ประชาชน หากพบ “ผู้มีความผิดปกติทางจิต 5 อาการ ให้แจ้ง 1669 หรือ 191 นำส่งรักษา ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต 2551
ประชาชน หากพบ “ผู้มีความผิดปกติทางจิต 5 อาการ ให้แจ้ง 1669 หรือ 191 นำส่งรักษา ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต 2551
จากกรณีที่มีข่าวชายวัย 61 ปี ก่อเหตุใช้ไขควงแทงนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งรวมทั้งชาวบ้าน ระหว่างเดินสวนกันในซอยนาทอง 3 ย่านถนนรัชดา กทม.เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2561
ภายหลังถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้ ชายคนดังกล่าว อ้างว่าทำไปเพราะเกิดความหวาดระแวง กลัวถูกทำร้ายเวลามีคนเดินเข้ามาใกล้หรือเดินสวนกันนั้น
ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ และ เพจ sasook รายงานว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)สุขภาพจิตพ.ศ. 2551
กล่าวคือมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 ลักษณะอาการปรากฎออกมา ดังต่อไปนี้ 1.หูแว่ว 2. เห็นภาพหลอน 3. หวาดระแวงไร้เหตุผล 4. คิดว่าตนเองมีความสามารถเหนือคนอื่น เช่น เป็นบุคคลสำคัญ เป็นเทพเทวดา
หรือ 5. แต่งกายแปลกกว่าคนปกติ ร่วมกับมีพฤติกรรมที่มีแนวโน้มจะเป็นอันตรายทั้งต่อตนเองผู้อื่นและสังคมได้แก่ พยายามฆ่าตัวตาย ทำร้ายตนเอง หรือทำร้ายคนอื่น
หากประชาชนพบเห็นผู้ที่มีลักษณะอาการและพฤติกรรมที่กล่าวมา ขอให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ใกล้ตัว หรือที่สายด่วนการแพทย์ฉุกเฉิน1669 หรือสายด่วนตำรวจ 191
เพื่อให้เจ้าหน้าที่นำตัวเข้ารับการบำบัดรักษาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้อย่างมีมาตรฐานและปลอดภัย เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยและสังคมด้วย
ตามกฎหมายฯ ในการนำตัวผู้มีความผิดปกติทางจิตที่มีภาวะอันตรายต่อผู้อื่นและตนเอง ให้ส่งรักษาในโรงพยาบาลภาครัฐที่อยู่ใกล้บ้าน โดยจะปฏิบัติการเป็นทีมร่วมกันทั้งบุคลากรด้านสุขภาพจิตที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.สุขภาพจิต ตำรวจหรือฝ่ายปกครอง
เช่น นายอำเภอ บุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินรวมถึงอาสาสมัคร มูลนิธิกู้ชีพกู้ภัยที่เป็นเครือข่ายใน ระบบการแพทย์ฉุกเฉินแพทย์ และพยาบาลจะทำการพิจารณาว่าต้องส่งตัวไปในสถานบำบัดรักษาผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตตามกฎหมายฉบับนี้หรือไม่
ปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนเป็นสถานบำบัดรักษา 96 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วยโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต 19 แห่ง โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปจำนวน 77 แห่งรวมทั้งในกทม.ด้วย 3 แห่งคือ โรงพยาบาลราชวิถี วชิรพยาบาล และโรงพยาบาลรามาธิบดี
สำหรับ ในกรณีของชายรายนี้ที่ก่อเหตุใช้ไขควงทำร้ายคนอื่นนั้น เมื่อเข้าสู่สถานบำบัดรักษาแล้ว ทีมสหวิชาชีพ ซึ่งเป็นคณะกรรมการบำบัดรักษา ประกอบด้วยอย่างน้อย 5 สาขา
ได้แก่ จิตแพทย์ แพทย์ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก หรือ นักสังคมสงเคราะห์ และ นักกฎหมาย ต้องทำการตรวจประเมินวินิจฉัยยืนยันอาการความผิดปกติทางจิตร่วมกัน
หากพบว่ามีอาการป่วยทางจิต ก็จะได้รับการบำบัดรักษาให้หายหรือบรรเทาอาการจนไม่เป็นอันตรายต่อตนเองและสังคม หลายโรคหากได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่มมีอาการมีโอกาสหายขาดได้
และเมื่อบำบัดจนพ้นจากภาวะอันตรายแล้ว ผู้ป่วยก็จะเข้าสู่ระบบการดูแลปกติคืออยู่ในครอบครัวหรืออยู่ที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในกรณีเป็นผู้ไม่มีญาติ ไม่มีที่พักอาศัย
ส่วนในกรณีที่เป็นผู้ที่ก่อคดีทำร้ายร่างกายผู้อื่นด้วย ก็จะได้รับการประเมินว่ามีศักยภาพในการต่อสู้คดีหรือไม่ตามกระบวนทางกฎหมาย
ทั้งนี้ ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตมักจะพบบ่อยใน 9 กลุ่มโรคทางจิตเวช ได้แก่ 1.โรคจิตเภท ( Schizophrenia) 2. โรคอารมณ์แปรปรวน (Bipolar disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว 3.โรคซึมเศร้า (depressive disorder)
4. โรคสติปัญญาบกพร่อง ( Mental retardation) 5. โรคสมองเสื่อม ( Dementia) 6.ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ ( Alcohol intoxication) 7. ภาวะเพ้อจากการถอนสุรา( Delirium tremens) พบในกลุ่มที่ติดเหล้าและหยุดดื่มอย่างกะทันหัน
8. โรคลมชัก ( Epilepsy ) ที่มีอาการทางจิตร่วมด้วย และ 9.ผู้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personal disorder) เช่น เกเร ขาดคุณธรรม สาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิดจากการขาดยาและใช้สุราหรือสารเสพติดร่วมด้วย
จากสถิติในรอบ 6 ปีตั้งแต่พ.ศ. 2555-2561มีผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับแจ้งและออกปฏิบัติการช่วยเหลือตามระบบสายด่วนการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 รวมทั้งหมด 79,864 ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 11,266 ครั้งในปี 2551เป็น 15,697 ครั้งในปี 2560
02 มกราคม 2562
ผู้ชม 3865 ครั้ง