กองความเสมอภาคทางเพศ สะดุ้ง ! “ดร.เสรี” ซัด “เหยียดเพศ” เป็นแค่ตัวหนังสือ
กองความเสมอภาคทางเพศ สะดุ้ง ! “ดร.เสรี” ซัด “เหยียดเพศ” เป็นแค่ตัวหนังสือ
หลังจาก กองบรรณาธิการ ข่าวเว็บไซต์ Medhubnews.com และ เพจ sasook รายงานว่า รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักพูด และ พิธีกรชื่อดัง กล่าวบนเวทีในงาน Thailand LGBT Expo มหกรรมของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ
ซึ่งจัดเมื่อขึ้นวันที่ 25-28 มกราคมที่ผ่านมา ณ อาคาร 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี รศ.ดร.เสรี ระบุตอนหนึ่งว่า แม้ว่าเราจะมี พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ แล้ว
แต่ในทางปฏิบัติ ทั้งเพศชาย เพศหญิง หรือ ความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นเพศ ที่มีการแสดงออกที่แตกต่าง จากเพศโดยกำเนิด
เช่น เกย์ กะเทย ทอม ดี้ กลับยังไม่ได้การยอมรับ ยังเป็นเพียงแค่ตัวหนังสือในกฎหมายเท่านั้น
ขณะที่ รศ.ดร.เสรี ยังหวังว่างาน Thailand LGBT Expo จะใหญ่ขึ้น จนเป็น “ไทยแลนด์ เกย์ เลสเบี้ยน และ LGBT ฮับ” หรือ ศูนย์กลางความหลากหลายทางเพศนานาชาติ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การเหยียดเพศที่กลับมาเป็นกระแสอีก อาจจะเป็นเพราะว่าในช่วงนี้มีข่าวสารออกมามากมาย ซึ่งดูจากการตั้งกระทู้ และ การแสดงความคิดเห็น
เช่น ข่าวการเหยีดเพศ เกลียดตุ๊ดเกลียดกะเทย ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีข่าวการฆาตกรรมคนที่เป็นตุ๊ด อาศัยอยู่ในละแวกบ้านเดียวกันจนเสียชีวิต
ส่วนใหญ่อยากให้ประหารชีวิตเลย รวมถึงการเหยียดเพศตามสื่อต่างๆ เช่น ละคร ภาพยนตร์ แม้ไม่เจตนา
เพราะเป็นละครเพื่อความบันเทิง เช่น Club Friday The Series 9 "รักปลอมปลอม" แต่คำพูดที่ฉายซ้ำๆ วนไป วนมา ที่เห็นๆ กัน คือบทบาทของ รถเมล์ คะนึงนิจ กับ ปอย ตรีชฎา ที่มักจะมีคำพูดแรงๆ
เช่น เธอก็แค่กะเทย เธอไม่ใช่หญิงแท้ จนทำให้ ปอย ตรีชฎา ต้องโต้ตอบว่า คำก็กะเทย สองคำก็กะเทย ซึ่งจะของแท้ หรือ ของเทียม ทุกคนล้วนมีหัวใจ
ล่าสุด ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว นำโดย นางสาวสิริวรรณ เย็นตั้ง ผู้อำนวยการกองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการซักซ้อมความเข้าใจในการคุ้มครองป้องกันมิให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
โดยมี คณะกรรรมการ และคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็น หาแนวทางปฏิบัติ ปัญหา และข้อเสนอแนะต่อระเบียบฯ การยื่นคำร้อง การพิจารณา และการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ พ.ศ. 2559
ตลอดจนทำความเข้าใจเพื่อหาทางออกร่วมกันจากการประสบปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานมาให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมายต่อไป
นางสาวสิริวรรณ กล่าวว่า กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะกลไกรัฐที่มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ในการป้องกันคุ้มครอง และเยียวยาบุคคลทั้งหญิง และชาย
รวมทั้งกลุ่มผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด จากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ นับแต่ พ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 สค. ได้ปฏิบัติงานตามภารกิจใน พ.ร.บ. ดังกล่าว
โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิ จัดทำ ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ( พม.) ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำร้อง การพิจารณา และการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558
เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ วิธีปฏิบัติ และแนวทางในการปฏิบัติงานตามกฎหมาย โดยเฉพาะการดำเนินงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ( วลพ.)
ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการทำหน้าที่วินิจฉัยคำร้องการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ซึ่งได้พบปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ จากการปฏิบัติงาน จึงนำประเด็นข้อขัดข้องดังกล่าวมาทบทวน ทำความเข้าใจเพื่อหาทางออกร่วมกันในวันนี้
การจัดประชุมในครั้งนี้ มีทีมวิทยากรเป็นคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ วลพ. ร่วมเสวนาสรุปการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ วลพ.
พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อระเบียบ พม. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำร้อง การพิจารณา และการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ พ.ศ. 2559 หลายท่าน
ได้แก่ รศ. มาลี พฤกษ์พงศาวลี ประธานคณะกรรมการ วลพ. และประธานอนุกรรมการ วลพ. คณะที่ 1 นางวณี ธิติประเสริฐ ประธานอนุกรรมการ วลพ. คณะที่ 2 นายวิเชียร ชวลิต ประธานอนุกรรมการ วลพ.
คณะที่ 3 คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ประธานอนุกรรมการด้านนโยบาย มาตรการ และแผนปฏิบัติการในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ นายวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล ประธานอนุกรรมการด้านกฎหมายในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
ดร. อัญชลี มีมุข กรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และนางสาวนัยนา สุภาพึ่ง อนุกรรมการ วลพ. คณะที่ 1 เป็นต้น
“ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลที่สำคัญแก่คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
และคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศในการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมระเบียบและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่อไป”
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
04 มิถุนายน 2566
ผู้ชม 3862 ครั้ง