เวที "นางงาม" สะท้อนมุมมองสุขภาพ สาธารณสุข สร้างความตื่นตัว กับ "วงการแพทย์ไทย" ที่อคติต่อ "นวัตกรรมใหม่"
เวที "นางงาม" สะท้อนมุมมองสุขภาพ สาธารณสุข สร้างความตื่นตัว กับ "วงการแพทย์ไทย" ที่อคติต่อ "นวัตกรรมใหม่"
MED HUB NEWS - การนำเสนอข่าวนางงามเป็นข่าวใหญ่ในครั้งนี้ สื่อมวลชนส่วนใหญ่มองว่า นางงาม ยุค 4.0 ไม่ใช่แค่เวทีประกวดขาอ่อนอีกต่อไปแล้ว
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า จากการสังเกตคำถามในรอบตัดสินของเวที Miss Universe 2018
ที่เห็นได้ชัดว่ากองประกวดตั้งใจเน้นไปที่ประเด็นสำคัญในสังคมโลก ตั้งแต่เรื่อง เสรีภาพสื่อ ประเด็นผู้อพยพ ความสำคัญของนวัตกรรมด้านสุขภาพ และ กัญชาทางการแพทย์ ฯลฯ
ฐานคนชม Miss Universe มีจำนวนมากกว่าร้อยล้านคนทั่วโลก โดย "แคทรีโอน่า เกรย์" Catriona Gray สาวงามจากฟิลิปปินส์ ได้สร้างความตื่นตัวให้กับวงการแพทย์ โดยเฉพาะในเมืองไทยที่อคติต่อนวัตกรรม และ เทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ
เมื่อเธอได้คำถาม “What is your opinion on the legalization of marijuana?” หรือ “คุณคิดอย่างไรกับการทำให้กัญชาถูกกฎหมาย”
ปัจจุบันแคนาดากับ ประเทศอุรุกวัยได้อนุญาตให้คนใช้กัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย โดยใช้แง่ยารักษาโรคเป็นสำคัญ
ขณะที่หลายประเทศยังจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติด เป็นข้อถกเถียงในสังคม คำถามนี้ "แคทรีโอน่า เกรย์" ตอบว่า
“ฉันสนับสนุนกัญชาในฐานะยารักษาโรค แต่ไม่สำหรับการใช้เพื่อสันทนาการ แต่อันที่จริงถ้าคนจะถกเถียงกันเรื่องนี้ แล้วแอลกอฮอล์หรือบุหรี่ล่ะ ฉันว่าทุกอย่างมันดีหมดถ้าใช้ในปริมาณที่พอดีค่ะ”
ทั้งนี้ "อุรุกวัย" ประเทศแรกที่มีระบบควบคุมการผลิต การขาย และการบริโภคกัญชาหรือ กัญชาทางการแพทย์ อย่างถูกต้องตามกฏหมาย
โดยเว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com รายงานว่า กัญชาทางการแพทย์ เกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2560 หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สื่อชั้นนำของอังกฤษ พาดหัวข่าวว่า “How Uruguay made legal highs work”
เนื้อหาข่าวระบุว่า การอนุญาตให้ กัญชาถูกควบคุมจากรัฐบาลในประเทศอเมริกาใต้ ถือว่านำไปสู่ กัญชาทางการแพทย์และ ธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ 17,391 ราย
สำหรับ กัญชาทางการแพทย์ ทุกๆ ช่วงบ่ายผู้คนในอุรุกวัยจำนวนมากรออยู่นอกร้านขายยาเล็ก ๆ ใน Montevideo ที่พวกเขาสามารถซื้อกัญชาได้แค่วันละครั้ง
"สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ทัศนคติของผู้มีอำนาจ ล่าสุดในอุรุกวัยมีสองบริษัทเอกชนที่ผลิตกัญชาได้ ซึ่งรัฐบาลควบคุมดูแลกัญชาทางการแพทย์ การใช้กัญชาให้ถูกต้อง ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ”
ทั้งนี้ กัญชาทางการแพทย์ และตลาดกัญชาตามกฎหมายของอุรุกวัยจะมีเภสัชกรทำหน้าที่จ่ายหรือขายให้เท่านั้น สำหรับกัญชาที่เป็นสันทนาการยังคงผิดกฎหมายในอุรุกวัย
สำหรับสมุนไพรกัญชา หรือ กัญชาทางการแพทย์ในไทย ยังเป็นสิ่งเสพติดผิดกฎหมาย เป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท แม้จะมีความพยายามผลักดันเป็นยารักษาโรคในทางเภสัชวิทยา
องค์ประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลักของกัญชา คือ เตตระไฮโดรแคนนาบินอล ( THC) ซึ่งเป็นสารประกอบหนึ่งจาก 483 ชนิด ที่ทราบว่าพบในต้นกัญชา
สารอื่นที่พบมีแคนนาบินอยด์ อีกอย่างน้อย 84 ชนิด เช่น แคนนาบิไดออล ( CBD ) แคนนาบินอล ( CBN ) เตตระไฮโดรแคนนาบิวาริน ( THCV ) และ แคนนาบิเจอรอล ( CBG )
ปัจจุบันประเทศไทยในทางปฏิบัติ ไม่มีการอนุญาตให้นำมาใช้ในทางการแพทย์ แม้ร่างกฏหมายจะผ่านจากที่ประชุม สนช.ซึ่งได้ให้อำนาจกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ตามกระบวนการเท่านั้น แต่ยังมีความล่าช้า หรือ วาระซ่อนเร้น
ขณะที่นักวิทยาศาสตร์หลายประเทศให้ความสนใจศึกษาสารสำคัญในกัญชาเพื่อ ศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต่อร่างกายและประโยชน์ในทางการแพทย์
นอกจากนี้ จากการศึกษาวิจัยตั้งแต่อดีตเรื่อยมาก็พบว่ากัญชาสามารถใช้เป็นยาในการ บำบัดรักษาอาการป่วยในบางโรคได้
เช่น ลดการอาเจียนระหว่างรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด, ลดการปวดอักเสบในโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย และลดการปวดเกร็งที่เป็นผลมาจากเส้นประสาทถูกทำลาย
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ กัญชาทางการแพทย์ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com
23 ธันวาคม 2565
ผู้ชม 8562 ครั้ง