้อยเพื่อจำกัดทางเสนอข่าว ในมาตรการรับมือโควิด-19 ของรัฐ
สก็อตต์ กริฟฟิน รองผู้อำนวยการสถาบัน International Press Institute หรือ IPI ที่กรุงเวียนนา กล่าวว่า รัฐบาลหลายเเห่งโดยเฉพาะที่เป็นเผด็จการ เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องลดทอนเสรีภาพเมื่อเกิดวิกฤตด้านสาธารณสุข
แต่ในความเป็นจริง สก็อตต์ กริฟฟิน มองว่าการทำข่าวอย่างอิสระเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นพิเศษ เมื่อเกิดวิกฤตด้านสาธารณสุข
และเมื่อรัฐจะยังคงออกมาตรการใหม่ๆ มาเรื่อยๆ ตัวอย่างหนึ่งไม่นานนี้คือที่ประเทศมาเลเซียที่ รัฐบาลขยายอำนาจกฎหมายภาวะฉุกเฉินในเดือนมีนาคมนี้
ที่เพิ่มการลงโทษต่อสิ่งที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นการเสนอข้อมูลเท็จ มาตรการที่เข้มงวดขึ้นรวมถึงโทษจำคุกขั้นสูงสุดเป็นเวลาสามปีด้วย
คอร์ทนีย์ ราดช์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมกิจกรรม แห่ง Committee to Protect Journalists หรือ CPJ ที่นครนิวยอร์กกล่าวถึงประเทศที่มีประวัติน่ากังวลเรื่องเสรีภาพสื่อว่าประกอบด้วย จีน อิยิปต์ และตุรกี และองค์กรของเธอพบว่าเมื่อปีที่เเล้ว มีนักข่าวถูกจับกุมตัว 274 คน
จึงขอเชิญชาวไทยช่วยกันติดแฮชแท็ก #savethailand
30 กรกฎาคม 2564
ผู้ชม 1089 ครั้ง