"หมออนามัยสาว" รพ.สต. บ้านดอน ยันชีวิตปลอดภัยดี ชี้เรื่องของ "หมอปอ" เรื่องส่วนตัว ล่าสุดร่วมกับ "ทีมสหวิชาชีพ" ดูแล "ผู้ป่วยจิตเวช" เคยฆ่าพ่อตัวเอง คุ้มคลั่ง ผ่าควักไส้สยองขวัญ เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com

บทความ

"หมอพิม" หมออนามัยสาว รพ.สต. บ้านดอน สุพรรณฯ ยันชีวิตปลอดภัยดี ล่าสุดร่วมกันดูแล "ผู้ป่วยจิตเวช" ที่เคยฆ่าพ่อตัวเอง สยองขวัญ

จากคดี ปิตุฆาตุ ผู้ป่วยจิตเวช ฆ่าพ่อตัวเอง คุ้มคลั่ง ผ่าควักไส้สยองขวัญ กลายเป็นข่าวฉาวโฉ่ที่ชาวบ้านไม่กล้ามายุ่ง แต่ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการฟื้นฟูจาก รพ.ศรีธัญญา

จากคนสติไม่ดี วันนี้เขาได้รับการรักษา ทานยาต่อเนื่อง จนสามารถกลับมาอยู่บ้าน เป็นคนดี โดยมี “หมออนามัย” "อสม" จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอน และ  "พยาบาลวิชาชีพ" จากโรงพยาบาลอู่ทอง ช่วยเหลือ ทั้งเรื่องดูแลรักษาโรค และ สร้างอาชีพให้มีรายได้

สัจจา ธรรมวงษ์ ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านดอน 

กองบรรณาธิการ ข่าวเว็บไซต์สุขภาพ  medhubnews.com รายงานว่า  ข้อมูล จากกรมสุขภาพจิต เผยผลการศึกษาพบวัยรุ่นไทยมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ 44หรือมีประมาณ 3 ล้านกว่าคน คาดว่าขณะนี้ทั่วประเทศมีวัยรุ่นป่วยด้วยโรคซึมเศร้าแล้วกว่า 1 ล้านคน 

แต่อาการป่วยดูยากมักมาด้วยพฤติกรรมใช้ความรุนแรง ก้าวร้าว ทำร้ายตนเอง ใช้ยาเสพติด ฯลฯ ทำให้คนรอบข้างไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดคิดว่าเป็นนิสัยเกเร 

ทางกรมฯ จึงได้จับมือ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จัดทำแนวทางการดูแลรักษาให้บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้วัยรุ่นที่มีปัญหาได้รับการดูแลตั้งแต่ต้นอย่างทันท่วงที คาดพร้อมใช้ต้นปีหน้านี้  

อรัญญา ชำนาญอักษร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอู่ทอง 

ล่าสุด กองบรรณาธิการ ข่าวเว็บไซต์สุขภาพ  medhubnews.com ลงพื้นที่ บ้านดอน อ. อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี  ระหว่างวันที่ 25-26  ธันวาคม 2560                                                                                 

โดยเข้ามาศึกษาเคสการดูแลผู้ป่วย กลุ่มเปราะบาง ด้วยโมเดล "บัดดี้" และทีมหมอครอบครัว ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชภายใต้กองทุนสุขภาพหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่-รอบทิศของชาวไททรงดำบ้านดอน อ. อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี  

ซึ่งทันทีที่ไปถึง ณ เทศบาลตำบลบ้านดอน  นายทรงบท คุ้มฉายา นายกเทศมนตรีตำบลบ้านดอน น้องชายของ พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ต้อนรับ นายแพทย์ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช.) อย่างเป็นทางการ 

รวมทั้งบรรดาสื่อสารมวลชนสายสุขภาพ ที่เข้าร่วมสังเกตการณ์สิทธิประโยชน์จาก สปสช. ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งประเด็นเด็ดคงหนีไม่พ้นเรื่อง “จิตเวช” ป่วยกันทั่วบ้านทั่วเมือง 

ลำพังจิตแพทย์ คงไม่มีมากขนาดดูแลทุกคนได้ สปสช.ได้มีการการดูแลผู้ป่วย กลุ่มเปราะบาง ด้วยโมเดล "บัดดี้" และทีมหมอครอบครัว มาหลายปีแล้วเพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยง

โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโรคทางจิตเวชนี้ ทางหน่วยงานพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอน และ เทศมนตรีตำบลบ้านดอน  อาสาสมัครสาธารณสุข ได้ร่วมมือกันอย่างแข็งขัน  ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยซึมเศร้า ฯลฯ

ขณะที่ คดีฉาวโฉ่ สยองขวัญ โด่งดัง โรคจิตก่อเหตุการณ์ “ปิตุฆาตุ”  ฆ่าพ่อแท้ๆ ของตัวเอง และคลั่งผ่าศพพ่อควักตับไตไส้พุง ออกมาโชว์ ท่ามกลางความสยองขวัญ (  ข่าวขึ้นหน้าหนึ่ง  ปี 44 )

ซึ่งกรณีนี้ นายแพทย์ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช.) ระบุว่า เป็นเคสตัวอย่างที่ได้รับการดูแลอย่างดีจากพื้นที่ ซึ่งโรคจิตเวช เป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องพักอยู่ที่บ้าน อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราจะมีเครือข่าย ชุมชน มีทั้งเทศบาล รพ.สต. อสม. 

ในปีแรกชื่อโครงการ "โครงการจิตเวช" ปี 2 โครงการพลังใจ ปี 3 โครงการมิตรภาพบำบัด และพัฒนาต่อเนื่องเป็น "บ้านดอนปันสุข" ( ปัจจุบัน ) 

สำหรับในปี 2561 บอร์ด สปสช.ให้การสนับสนุนการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน โดยได้รับงบประมาณ จำนวน 61.5 ล้านบาท เท่ากับผู้ป่วยจำนวน 10,250 ราย เฉลี่ย 6,000 บาทต่อราย 

นายแพทย์ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช.)

ด้าน อรัญญา ชำนาญอักษร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอู่ทอง กล่าวว่า ตนเป็นทั้งพยาบาล และ ที่ปรึกษาด้านจิตเวช ในพื้นที่นี้เราจะรู้จักกันค่อนข้างมาก จึงทราบดีว่าบ้านไหนเป็นอะไร หรือ เสี่ยงอะไร หากดูแล้วไม่ปกติก็จะพิจารณาให้เข้ารับการรักษา ซึ่งตัวยาจิตเวชที่ รพ.อู่ทอง มีทั้งหมด 21 ตัว 

"เมื่อปีที่แล้ว มีผู้ป่วยซึมเศร้าฆ่าตัวตายสำเร็จ 5 คน ซึ่งก็ยังถือว่ามาก ดังนั้นการที่ สปสช.มาช่วยเรื่องนี้ก็จะมีสิ่งดีๆ ผู้ป่วยสุขภาพดีเมื่อได้รับยาต่อเนื่อง

ส่วนพวกแอพฯ ทางมือถือที่กรมสุขภาพจิตทำออกมานั้น ไม่ได้ผลถึง 50 % เพราะชาวบ้านไม่ค่อยโหลด หรือ อะไรที่มีขั้นตอนก็ไม่ทำเลย รวมทั้งเบอร์โทรสายด่วนสุขภาพจิต ที่เรามองว่าให้คำปรักษาได้นิดๆ หน่อยๆ เท่านั้น เพราะคนเป็นโรคจิตเวชต้องอาศัยการดูพฤติกรรม ดูสีหน้า แววตา ซึ่งเขาจะแสดงออกมาทางนี้ด้วย" 

 พิมพา ม่วงเพชร เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน ประจำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอน  

ด้าน นางสาว พิมพา ม่วงเพชร เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน ประจำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านดอน  ร่วมกับ "ทีมสหวิชาชีพ" ดูแล "ผู้ป่วยจิตเวช" ที่เคยฆ่าพ่อตัวเอง คุ้มคลั่ง ผ่าควัก ตับ ไต ไส้ พุง สยองขวัญ

แต่สามารถรักษาจนมีชีวิตปกติสุขได้ ซึ่งเธอได้ให้ความคิดเห็นว่า กรณีหมอปอนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่า ไม่น่าจะเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งไม่น่าโยงเข้ามาเกี่ยวกันค่ะ ส่วนการทำงานกับผู้ป่วยจิตเวช ก็ท้าทายและสนุกดี อยากให้คนไทยแข็งแรง สุขภาพดีค่ะ 

   

ทีมข่าว เว็บไซต์สุขภาพ  medhubnews.com รายงานจาก จังหวัดสุพรรณบุรี 

31 ธันวาคม 2560

ผู้ชม 10054 ครั้ง

Engine by shopup.com