ปักหมุด "ข้อสั่งการ" รัฐมนตรีสาธารณสุข กำหนดทิศทาง "ปฏิรูประบบสุขภาพ" ความคาดหวัง ที่อยากเห็นเป็น "รูปธรรม"
ปักหมุด "ข้อสั่งการ" รัฐมนตรีสาธารณสุข กำหนดทิศทาง "ปฏิรูประบบสุขภาพ" ความคาดหวัง ที่อยากเห็นเป็น "รูปธรรม"
ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ www.medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพของคนรุ่นใหม่ และ เพจ sasook รายงานว่า เมื่อช่วงที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ได้ระดมความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูง ทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำ สำนักปลัดฯ อธิบดีทุกกรม เรื่องทิศทางการปฏิรูประบบสุขภาพ
ทั้งนี้ ผลจากการประชุม แม้ว่าหลายๆ ฝ่ายมองว่าเป็นเพียง นามอธรรม ซึ่ง นามธรรม ( abstraction ) หมายถึงความคิด ความเห็น หรือ ข้อความ กระบวนการคิดที่ไม่มีรูปร่าง เป็นความคิด ปรุงแต่งด้วยจิต และ อารมณ์
อย่างก็ตาม เราขอให้ติดตามการทำงาน “ทิศทางการปฏิรูประบบสุขภาพ” ที่ได้นานๆ จะได้เห็น นับเป็น "ปรากฏการณ์สาธารณสุข” ที่สังคมมองเห็นการขยับตัวของ “ผู้บริหารสาธารณสุข” อีกครั้ง
แม้ว่า เรื่องนี้อาจส่งผลในแง่จิตวิทยา ความคาดหวัง ในสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะเกิดในอนาคตหรือไม่ ? ไม่มีใครทราบ แต่ยังดีที่ความคาดหวัง ต่อทิศทางการปฏิรูประบบสุขภาพ และ เชื่อมั่นว่าน่า จะเป็นอย่างที่คิดไว้ และต้องเกิดขึ้นแน่ๆ ในยุคที่ รมต.เก่งขนาดนี้
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร
สำหรับ ข้อสรุปทิศทางการปฏิรูป มีดังนี้ 1 ระบบบริหารด้านสุขภาพ โดยมีคณะกรรมการดูแลระดับชาติ คือ นโยบายสุขภาพแห่งชาติ ( National Health Policy Board ) เพื่อกำหนดทิศทาง/นโยบายหลักด้านสุขภาพ เชื่อมโยง/บูรณาการ
นำนโยบายสู่การปฏิบัติ พร้อมกำกับติดตามและประเมินผล และคณะกรรมการนโยบายสุขภาพระดับเขตสุขภาพ ทำหน้าที่บูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วนในพื้นที่
นพ.ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข
2 ระบบริการ และคุ้มครองผู้บริโภค เน้นการมีส่วนร่วม จากภาคประชาสังคมออกแบบระบบบริการปฐมภูมิให้เข้มแข็ง และ คุ้มครองผู้บริโภค
โดยเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ รองรับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
3 ข้อมูลสารสนเทศ และกำลังคน โดยนำเทคโนโลยีมาพัฒนาโรงพยาบาล รองรับสังคมดิจิตอล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่ทันสมัยสะดวกรวดเร็ว รวมทั้งการพัฒนา และกระจายกำลัง
4 การปฏิรูประบบการเงินการคลัง โดยจัดชุดสิทธิประโยชน์หลัก เพิ่มความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ จัดหาแหล่งรายได้เพิ่มเติม เป็นต้น
โดยแนวคิด และ ทิศทางการปฏิรูป ทางรัฐมนตรี สัญญาว่าจะเร่งเดินหน้าทันที บางเรื่อง ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นการนำสิ่งที่มีมาปรับ
และจะต้องทำการ รับฟังความคิดเห็นประชาชน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ให้เข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งบูรณาการ กับ คณะปฏิรูปอื่นด้านสังคมที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ
อยากฝากไปยัง ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ด้วยว่า การรับฟังความคิดเห็นประชาชน และ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน บุคลากรด้านสาธารณสุขทุกวิชาชีพ เป็นสิ่งสำคัญ บางครั้งสะท้อนผ่านมาทางสื่อมวลชนที่มีความอิสระ ไร้การล็อบบี้จากหน่วยงานภายใน สธ.เอง
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัด สธ.
ทั้งหมดคือข้อสั่งการของ รัฐมนตรีสาธารณสุขไทย ที่ทางผู้บริหาร สธ. สำนักปลัดฯ และ อธิบดี จะต้องเร่งทำงาน นำเอาความคาดหวังของประชาชนไปทำให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยประชุม มอบหมาย ติดตามการทำงานทุกวัน
เนื่องจากบางหัวข้อ มีการประชุม มอบหมายงานจริง แต่พอเลิกประชุมก็ไม่มีอะไรคืบหน้า
เพราะนโยบายบางอย่าง เห็นทาง "รัฐมนตรีสาธารณสุข" สั่งการไปนานแสนนาน ก็ยังไม่เกิด โดยอ้างเหตุผล ซ้ำ ๆ เดิมๆ คือ “คนไม่พอ ขาดบุคลากร” !
งานนี้เริ่มจะทราบแล้วว่า เหตุใด งานจึงไม่เดิน เพราะผ่านมา 4 เดือน ท่าน รมต.ประเมินผลงานของอธิบดี ในแต่ละกรมอย่างไรบ้าง ถ้าเห็นว่าจะต้องทำอะไรสักอย่าง ท่านต้องเด็ดขาดไปเลย
.....นายแพทย์ ที่อยู่ใน ตำแหน่งผู้ตรวจราชการ ที่เก่งๆ ยังมีอีกเยอะ ลองสลับกันบ้าง น่าจะดี เพราะสังคมเริ่มจะรู้ว่าการทำงานของ สธ.มีนโยบายดี แต่พอลงไปในดูในภาคปฎิบัติของส่วนกลางงาน พบว่าไม่มีความคืบหน้าใดๆ
นี่คือ "จุดอ่อน" ที่ทำให้ "รัฐมนตรีสาธารณสุข" ถูกสังคมมองว่าไม่มีฝีมือ และ ท่านก็เป็นด่านแรกที่ประชาชนนึกถึง ทั้งๆ ท่านก็สั่งการทำงานอย่างเข้มข้น
ฝากไปทาง โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี ท่าน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล กระทรวงสาธารณสุข และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ช่วยตรวจงานด่วนด้วยค่ะ...จะได้ไม่เกิดปัญหาอีก !
และขอให้ชาวสาธารณสุข แชร์ลิ้งค์นี้ให้ถึงสำนักนายกรัฐมนตรี.....ค้นหาช่องทางต่างๆ ทั้งอีเมล์ เฟสบุ๊ค ไลน์ ที่จะไปถึงจริงๆ
โดยเรามีทีมจิตอาสาช่วยกระจายข่าวไปทุกๆ เพจของจังหวัด และ ส่งตรงไปทางไลน์ให้ผู้บริหารอ่านโดยตรง เพื่อความสำเร็จของการปฏิรูประบบสุขภาพไทย !
www.medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ ของคนรุ่นใหม่
"Health News Leader Thailand and Health Data Science"
22 มกราคม 2561
ผู้ชม 2633 ครั้ง