“อภัยภูเบศร” โกอินเตอร์ เครื่องสำอางบัวไผ่ข้าว คว้ารางวัลแพคเกจจิ้ง อวอร์ด 2018
“อภัยภูเบศร” โกอินเตอร์ เครื่องสำอางบัวไผ่ข้าว คว้ารางวัลแพคเกจจิ้ง อวอร์ด 2018
กองบรรณาธิการ ข่าวเว็บไซต์ Medhubnews.com รายงานว่า ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระบุถึงผลิตภัณฑ์ "เครื่องสำอางบัวไผ่ข้าว" ได้รับรางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์ยอดเยี่ยมจาก world packaging organization 2018 (WPO) จาก 38 ประเทศทั่วโลก
ผลงานการออกแบบของบริษัทไทยคอนเทนเนอร์กรุ๊ป จำกัด ซึ่งการออกแบบนั้นมีความเป็นสากลแต่ยังคงอัตตลักษณ์ของสมุนไพรไทยที่สามารถแข่งขันได้กับเครื่องสำอางเคาท์เตอร์แบรนด์
ทั้งนี้ อภัยภูเบศรมีแผนขยายช่องทางการจำหน่ายไปสู่ตลาดไฮเอนด์มากขึ้น โดยมีเป้าหมายจะวางในห้างหรูเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ไทย ขณะเดียวกันก็ได้วางแผนปรับกลยุทธ์การจำหน่าย และกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยการปรับเปลี่ยนจุดกระจายสินค้าเพื่อมีประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าได้ทั่วถึงในแต่ละพื้น และพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ส คือเปิดช่องทางการจำหน่ายออนไลน์
เพื่อให้สะดวกต่อผู้บริโภค สามารถเลือก ซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรอภัยภูเบศรได้ง่ายผ่านระบบออนไลน์ทาง www.abhaiherb.com คาดว่าจะสามารถขยายตลาดสมุนไพรได้เพิ่มขึ้น 30% ในปี 2561
นอกจากนี้ยังเตรียมพัฒนารูปแบบแฟรนไชส์ในอนาคต เพื่อตอบโจทย์การขยายฐานธุรกิจ ให้ประชาฃชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพได้สะดวก และเรามีความเข้มแข็งในด้านของงานบริการ
เช่น อภัยภูเบศรคิวซีนสปา อนาคตจะรวมงานบริการไปในแฟรนไชส์ด้วย สอดรับกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย สวยงามเพื่อเตรียมขยายตลาดต่างประเทศ และอาจทำเป็นพรีเมี่ยมแบรนด์ พัฒนานวัตกรรมการสกัดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคยิ่งขึ้น
“จากประสบการณ์พัฒนาสมุนไพรมากว่า 30 ปี บนพื้นฐานของธุรกิจเพื่อสังคมเนื่องจากกำไรมีการแบ่งปันช่วยเหลืองานบริการด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 70% และ ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น ช่วยการเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ และพัฒนางานวิจัยต่างๆ อีก 30%
ด้วยเหตุนี้รัฐบาล จึงได้มอบหมายให้เป็นอภัยภูเบศรเป็นเรือธงนำด้านตลาดสมุนไพร เมื่ออภัยภูเบศรเติบโตย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อ Stakeholder ที่เกี่ยวข้อง 5 กลุ่มหลักๆ คือ 1.เกษตรกร มีรายได้ที่มั่นคงแน่นอน
2. หมอยาพื้นบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นกับการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง 3. ชุมชน มีองค์ความรู้ มีรายได้จากการประกอบธุรกิจสมุนไพร 4. เยาวชน มีการเรียนการสอนเรื่องสมุนไพร
มีองค์ความรู้และมีพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 5.ผู้บริโภค เข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” เลขาธิการมูลนิธิอภัยภูเบศร กล่าว
16 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 6164 ครั้ง