"มัจจุราชเงียบ" สถาบันโรคทรวงอก เตือน ผู้ไอเรื้อรัง สูบบุหรี่จัด เสี่ยง "โรคปอดอุดกั้น"
"มัจจุราชเงียบ" สถาบันโรคทรวงอก เตือน ผู้ไอเรื้อรัง สูบบุหรี่จัด เสี่ยง "โรคปอดอุดกั้น"
หากเอ่ยชื่อถึงคำว่า “บุหรี่” คนส่วนใหญ่จะทราบกันดีว่ามีพิษร้ายแค่ไหน แต่คนส่วนใหญ่ก็ให้ความนิยมมาก ซึ่งหากสูบไปนานๆ ก็จะยิ่งติดหนักขึ้น เลิกยาก กระทั่งไม่สามารถเลิกได้
โทษของบุหรี่ เต็มไปด้วยสารพิษที่หากร่างกายได้รับไปนานๆ จะส่งผลให้เกิดโรคมะเร็ง โรคปอด โรคหัวใจ และส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นๆ ตามมามากมาย
นอกจากนี้ ควันบุหรี่ยังมีประสิทธิภาพในการทำร้ายคนรอบข้างได้อย่างร้ายกาจ ซึ่งหากคุณคิดว่าไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ ลองมาดู โทษของบุหรี่ ที่มีทั้งต่อตัวคุณเองและคนรอบข้างกันก่อน
เสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งหลอดเลือดสมองตีบ เป็นอีกโรคที่น่ากลัว เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดสมองแตกได้
ซึ่งก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤต อัมพาตและอาจเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้อีกเช่นกัน รวมทั้ง เสี่ยงถุงลมโป่งพอง เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอด ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ
สถาบันโรคทรวงอก ออกมาเตือนผู้ที่ไอเรื้อรัง หอบเหนื่อย สูบบุหรี่จัด อาจเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แนะพบแพทย์เพื่อรักษา หากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะหัวใจซีกขวาล้มเหลว
แต่ทั้งนี้ ข้อมูลสำคัญที่ยังไม่ปรากฏเผยแพร่ในวงกว้าง ทั้งๆ ที่เป็นข้อมูลทางวิชาการ ผ่านการวิจัยมาทั่วโลก ซึ่งในยุคนี้ แม้ว่าการสูบบุหรี่จะเป็นปัญหา และ สาเหตุการตาย การเจ็บป่วยเรื้อรัง แต่สามารถป้องกันได้**
โดยนวัตกรรมทางเลือก "E-cigarettes" ซึ่งมีงานวิจัยจากบุคคลากรทางด้านสุขภาพ และ สาธารณสุขทั่วโลกยืนยันชัดเจนสามารถป้องกันได้ถึง 95 %
กองบรรณาธิการข่าว เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com รายงานว่า นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่เกิดจากหลอดลมมีการเปลี่ยนแปลง หรือ ในเนื้อปอดมีการอักเสบ ส่งผลให้หลอดลมตีบแคบลงหรือตันไม่กลับคืนสู่สภาพปกติ
ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะ หอบเหนื่อย และหายใจมีเสียงหวีด โดยระยะแรกอาจยังไม่ปรากฏอาการ แต่เมื่อเนื้อปอดถูกทำลายมากขึ้น อาการดังกล่าว จะพบมากขึ้นเรื่อยๆ
สาเหตุสำคัญ คือ การสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่มีสารเคมีมากมาย เมื่อปอดสัมผัสกับควันบุหรี่ เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในปอด สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ การสูดดมมลภาวะอากาศที่เป็นพิษ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยทั่วไปมักพบ 2 โรคอยู่ร่วมกัน คือ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง จะมีอาการไอและมีเสมหะเรื้อรัง
อาการเป็นๆหายๆอย่างน้อย 3 เดือน ติดต่อกันประมาณ 2 ปี หรือมากกว่านั้น โดยไม่มีสาเหตุอื่น และโรคถุงลมโป่งพอง มีการทำลายผนังถุงลม และส่วนปลายสุดของหลอดลม จะมีการขยายตัวโป่งพอง ทำให้การถ่ายเทอากาศผิดปกติ
หากพบว่าตนเองเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการดังกล่าว แนะนำให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค แพทย์อาจตรวจภาพรังสีทรวงอก ตรวจสมรรถภาพปอด และตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือดเพื่อช่วยประเมิน ความรุนแรงของโรค
เพราะหากโรครุนแรงมากขึ้นผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการที่ออกซิเจนในเลือดลดลงเป็นเวลานาน ทำให้หลอดเลือดแดงในปอดเกิดการบีบรัดตัวและมีแรงดันสูงขึ้น ส่งผลให้หัวใจซีกขวาต้องทำงานหนักมากเป็นเวลานาน ทำให้เกิดภาวะหัวใจซีกขวาล้มเหลวได้
แพทย์หญิงวิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ ระบุถึงแนวทางในการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีตั้งแต่การรักษาด้วยยา การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และการผ่าตัด เป็นต้น
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยควรหยุดสูบบุหรี่ ดูแลตนเองด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่ รู้จักควบคุมอารมณ์ เพราะความเครียดอาจทำให้หายใจลำบาก
นอกจากนี้ต้องดูแลบ้านให้สะอาดปราศจากฝุ่น ละออง และควัน สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ และฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี และที่สำคัญต้องมาพบแพทย์สม่ำเสมอตามนัด และใช้ยาที่แพทย์แนะนำ
หากมีอาการผิดปกติ ได้แก่ เหนื่อยมากกว่าเดิม เสมหะมากขึ้นหรือเปลี่ยนสี เสมหะมีเลือดปนหรือไอเป็นเลือด มีไข้ เจ็บหน้าอกให้รีบมาพบแพทย์ก่อนนัดทันที เพื่อการรักษาที่รวดเร็ว และปลอดภัย
** สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ถือเป็นความท้าทายต่อสังคมในยุคดิจิตอล ที่จะลุกขึ้นมา "ปฏิวัติวงการสุขภาพ" โดยในหลายๆ ประเทศเริ่มจากฝั่งยุโรป นำเอาผลิตภัณฑ์ทางเลือก E-cigarettes มาใช้กันอย่างแพร่หลาย
และ ขณะนี้ฝั่งเอเชีย ก็เริ่มต้นจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุน ฯลฯ ที่มีการออกกฏหมายควบคุม E-cigarettes อย่างได้ผล ซึ่งมาตรการนี้กำลังจะถูกนำมาใช้กับหลายๆ ประเทศ ในฝั่งเอเชียใต้ โดยมีการจัดเวทีวิชาการ the 1st Asia Harm Reduction Forum 2017ณ ประเทศอินโดนีเซีย ฯลฯ
โดยมาตรการของประเทศเหล่านี้มองคล้ายๆ กัน คือ เมื่อสถิติการสูบบุหรี่มวน ไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลง ดังนั้นจึงเห็นว่าการควบคุมผลิตภัณฑ์ทางเลือก E-cigarettes อย่างถูกกฏหมาย
จึงดีกว่าการสั่งห้าม ปล่อยให้อยู่ใต้ดินต่อไป ซึ่งจะสร้างความสูญเสียมหาศาล และหากภาครัฐไม่ตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะกลายเป็นตราบาป เสมือนฆ่าคนตายโดยทางอ้อมเลยทีเดียว...แล้วใครกันจะรับผิดชอบ
23 ธันวาคม 2565
ผู้ชม 8064 ครั้ง