"เป็นโรคซึมเศร้า" หรือ "เป็น โรคสำออยกันแน่"  มายาคติที่ส่งผลให้สถิติการฆ่าตัวตายสูงถึง  800,000 ราย ส่วน “วัยรุ่นไทย” เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ากว่า  3 ล้านคน ป่วยแล้วกว่า 1 ล้านคน

บทความ

"เป็นโรคซึมเศร้า" หรือ "โรคสำออยกันแน่"  มายาคติก่อให้คนฆ่าตัวตายสูงถึง  800,000 ราย “วัยรุ่นไทย” เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ากว่า  3 ล้านคน ป่วยแล้ว 1 ล้าน

โรคซึมเศร้า - ช่วงเวลาประมาณ 1 ปี ที่ผ่านมา มีสถิติการฆ่าตัวตายจำนวน 800,000 ราย นี้เป็นจำนวนเฉพาะที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เก็บข้อมูลได้

และ WHO ยังมีข้อมูลอีกว่าการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุสำคัญอันดับที่ 2 ของการเสียชีวิตในคนช่วงอายุ 15-29 ปี สาเหตุส่วนใหญ่ของการฆ่าตัวตายคือบุคคลนั้นเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือมีภาวะซึมเศร้าซึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา

กองบรรณาธิการ ข่าวเว็บไซต์สุขภาพ  Medhubnews.com รายงานว่าในช่วง 2 -3 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ผู้ป่วย โรคซึมเศร้า (depression) มีอัตราสูงขึ้นต่อเนื่อง

ปี 2561 เราจะพบข่าวสารพาดหัวข่าวทุกวัน โดยจิตแพทย์เผย “วัยรุ่นไทย” เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ากว่า  3 ล้านคน ป่วยแล้วกว่า 1 ล้านคน ชี้อาการป่วยดูยาก !! อาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวใช้ความรุนแรง ใช้ยาเสพติด ทำให้คนรอบข้างเข้าใจผิด

ขณะที่ เว็บไซต์สุขภาพ  Medhubnews.com ได้เกาะติดปัญหาโรคซึมเศร้ามาตลอด ทั้งศึกษาจากอาจารย์แพทย์ของกรมสุขภาพจิต ซึ่งจิตแพทย์เมืองไทยมีความสามารถสูง แต่ติดที่มีจำนวนน้อยมาก

สถานพยาบาลก็น้อย เนื่องจากคนไข้ต้องไปรักษาที่โรงพยาบาลเฉพาะทางเลย ซึ่งไม่ควรไปรักษาที่อื่น เพราะพบว่าแพทย์ทั่วไปวินิจฉัยผิดพลาดเยอะมาก รวมทั้งยาในบัญชียาหลักของโรงพยาบาลรัฐก็มีคุณภาพดีกว่าโรงพยาบาลเอกชน

ดังนั้นในระดับชุมชน จึงเกิดปัญหาเรื่องการคัดกรองผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผิดๆ  ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ตรงนี้จะต้องมีความเชี่ยวชาญสูงมาก

"เป็นโรคซึมเศร้า" หรือ "เป็น โรคสำออยกันแน่" ? 

ขณะที่สื่อมวลชนก็ให้ความสำคัญกับปัญหา เช่น ละครซีรีย์ที่สร้างมาจากเรื่องจริงอย่าง “Club Friday The Series 11 รักไม่ได้ออกอากาศ ตอนรักซึมเศร้า” 

ทำให้เกิดการตื่นตัว และ สร้างความเข้าใจได้อย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เข้าใจ อาจมองว่า "เป็นโรคซึมเศร้า" หรือ "เป็นโรคสำออยกันแน่" 

ในบรรดาอาชีพทั่วไป พบว่ามี นายแบบ นางแบบ ดารา นักร้อง พนักงานบริษัท สื่อมวลชน นักธุรกิจ ตำรวจ จำนวนมาก ป่วยเช่นกัน 

อาทิ น้ำตาล-พิจักขณา ,ทราย-อินทิรา เจริญปุระ, แวร์ โซว ,ทีเจ จิรายุทธ ผโลประการ ,แดน วรเวช ดานุวงศ์

และ "จูน กอปรบุญ" น้องสาวของวีเจจ๋า ดร.ณัฐฐาวีรนุช ที่ป่วยหนักเป็นโรคซึมเศร้า และ สิงห์ ประชาธิป มุสิกพงศ์ มือกีตาร์ของวงดนตรี Sqweez Animal จนกระโดดตึกฆ่าตัวตายสำเร็จ 

แม้ว่าโรคซึมเศร้าจะน่ากลัว แต่ถ้าหากได้คนรอบข้างที่เข้าใจ พยายามพบแพทย์ตามกำหนด ห้ามขาดยา บุคลากรใน รพ.จิตเวช ต้องเก่งจริง จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้

กองบรรณาธิการ ข่าวเว็บไซต์  Medhubnews.com  รายงานว่า  นโยบายแก้ปัญหาโรคซึมเศร้า ของกรมสุขภาพจิต ได้เร่งจัดการปัญหาโรคซึมเศร้ามาอย่างต่อเนื่อง   

ทั้งนี้ โรคซึมเศร้า เป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สมควรจะได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นมาตั้งคณะทำงาน ก่อตั้งเป็น สถาบันโรคซึมเศร้า เป็นการรักษาเฉพาะทางไปเลย 

ทุกวันนี้จิตแพทย์ขาดแคลนมาก ซึ่งปัจจุบันในกทม.มีสองแห่งที่สังกัดกรมสุขภาพจิต คือ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และ โรงพยาบาลศรีธัญญา และมีการเปิดคลินิกเฉพาะทางนอกเวลาราชการ รวมทั้ง สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ก็เพิ่มเครื่องมือ เทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น 

องค์การอนามัยโลกระบุว่าในปีที่ผ่านมาประชากรโลกเผชิญปัญหานี้   1 ใน  20 คน และเมื่อป่วยแล้วมีอัตราป่วยซ้ำได้สูงถึงร้อยละ 50-70 ที่น่าวิตกไปกว่านั้น ยังพบว่าโรคซึมเศร้าเป็นต้นเหตุใหญ่ทำให้วัยรุ่นทั่วโลกฆ่าตัวตายหรือไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป

ขนาดตำรวจไทย ยังป่วยโรคซึมเศร้า ช่วงที่ผ่านมาเพื่อนๆ ตำรวจ ต่างเสียใจกับการจากไปของ สารวัตรป๊อป พันตำรวจตรี สหัสวรรษ พันธ์เกตุ สารวัตรฝ่ายแต่งตั้ง สาวัตรฝ่ายแต่งตั้ง กองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

หลักฐานชัดเจนคือ พบข้อความ "ขออสิกรรมให้ด้วยครับ เพราะความซึมเศร้าจนเกินไป"  บนโต๊ะทำงาน

ปัญหานี้สมควรจะได้รับการแก้ไข เป็นอันดับต้นๆ ซึ่งการสื่อสาร ก็สำคัญมาก สื่อให้ความรู้เพียงพอหรือยัง ? ทำไมคนจึงเข้าใจผิดอีกมาก ?

“นพ.ไพฑูรย์ สมุทรสินธุ์  รอง ผอ.รพ ศรีธัญญา ระบุกับ สำนักข่าวเว็บไซต์  Medhubnews.com ชัดเจนว่า การเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า แพทย์จะต้องใช้เวลาคุยกับคนไข้นาน คนไข้บางคนไปนั่งรอก็โวยวาย ซึ่งจิตแพทย์กำลังซักถามอาการ ความเป็น ความตาย

รวมทั้งการขาดยาของผู้ป่วย ที่ห้ามปรับยา ลดยาเอง เพราะช่วงที่กินยาแล้วอาการดีขึ้นปกติ จะคิดว่าหายแล้ว ทั้งๆ ที่เปรียบเสมือนกับคนว่ายน้ำไม่เป็นที่ต้องหาห่วงยางจับอยู่ ซึ่งควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนปรับหรือลดยาเอง" 

เรื่องใหญ่นี้ .....เป็นภารกิจเร่งด่วน และ ท้าทาย ของกรมสุขภาพจิต !!

ข้อมูลจำเพาะ : พันตำรวจตรี สหัสวรรษ พันธ์เกตุ หรือสารวัตรป๊อป สารวัตรฝ่ายแต่งตั้ง กองทะเบียนพล ในวัย 30 ปี

พื้นเพเป็นคนกรุงเทพมหานคร จบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนสุขเนตร ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๔ – ๕ ที่โรงเรียนนวมินทราชินูทิศเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

ก่อนเบนเข็มเข้าสู่รั้วสีกากีโดยเริ่มจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 47 ก่อนแยกเหล่าต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 63 ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาได้ศึกษาเพิ่มเติม

โดยจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ จากมหาลัยเวสเทิร์น ปริญญาโทคณะรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ในที่สุด วันนี้เราสูญเสีย ความเป็นตำรวจอาชีพของสารวัตรป๊อป ที่มากความสามารถ เป็นตำรวจยุคใหม่ คลื่นลูกใหม่ ที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ และแนวทางวิถีการรับราชการของผู้บังคับบัญชา 

เพื่อประยุกต์ใช้กับหน้าที่ในตำแหน่งราชการให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและประเทศชาติอันเป็นที่รักของเราทุกคน

ขอแสดงความเสียใจอีกครั้ง นะครับ ! 

ขอบคุณข้อมูล , ภาพ บางส่วนจาก policenewsvarieties ,  “Club Friday The Series 11 ตอนรักซึมเศร้า”

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ 

Thailand Health and Wellness News  

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com

ได้จาก Facebook : sasook ของเรา  

17 มีนาคม 2562

ผู้ชม 10564 ครั้ง

Engine by shopup.com