"โรคเส้นเลือดแดงใหญ่แตกเซาะ" ผู้ป่วยเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่จะรอดชีวิต แพทย์เตือนหมั่นสังเกตุ "สัญญาณมรณะ" เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com

บทความ

"โรคเส้นเลือดแดงใหญ่แตกเซาะ" ผู้ป่วยเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่จะรอดชีวิต แพทย์เตือนหมั่นสังเกตุ "สัญญาณมรณะ"

MED HUB NEWS - ร่างกายของมนุษย์มีหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Aorta) เป็นหลอดเลือดแดงหลักที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปสู่อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com  เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ รายงานว่า จากความผิดปกติที่มักเกิดขึ้นกับหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าคือการขยายตัว (โป่งพอง) ของหลอดเลือดจนกลายเป็นถุงขังเลือดไว้

เมื่อหลอดเลือดมีสภาวะโป่งพองมากขึ้นก็จะมีความเสี่ยงที่ หลอดเลือดจะแตกออกและอาจเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้ ซึ่งโดยเฉลี่ยจะมีผู้ป่วยเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่จะรอดชีวิตหลังจากเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแตก

โรคเส้นเลือดแดงโป่งพองแตกเซาะ หรือ Emergency Aneurysm เกิดจากผนังของเส้นเลือดแดงบางส่วนแตกแต่ไม่ทะลุแตกออกมาข้างนอก ไม่มีอาการแสดงใด ๆ เมื่อมีอาการหมายความว่าเลือดได้แตกทะลุออกมาแล้ว

ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก ดังนั้นเมื่อมีอาการของโรคดังกล่าว สิ่งที่ควรปฏิบัติคือเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีภายใน 48 ชั่วโมง โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และใช้เครื่องมือเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง

ผู้ป่วยภาวะเส้นเลือดแดงโป่งพองแตกเซาะมีกลุ่มอายุที่น้อยลง จากเดิมส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไปจนถึง 60-70 ปี แต่ปัจจุบันพบผู้ป่วยอายุน้อยกว่านั้น  สถิติพบผู้ป่วยชายอายุเพียง 29 ปี

นอกจากนี้ กองบรรณาธิการ medhubnews.com  รายงานว่านายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์  ระบุถึง ภาวะร่างกายคนเรามีหลอดเลือดแดงใหญ่  เป็นหลอดเลือดแดงหลักที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปสู่อวัยวะต่างๆ

โดยความผิดปกติที่มักเกิดขึ้นกับหลอดเลือดแดงใหญ่ คือ การขยายตัว (โป่งพอง)ของหลอดเลือดจนกลายเป็นถุงขังเลือดไว้ และเมื่อหลอดเลือดมีสภาวะโป่งพองมากขึ้น จะมีความเสี่ยงที่หลอดเลือดจะแตกออก ที่เรียกว่า เส้นเลือดแดงโป่งพองแตกเซาะ

ถือเป็นภาวะที่ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะมีโอกาสทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ผู้ป่วยบางรายอาจเสียชีวิตที่บ้านหรือเสียชีวิตในขณะเดินทางมาโรงพยาบาลรวมถึงในบางครั้งอาจได้รับการวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคอื่นทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

เส้นเลือดแดงใหญ่แตกเซาะ อาจทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะกดเบียดของน้ำหรือเลือดในช่องเยื่อหุ้มหัวใจภาวะที่อวัยวะต่างๆขาดเลือดไปเลี้ย ซึ่งเป็นผลจากการแตกเซาะการฉีกขาดของผนังด้านในของเส้นเลือดแดงใหญ่บางส่วน ทำให้เลือดไหลเซาะเข้าไปในผนังของเส้นเลือดภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่แตกเซาะพบในผู้ป่วยที่มีอายุเฉลี่ย 50 ถึง 60 ปีขึ้นไป

ปัจจุบันพบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ น้ำหนักเกิน และพันธุกรรม

ด้าน แพทย์หญิงวิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรงทันทีเหนื่อย หายใจไม่ทัน บางรายอาจมีอาการปวดหลังหรือปวดท้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเส้นเลือดที่มีการแตกเซาะ

นอกจากนี้อาจหมดสติหรือมีภาวะเส้นเลือดหัวใจขาดเลือดแนวทางการวินิจฉัยที่ดีและแม่นยำที่สุด คือ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซึ่งต่างจากการเอกซเรย์ปอดทั่วไป เพื่อค้นหาตำแหน่งของเส้นเลือดที่มีการแตกเซาะ

รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น การปริแตกหรือการแตกเซาะเข้าไปในเส้นเลือดของอวัยวะต่างๆ

สำหรับการรักษาเส้นเลือดแดงใหญ่แตกเซาะควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วโดยการผ่าตัด มิฉะนั้นผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายถึงเสียชีวิต

โดยแพทย์จะคำนึงถึงตำแหน่งขนาดของเส้นเลือดรวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่แนวทางการรักษาที่ถูกวิธีและรักษาชีวิตผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News   

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

23 ธันวาคม 2565

ผู้ชม 5979 ครั้ง

Engine by shopup.com