ผลวิจัย บุหรี่ไฟฟ้าอังกฤษ "สาธารณสุขอังกฤษ" แย้งข้อกล่าวหา “หมอประกิต” ให้ข่าวผลวิจัยบุหรี่ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง
ผลวิจัย บุหรี่ไฟฟ้าอังกฤษ "สาธารณสุขอังกฤษ" แย้งข้อกล่าวหา “หมอประกิต” ให้ข่าวผลวิจัยบุหรี่ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง
แม้ประชาชนชาวไทยที่เข้าถึงเทคโนโลยี จะทราบกันดีว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” มีผลวิจัยที่ถูกต้องอย่างไง และ บุหรี่มวน มีโทษ และ พิษภัย ทำลายสุขภาพ ส่งผลกระทบกับชีวิตเราอย่างไรบ้าง ?
รวมทั้งบุหรี่มวน มีสารก่อมะเร็งกี่ชนิด ซึ่งบุหรี่มวนมีความอันตราย และ เราเน้นย้ำตลอดว่า อย่าเข้าใกล้เด็ดขาดเพื่อสุขภาพของคุณเอง
แต่ช่วงวันหยุดที่ผ่านมา เกิดข่าวที่ออกมาแบบงงๆ ราวกับว่าคนไทยทั้งหมด ยังไม่มีอินเตอร์เน็ต หรือ อ่านภาษาอังกฤษไม่ออก ดูถูกภูมิปัญญาคนไทย แบ่งชนชั้นกันอย่างมาก
กรณี มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวหา พร้อมพาดพิงถึง ผลการศึกษาของสาธารณสุขอังกฤษ ( Public Health England: PHE ) ไม่มีความน่าเชื่อถือ และมีผลประโยชน์ทับซ้อน
ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพของคนรุ่นใหม่ และ เพจ sasook รายงานว่า นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่าย ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ลาขาดควันยาสูบ End Cigarette Smoke Thailand (ECST)” และเฟสบุ๊คเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร”
ระบุว่า “PHE รับทราบเรื่องนี้ และ ได้ส่งอีเมลล์มายังเรายืนยันว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีความปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน พร้อมชี้แจงเพิ่มเติมว่ามาตรการควบคุมยาสูบในประเทศอังกฤษได้รับการยอมรับว่าเป็นแผนงานที่ดีที่สุดในยุโรป
โดยแผนงานฯ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี และแนวทางใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมและจัดการกับความเสี่ยงไปพร้อมกัน และพร้อมเดินทางมาชี้แจงกับรัฐสภาของไทยหากได้รับคำเชิญ”
เนื้อความในอีเมลล์ จาก นายมาร์ตินดอคเรลล์ หัวหน้างานควบคุมยาสูบ สาธารณสุขอังกฤษ ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านบริหารของกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ ( Department of Health ) ระบุว่า
ข้อสรุปว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่ 95% เป็นการเปรียบเทียบกับควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของบุหรี่มวน
ซึ่งผลการศึกษาหลายฉบับชี้ให้เห็นตรงกันว่าสารพิษและความเสี่ยงของการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีน้อยมาก ผลวิจัยล่าสุดของ ดร. ไลอ้อน ชาแฮบที่ได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารด้านการแพทย์ Annals of Internal Medicine ศึกษาผลกระทบระยะยาวของการใช้บุหรี่ไฟฟ้าสรุปสอดคล้องกันว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงต่อมะเร็งเพียง 0.5%
เมื่อเทียบกับบุหรี่ปกติ หรือใกล้เคียงกับการเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทน เช่น แผ่นแปะนิโคติน ผลการศึกษาเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายองค์กรต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าที่ออกมายอมรับด้วยว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยลดความเสี่ยงจากพิษภัยของบุหรี่ได้
กรณีที่ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ กล่าวอ้างว่ารายงานของ PHE มีความผิดพลาดนั้น PHE ยืนยันในหลักฐานว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยลดความเสี่ยงจากพิษภัยของบุหรี่ได้ และมีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่จัดการได้
ก่อนหน้านี้เคยมีกรณีคล้ายคลึงกันเกิดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อคณะกรรมาธิการด้านสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุและและการกีฬา รัฐสภาออสเตรเลียทำประชาพิจารณ์ ( Public Hearing ) เพื่อหามาตรการในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า
และมีนักรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับรายงานของ PHE ทำให้สาธารณสุขอังกฤษต้องมีคำชี้แจงไปยังรัฐสภาของออสเตรเลียต่อกรณีดังกล่าว
โดยยืนยันว่าประเทศอังกฤษมีมาตรการควบคุมยาสูบแบบครบวงจรและสอดคล้องกับ MPOWER ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กรณีข้อสังเกตเรื่องระเบียบการทำวิจัยของ PHE ใน British Medical Journal (BMJ) เป็นเพียงการรายงานข่าวทางสื่อมวลชน
ไม่ใช่เป็นข้อสรุปจากการศึกษาเอกสารทางวิชาการต่างประเทศ ( Peer reviewed study ) และยังมีการอ้างว่าผู้ทำวิจัยของ PHE ได้รับการสนับสนุน โดยบริษัทยาสูบ
ซึ่งต่อมา BMJ หยุดพูดถึงข้อกล่าวหาดังกล่าว และได้ตีพิมพ์แก้ไขข้อกล่าวหาที่เป็นเท็จดังกล่าวเผยแพร่ใน The Observer, The Times และ CBC
ทั้งนี้ PHE ยืนยันว่าผู้ทำการวิจัยได้ทำหมายเหตุชัดเจนว่าตัวเลขประมาณการว่า “บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่ทั่วไป 95%” เป็นการสรุปจากการศึกษาเอกสารวิชาการที่ได้รับการตรวจทานโดยผู้เชี่ยวชาญ ( peer-reviewed ) เกี่ยวกับความปลอดภัยของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียได้เผยแพร่เอกสารฉบับดังกล่าวเพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าไปศึกษาได้
“สาธารณสุขอังกฤษได้ส่งข้อมูลจำนวนมากมาให้เราเพื่อยืนยันถึงการศึกษาและนโยบายลดอันตรายจากยาสูบของอังกฤษ และยังบอกด้วยว่าหากได้รับการเชิญจากรัฐสภาไทย ก็ยินดีที่จะเดินทางมาประเทศไทยเพื่อให้ข้อมูลจะได้เป็นประโยชน์ต่อการวางนโยบายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศเรา
เหมือนกับที่ได้เดินทางไปแชร์ข้อมูลกับหลายๆ ประเทศมาแล้วเช่นเกาหลีใต้ และไอร์แลนด์เครือข่ายฯ จะส่งจดหมายฉบับนี้พร้อมกับเอกสารของทาง PHE ไปให้กับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป” นายมาริษ กล่าวทิ้งท้าย
นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่าย ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ลาขาดควันยาสูบ End Cigarette Smoke Thailand (ECST)” ลงสื่อมวลชนที่ศึกษางานวิจัยจากต่างประเทศ
ขณะที่สังคมโซเชี่ยลมีเดีย ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติของ "หมอ" บางท่าน ( แค่บางท่าน ) ว่าแปลกประหลาด มองประชาชนต้องเชื่อหมอเราเท่านั้น
แม้กระทั่งผลวิจัยของโลกที่มีการศึกษาในระดับนานาชาติที่ยืนยันว่าจริง หรือ การออกกฏห้ามชาร์จมือถือในที่ทำงานก็สร้างความตลกไปทั่วประเทศ
เพราะโลกเรากำลังเข้าสู่สังคมดิจิตอล เป็นยุคสมัยของหมอรุ่นใหม่ๆ ที่เข้ามาบริหารระบบสุขภาพได้แล้ว
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
เครดิตภาพจาก เพจ บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร
27 พฤศจิกายน 2565
ผู้ชม 213713 ครั้ง