วิกฤติปัญหาฆ่าตัวตายทั่วโลก ! ชี้ "นักข่าวตัวดี" เจาะลึกรายงานเกินความเหมาะสม ซัดสื่อเกาหลีใต้ รายงานข่าว "ดาราเสียชีวิต" ราวกับเป็น "พิธีมอบออสการ์" เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com

บทความ

วิกฤติปัญหาฆ่าตัวตายทั่วโลก ! ชี้ "นักข่าวตัวดี" เจาะลึกรายงานเกินความเหมาะสม

 

กรณีเกิดเหตุสามีภรรยาทะเลาะวิวาทบริเวณหน้าโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ย่านถนนนนทบุรี 1 อ.เมือง จ.นนทบุรี  ระหว่างมาส่งลูกทั้ง 2 คนเข้าโรงเรียน  โดยพ่อยิงแม่บาดเจ็บอาการสาหัส และยิงตัวเองเสียชีวิตต่อหน้าลูกชายทั้ง 2 คน อายุ 6 ขวบและ 9 ขวบ  เหตุเกิดเมื่อ 25 ธันวาคม 2560 ) นั้น

กองบรรณาธิการ ข่าวเว็บไซต์สุขภาพ  medhubnews.com รายงานว่า ความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว  วันนี้ ( 26 ธันวาคม 2560 )  นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง  ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ว่า  ในระยะเร่งด่วนกรมสุขภาพจิตได้ส่งจิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลจิตเวช  นักสังคมสงเคราะห์ จากโรงพยาบาลศรีธัญญา  สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 ลงเยียวยาจิตใจเด็กทั้ง 2 คน

รวมทั้งแม่ที่อยู่ระหว่างพักรักษาตัวที่รพ.เกษมราษฎร์ ร่วมกับทีมสุขภาพจิตเอ็มแคทของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีแล้ว    ซึ่งมีการประสานการดูแลร่วมระหว่างครูประจำชั้นของโรงเรียนอย่างใกล้ชิด

เพื่อปฐมพยาบาลบาดแผลทางใจของเด็กทั้ง 2 คน  ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาบาดแผลทางจิตใจหรือโรคเครียดสะเทือนขวัญ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อพัฒนาพัฒนาการทางสมอง   บุคลิกภาพ  อารมณ์ การปรับตัว  ขาดสมาธิในการเรียนของเด็ก  พร้อมทั้งให้การดูแลครอบครัวทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดาของเด็กด้วย 

โดยทีมจะวางแผนดูแลในระยะยาวร่วมกับโรงเรียนอย่างเป็นระบบในวันที่ 28 ธันวาคม 2560 นี้ ซึ่งจะประเมินผลกระทบทางจิตใจทั้งนักเรียน ครู และกลุ่มผู้ปกครองด้วย    

ด้าน แพทย์หญิงมธุรดา  สุวรรณโพธิ์  ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์  กทม. กล่าวว่า  เหตุที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อสภาวะจิตใจของเด็กทั้ง 2 คน เนื่องจากอยู่ในเหตุการณ์ และสูญเสียบิดา ซึ่งเด็กทั้ง 2 คนอยู่ในช่วงวัยที่มีพัฒนาการเต็ม สามารถรับรู้เหตุการณ์ได้ทั้งการเสียชีวิตและความรุนแรงในครอบครัว 

ประเด็นที่จิตแพทย์จะเน้นหนักคือการป้องกันผลกระทบรุนแรงทางจิตใจหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญโดยตรงที่พบบ่อย   2  เรื่องคือ  1. โรคเครียดเฉียบพลันหรือโรคเอเอสดี ( Acute Stress Disorder :ASD  )

อาการโรคนี้มีตั้งแต่ ช็อก ตกใจ หวาดผวา มีนงง สับสน  ภาพเหตุการณ์ผุดขึ้นมาซ้ำๆในใจ ฝันร้าย  นอนไม่หลับ กระวนกระวาย  ซึมเศร้า  เด็กอาจรู้สึกผิด รู้สึกว่าตนเองเป็นสาเหตุให้แม่บาดเจ็บหรือไม่สามารถช่วยเหลือพ่อหรือแม่ได้   เด็กจะต้องได้รับการดูแลเยียวยาอย่างเร่งด่วนและใกล้ชิดจากทุกฝ่ายทั้งครู จิตแพทย์ และครอบครัว เพื่อคลี่คลายอาการเครียดให้เด็ก  เกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ และค่อยๆปรับตัวยอมรับกับสภาพเป็นจริงในปัจจุบันได้  ซึ่งทีมจิตแพทย์จะติดตามเป็นเวลา 1 เดือน   โดยอาการจะค่อยๆดีขึ้น  การดูแลในช่วงนี้จะเน้นให้เด็กได้ใช้ชีวิตตามปกติที่สุด คือไปโรงเรียน  เล่นกับเพื่อนๆ  ไม่ต้องให้หยุดเรียน

สำหรับโรคที่ 2 คือโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญหรือโรคพีทีเอสดี(Post-Traumatic Stress Disorder : PTSD)  ซึ่งโรคนี้มีความรุนแรงเรื้อรัง   

มักเกิดภายหลังเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว  3-6 เดือน  ซึ่งเด็กทั้ง2 คนนี้จัดว่ามีความเสี่ยงเกิดโรคนี้เพราะอยู่ในเหตุการณ์  โรคนี้มีลักษณะอาการสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างนี้  คือ 1.นึกถึงเหตุการณ์เก่าๆ  2. ไม่ยอมไปโรงเรียน หลีกเลี่ยงการดูข่าวประเภทเดียวกัน 

และ 3. ฝันร้าย   โรคนี้เมื่อเกิดขึ้นในวัยเรียนจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมอง  ทำให้เด็กขาดสมาธิในการเรียน  มีปัญหาในการจำอาจมีบุคลิกภาพเก็บตัว    อารมณ์อาจซึมเศร้า  ขาดความสามารถในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นและการปรับตัวในอนาคตได้ 

“2 ประเด็นที่ต้องระมัดระวังและขอความร่วมมือกับทุกฝ่ายรวมทั้งเพื่อนๆนักเรียนด้วยคือ  ไม่ควรถามความรู้สึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กทั้ง 2 คน

เนื่องจากจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กคิดถึงเหตุการณ์ขึ้นมาซ้ำอีก   สิ่งที่ควรทำคือชวนเด็กเล่น ชวนพูดคุยในเรื่องที่ทำให้เด็กสนุกสนานและให้กำลังใจ จะช่วยให้เด็กมีพลังใจ จิตใจเข้มแข็งและก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ได้   และไม่ควรตำหนิผู้เสียชีวิต”  แพทย์หญิงมธุรดากล่าว

อย่างไรก็ตาม กระแสการฆ่าตัวตายนั้นได้มีการวิพากษ์วิจารณ์สื่อมวลชนจำนวนมากที่นำเสนอภาพความรุนแรง  เช่น ในเกาหลีใต้ก็มีการออกคู่มือจรรยาบรรณการรายงานข่าวฆ่าตัวตาย โดยสมาคมผู้สื่อข่าวเกาหลีใต้

เช่น การไม่ทำให้การฆ่าตัวตายดูเป็นเรื่องสวยงาม ( romanticize) ไม่พูดถึงสถานที่หรือวิธีการฆ่าตัวตาย รวมถึงงดการใช้คำว่าฆ่าตัวตายในพาดหัวข่าว และไม่ทำให้การฆ่าตัวตาของดาราเป็นข่าวหลักของวัน

ส่วน Media Us ก็เคยวิจารณ์การนำเสนอข่าวของสื่อเกาหลีใต้ไว้เมื่อว่าสื่อมักจะนำเสนอเรื่องดาราเสียชีวิต "ราวกับเป็นพิธีมอบรางวัลออสการ์" แต่เฮยุนกังก็เปิดเผยว่าในช่วงหลังๆ สื่อเกาหลีใต้ก็รายงานข่าวเรื่องการเสียชีวิตของดาราดีขึ้น

และมีกรณีที่สื่อวิพากษ์วิจารณ์กันเองรวมถึงมีการล่ารายชื่อเอาผิดสื่อที่รายงานเรื่องดาราเสียชีวิตในแบบใส่สีตีไข่กระตุ้นเร้าอารมณ์แบบไม่มีความรับผิดชอบ

03 ธันวาคม 2561

ผู้ชม 2509 ครั้ง

Engine by shopup.com