นักวิชาการ นักวิจัย จากนิด้า ธรรมศาสตร์ ระดมสมอง เจาะลึกประเด็น “บุหรี่ไฟฟ้า” นวัตกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ทั่วโลกกำลังกำหนดเป็น "นโยบายสาธารณสุข" ? เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com

บทความ

นักวิชาการจากนิด้า นักวิจัย ระดมสมอง เจาะลึกประเด็น “บุหรี่ไฟฟ้า”

กองบรรณาธิการข่าว เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com รายงานว่า  เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 60 ณ โรงแรมเอเชีย ทางศูนย์วิจัย และพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยภิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ( นิด้า ) NIDA

ได้จัดให้มีการเสวนาหัวข้อ เจาะลึกประเด็นร้อนโรงไฟฟ้าถ่านหิน – บุหรี่ไฟฟ้า นวัตกรรม ช่วยลดผลกระทบเชิงลบด้านสิ่งแวดล้อม และ สุขภาพได้จริงหรือ ?

ซึ่งเป็นเวลากลาง มีนักวิชาการเข้าร่วมมากมาย  เช่น หม่อมหลวง กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ,ผศ.ประสาท มีแต้ม ,รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ 

โดย ศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่ดำเนินการเสวนา มีสื่อมวลชนเข้าร่วมฟังข้อเท็จจริงมากมาย เนื่องจากข่าวสารที่ออกมาด้านเดียวทำให้เกิดความสับสน  

ศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช ระบุว่า ทางศูนย์วิจัยฯ เป็นเป็นตัวกลางในการจัดเสวนาเพื่อให้นำเสนอข้อเท็จจริงสองด้านจากนักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน คุณมาริษ กรัณยวัฒน์ เครือข่ายลาขาดควันยาสูบ  ENDS Cigarette Smoke Thailand ( ECST )  เจ้าของเพจ "บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร" 

รวมทั้ง กลุ่มผู้บริโภค เพื่อนำข้อถกเถียงสองด้านให้ประชาชน และรัฐบาลได้รับรู้ และร่วมกันตัดสินใจเพื่อหาทางออกสำหรับการกำหนดนโยบายสาธารณะให้เหมาะสมกับปัจจุบัน ที่มีนวัตกรรมลดอันตรายจากบุหรี่ ( Tobacco Harm Reduction )  

“ที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินคำกล่าวอ้างที่ว่า โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน และ เรื่องของบุหรี่ไฟฟ้า ในลักษณะเสียงคัดค้าน ซึ่งเป็นการพูดหรือโน้มน้าวจากบุคลากรทางด้านสาธารณสุขว่า   บุหรี่ไฟฟ้า เป็นสิ่งอันตรายมาก

มีสารพิษเทียบเท่ากับเฮโรอีน ซึ่งเป็นข้อความเท็จ ดังนั้นจึงต้องมาถกเถียงกัน เนื่องจากทั่วโลกได้ดำเนินการกำหนดเป็นนโยบายสาธารณสุขเกือบหมดแล้ว เพราะมีงานวิจัยรองรับ ซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินการในประเทศที่พัฒนาแล้ว”

ทั้งนี้ ผลการวิจัยจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์ ฯลฯ ยืนยันว่าการเผาไหม้คือกระบวนการที่ก่อให้เกิดสารพิษที่เป็นอันตราย การพัฒนาเทคโนโลยีที่ลดการเผาไหม้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ เป็นนวัตกรรมทางเลือกที่ทั่วโลกให้การยอมรับแล้ว”

ขณะที่ในโลกออนไลน์ได้มีการแสดงความคิดเห็นมากมาย ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อทุกประเทศได้ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน ผู้ที่เซ็นเอกสารใน พรบ.ควบคุมฯ จะมีความผิด และ มีมลทินติดตัว จนไร้อนาคตทางราชการ

นสพ.โพสต์ทูเดย์  ในเครือบางกอกโพสต์ พาดหัวข่าว "อย่าดูถูก ปัญญาประชาชน ได้เวลาบุหรี่ไฟฟ้าถูกกม" 

สิ่งที่ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า ....พ่นสิ่งที่คล้าย "ควันสีขาว" ออกมานั้น ...ทำให้บางกลุ่มมองในทางลบ เข้าใจผิดว่าคือ "ควัน" แต่จริงๆ แล้วคือละอองจากน้ำ ไม่มีกลิ่น ซึ่งต่างประเทศในร้านกาแฟ  Starbucks ได้อนุญาตให้ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า สามารถนั่งสูบได้ภายในร้าน เนื่องจากประชาชนของประเทศเหล่านี้มีความรู้ ความเข้าใจดี  

กองบรรณาธิการข่าว เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com รายงานจาก  โรงแรมเอเชีย

 ตัวอย่างงานวิจัย 8 ชิ้น ยืนยันว่า มีแหล่งที่มาและตรวจสอบได้ทั้งสิ้น


1. “บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้สร้างควันจากการเผาไหม้ งานวิจัยจึงสรุปได้ว่ามันปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน” 
- มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
http://ash.org.uk/…/ash-briefing-on-electronic-cigarettes-2/


2. “ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าไอจากบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายต่อคนรอบข้าง” 
- สถาบันวิจัยโรงมะเร็ง.... 
https://www.cancerresearchuk.org/…/…/cruk_e-cig_qa_final.pdf


3. “บุหรี่ไฟฟ้ามีนิโคตินแต่ไม่ได้มีสารก่อมะเร็งเหมือนบุหรี่มวน” 
- สถาบันวิจัยโรงมะเร็ง
http://scienceblog.cancerresearchuk.org/…/new-study-comes-…/


4. “บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีทาร์และคาร์บอนมอนอกไซต์ ซึ่งเป็นสารพิษหลักที่พบในบุหรี่มวน” 
- ระบบบริการสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (NHS)
http://www.nhs.uk/Livewell/smoking/Pages/e-cigarettes.aspx


5. “นิโคตินอย่างเดียวไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง”
- The International Harm Reduction Association
http://www.prnewswire.com/…/special-interest-deceptions-con…


6. “มากกว่าครึ่ง (52%) ของผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเลิกบุหรี่ได้แล้ว” 
- มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
http://ash.org.uk/…/use-of-electronic-cigarettes-vapourise…/


7. “ไม่มีหลักฐานชี้ถึงความเสี่ยงโดยตรงจากไอของบุหรี่ไฟฟ้า” 
- กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ
https://www.nhs.uk/…/e-cigarettes-95-less-harmful-than-smo…/


8. “ผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้ารายงานว่ารู้สึกติดน้อยกว่าบุหรี่มวน” 
-ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร
https://www.rcplondon.ac.uk/…/nicotine-without-smoke-tobacc…

เครดิตจากบุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร 

 

 อาจารย์ธวัช สุนทราจารย์ เป็นแพทย์หนึ่งเดียวในประเทศไทยที่มีความรู้ความสามารถมาก มีผลงานทั้งกำจัดโรคซาร์ ไข้หวัดนก ฯลฯ ตั้งแต่สมัยเป็น รองปลัดฯ อธิบดีกรมควบคุมโรค  และ เป็นอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลตาคลี จ.นครสวรรค์ ที่พัฒนา รพช.ให้ได้มาตรฐาน สร้างคุณงามความดีมหาศาล  

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News  

 

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

27 พฤศจิกายน 2565

ผู้ชม 4079 ครั้ง

Engine by shopup.com