โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล "คดีหมอปอ" สะท้อนความผูกพันบริการปฐมภูมิ ระหว่าง "หมออนามัย" กับ ชาวบ้าน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล "คดีหมอปอ" สะท้อนความผูกพันบริการปฐมภูมิ ระหว่าง "หมออนามัย" กับ ชาวบ้าน
กองบรรณาธิการ ข่าวเว็บไซต์ Medhubnews.com รายงานว่า จากกรณีคนร้าย ก่อเหตุยิง เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ทำงานใกล้ชิดประชาชน
โดย นางสาวนนทิญา หรือหมอปอ อายุ 25 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลสลุย ชุมพร ว่าที่เจ้าสาว ตายภายคาห้องนอนชั้นสองบนบ้านพักข้าราชการ
ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมผู้ต้องหาที่ก่อเหตุในครั้งนี้ คือ นายรณชัย ปานชาติ หรือเก่ง ว่าที่เจ้าบ่าว
ขณะที่ข่าวสารที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นกระแสสังคมนั้น สะท้อนให้เห็นว่า บุคลากรสาธารณสุข หรือ หมออนามัย จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เหล่านี้ได้ปฏิบัติงาน
โดยใช้องค์ความรู้และศิลปะในตนเองเพื่อทำหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชน
อีกทั้งประชาชนให้ความรัก ความผูกพัน ดั่งจะเห็นได้จากข่าวความห่วงใยของชาวบ้านที่มีต่อเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข หรือ หมอปอ
ซึ่งแม้ว่าหมอปอ จะเป็นคำที่ประชาชนเรียก เพราะหมออนามัยเหล่านี้ ใช้องค์ความรู้ ความสามารถในการให้บริการที่ได้มาจากการศึกษาเล่าเรียนมาจากสถาบันการศึกษาที่ราชการรับรอง
รวมทั้งได้ปฏิบัติงานเพื่อชดเชยกับการที่บุคลากรทางด้านสุขภาพอื่นที่มีไม่เพียงพอต่อการให้บริการแก่ประชาชนในชุมชนและชนบทห่างไกล
โดยปฏิบัติงานในขอบเขตที่กำหนดแทนแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ และกายภาพบำบัด ต่อเนื่องกันมานาน
แต่สภาพการทำงาน หรือ สถานะ กลับไม่มีกฎหมายรองรับการปฏิบัติงานในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน ที่เหมาะสมเพียงพอ
ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือสถานบริการทางสาธารณสุขเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ซึ่งให้บริการด้านการรักษาพยาบาล งานควบคุมป้องกันโรค
งานส่งเสริมสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในเขตรับผิดชอบ ตั้งแต่เกิดจนตาย เดิมเรียกว่า สุขศาลา มาเปลี่ยนเป็น สถานีอนามัย
และปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น ศูนย์สุขภาพชุมชน ตำบลๆ หนึ่งจะมีจำนวนสถานีอนามัยประมาณ 1-2 แห่ง
บุคลากร ตามกรอบกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย นักวิชาการสาธารณสุข จบ ป.ตรี (สาธารณสุขศาสตร์) พยาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานสาธารณสุข (จบ ปวท/ปวส) เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข (จบ ปวท/ปวส) เจ้าพนักงานเภสัชกรรม (จบ ปวท/ปวส)
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและ/หรือผู้ช่วยเจ้าหน้าที่และ/หรือเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือคนใข้ (จบ ม.6 ปวช ปวส ป.ตรี) จำนวนบุคลากรอาจไม่ครบตามจำนวนนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนเจ้าหน้าที่ในสังกัด บางแห่งอาจมี 1 คน 2 คน หรือ 3 คนก็ได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร
สาเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้ เกิดปัญหาในการทำงานของสถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่มีบุคลากรน้อย แต่จำนวนประชากรในเขตรับผิดชอบมาก ภาระงานที่มากมาย
แม้ว่า คดีของหมอปอ จะทำให้ชาวบ้าน และ สังคมเศร้าใจ แต่อีกมุมที่ดีก็ทำให้ หมออนามัย ใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีคุณค่ามากขึ้น ชาวบ้านรักและศรัทธามากมาย
แม้ว่าในปัจจุบันโรงพยาบาลระดับอำเภอจะครอบคลุมเกือบทุกอำเภอแต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องใช้บริการที่สถานีอนามัย
ประชาชนในชนบท จะใช้บริการด้านสุขภาพกับสถานีอนามัย จนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ประชาชนจะเรียกเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยว่า หมออนามัย
ทั้งที่ความจริงแล้ว เจ้าหน้าที่เหล่านี้ยังไม่มีอะไรมารองรับการทำงานที่มั่นคงเลย !!
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
05 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 11680 ครั้ง