“บีม ศุภกิตติ์” ภาควิชารังสีเทคนิค จุฬาฯ เผยกังวลความเสี่ยงการปฏิบัติงาน
“บีม ศุภกิตติ์” ภาควิชารังสีเทคนิค จุฬาฯ เผยกังวลความเสี่ยงการปฏิบัติงาน
MED HUB NEWS - ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพของคนรุ่นใหม่ และ เพจ sasook รายงานว่า “สหสาขาวิชาชีพด้านสาธารณสุข” ถือว่ามีหน้าที่สำคัญมากแตกต่างๆ กันออกไป
แม้เวลาประชาชนไปโรงพยาบาลจะพบเพียงแค่หมอ พยาบาล แต่กระบวนการรักษามีบุคลากรจำนวนมากที่ต้องทำงานรวมกัน
นักรังสีเทคนิค ก็เป็นหนึ่ง ใน “สหสาขาวิชาชีพสาธารณสุข” ที่มีความสำคัญมาก และ เริ่มขาดแคลนอย่างหนัก โรงพยาบาลบางแห่งต้องใช้บุคคลอื่นทำหน้าที่แทน
วันนี้เราจะไปสัมภาษณ์อนาคตนักรังสีเทคนิคการแพทย์ที่เขาใฝ่ฝันว่าจะเป็นหนึ่งใน “สหสาขาวิชาชีพสาธารณสุข” ที่ทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่นๆ อย่างราบรื่น เพื่อผู้ป่วย และ ประชาชนให้ได้รับการรักษาที่ดีที่สุด
แต่ขณะเดียวกันความเสี่ยงในการได้รับรังสี จากการปฏิบัติงานก็น่าเป็นห่วงมากเหมือนกัน โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่เริ่มกังวลมากขึ้น
น้องบีม ศุภกิตติ์ ว่องวิทย์โอฬาร กำลังศึกษาคณะสหเวชศาสตร์ ภาควิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์ทางการแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับ เว็บไซต์ Medhubnews.com ว่า ตนตั้งใจศึกษาหาความรู้เพื่อผู้ป่วยในระบบสาธารณสุขไทย
ซึ่ง นักรังสีการแพทย์ ( Radiologic technologist) หรือ นักรังสีเทคนิค คือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานรังสีการแพทย์ ทั้งด้านรังสีวินิจฉัย, รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ที่ผู้ป่วยจะได้เจอตอนปฏิบัติงานเวลาเฉพาะต้องตรวจดูร่างกายผ่านเอกซเรย์
“คนไข้จะพบกับ นักรังสีการแพทย์ ตอนที่หมอสั่งให้ให้ใช้รังสีวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ ทั้งการถ่ายภาพรังสี (Radiopgrahy) หรือเอกซเรย์ทั่วไป การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (Computed tomography; CT scan)
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์ ( Ultrasonography ) การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก ( Magnetic resonance imaging; MRI )
รวมถึงรังสีร่วมรักษา ( Interventional radiology ) หรือการตรวจพิเศษทางรังสีต่างๆ ซึ่งปัจจุบันตามโรงพยาบาลทั่วประเทศขาดแคลนมาก
และแม้จะเป็นวิชาชีพที่คนไข้ไม่ค่อยได้พบมากนัก เปรียบกับวิชาชีพปิดทองหลังพระก็ตาม แต่ตนก็จะตั้งใจทำงานเพื่อผู้ป่วยเมื่อเรียนจบต่อไป”
ส่วนความเสี่ยงในการได้รับรังสีอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งจากการปฏิบัติงานนั้นตนก็พอทราบมาบ้าง ซึ่งในการเรียนการสอนจะมีการฝึกให้เรียนรู้ ทดลอง มีสติ ในการปฏิบัติงานเสมอ
ซึ่งในอนาคตมันจะพัฒนาไปในทางไหน หรือว่ามีการวิจัยว่าการได้รับรังสีปริมาณเท่านี้ก็เสี่ยงมะเร็ง ก็น่าเป็นห่วงมากเหมือนกัน หวังว่าจะมีการแก้ไข ป้องกันบุคลากรให้ดีพอด้วย"
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
05 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 5968 ครั้ง