แพทย์เจ้าของไข้ "เสก โลโซ" ร็อกเกอร์ดัง ยัน เสกป่วยจริง เตือนระวังกลุ่ม "ผู้ป่วยไบโพลาร์" รุนแรงกว่า "ซึมเศร้า" ห้ามขาดยาเด็ดขาด เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com

บทความ

แพทย์เจ้าของไข้ "เสก โลโซ" ร็อกเกอร์ดัง ยัน เสกป่วยจริง เตือนระวังกลุ่ม "ผู้ป่วยไบโพลาร์" รุนแรงกว่า "ซึมเศร้า" ห้ามขาดยาเด็ดขาด

โลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำให้คนเราเกิดความเครียดได้ง่าย และนำมาซึ่งโรคต่างๆ ทางจิตเวช อย่างเช่น โรควิตกกังวล ซึมเศร้า

ซึ่งพวกเราอาจพอคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว ไม่เหมือนอย่างโรคไบโพลาร์ ซึ่งแม้จะไม่ได้เกิดจากความเครียดโดยตรง แต่ความเครียด การดื่มแอลกอฮอร์  และ สิ่งแวดล้อม ก็เป็นปัจจัยกระตุ้น

กองบรรณาธิการ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพของคนรุ่นใหม่ รายงานว่า  จากกรณีที่ศาล จ.นครศรีธรรมราช อนุมัติหมายจับนายเสกสรรค์ สุขพิมาย หรือเสก โลโซ ร็อกเกอร์ดัง ที่ยิงปืนขึ้นฟ้า 10 นัด หลังเล่นคอนเสิร์ตภายในวัดเขาขุนพนม อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช

ส่วนผลตรวจหาสารเสพติดนั้น พบว่ามีสารของยาไอซ์ ซึ่งมีนายแพทย์ จ.เป็นจิตแพทย์โดยตรงท่านหนึ่งสงวนนาม  แต่น่าจะเป็นแพทย์เจ้าของไข้ของเสก ไม่ใช่แพทย์ทั่วไป ที่ออกมาให้ข่าวตอนนี้บ่อยๆ หรือ ออกรายการให้ความคิดเห็น  

ซึ่งได้ตอบว่า "คุณเสกเป็นไบโพลาร์" จริงๆ  โดยต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งเอกสารใบรับรองแพทย์ เพื่อเป็นการยืนยันว่าป่วยจริง" 

นายแพทย์ จ.กล่าวว่า "จากการตรวจอย่างละเอียด ทั้งการซักถาม สังเกตอาการ ตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การช็อตด้วยไฟฟ้า พบว่าคุณเสกป่วยจริงๆ

ซึ่งตนเป็นจิตแพทย์มีหน้าที่ทำตามคำสั่งตามกฏหมาย เมื่อมีทนายความดำเนินการตามกระบวนการ ก็ต้องรับรองตามจริง ซึ่งหากไม่มีคดีความ เรื่องผู้ป่วยจิตเวช ถือเป็นความลับตามกฏหมาย จิตแพทย์ห้ามนำความลับสู่สาธารณะ"  

"โรคไบโพล่าร์ ( Bipolar disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้วเป็นโรคที่มีอาการผิดปกติที่สำคัญทางอารมณ์ รุนแรง ไม่ใช่อารมณ์ปกติ

แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนรบกวน การทำงานของจิตใจและความสามารถด้านต่าง ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของสมอง ภาวะโรคจะครอบงำบุคคลนั้น จนทำให้สูญเสียความเป็นคนเดิมไป

อาการซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ทั้งใน โรคไบโพล่าร์ และโรคอารมณ์เศร้า แต่ในโรคไบโพล่าร์จะรุนแรงกว่า มีการสูญเสียความสามารถในการทำงาน สังคม และครอบครัว

ทั้งนี้ ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์  มักเกิดอาการครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเรียน และมีประวัติเป็นๆ หายๆ หลายครั้งมีการเคลื่อนไหว และความคิดอ่านช้าลงนอนมาก และรับประทานอาหารมากขึ้นขาดกำลังใจ มองว่าตนเองไร้ค่าหรือไม่มีประโยชน์

นอกจากนี้ มักมองโลกที่เคยสดใสกลายเป็นมืดมน ขาดความเพลิดเพลิน และไม่ร่าเริงมีอาการวิตกกังวลรุนแรงร่วมด้วย มีอาการหลงผิดเกิดขึ้นร่วมกับอาการทางอารมณ์ มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มองว่าบุคคลอื่น ไม่สนใจหรือ ไม่เป็นมิตร

มีประวัติการติดสารเสพติด หรือ พฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย มีประวัติโรคไบโพล่าร์ หรือโรคอารมณ์เศร้าในครอบครัว

สำหรับ การรักษา แพทย์ หรือ ผู้ปฏิบัติงานจิตเวช จะให้ยาและคำแนะนำเกี่ยวกับโรคและยา รวมถึงการดูแลตนเองในด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการใน 2-8 สัปดาห์

และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนก่อนป่วย แต่ในบางรายอาจต้องให้ทำจิตบำบัดร่วมด้วยเพื่อขจัดความเครียด และลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียด และจะส่งต่อไปในโรงพยาบาลทุติยภูมิต่อไป

รวมทั้ง ห้ามขาดยา และ การรักษาควรประกอบด้วยการใช้ยา การดูแลด้านจิตใจ การปรับพฤติกรรมตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค และการรักษากับผู้ป่วยและญาติ" นายแพทย์ จ.กล่าว

www.medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ ของคนรุ่นใหม่

"Health News Leader Thailand and Health Data Science" 

https://www.facebook.com/Dr.sasook

03 มกราคม 2561

ผู้ชม 3562 ครั้ง

Engine by shopup.com