วันชาติไทย 2566 กับ วันชาติไทยในอดีต วันชาติไทย 24 มิถุนายน การ เปลี่ยนแปลง วันชาติของ ไทย จาก วันที่ 24 มิถุนายน มาเป็นวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี

บทความ

วันชาติไทย 2566 กับ วันชาติไทยในอดีต วันชาติไทย 24 มิถุนายน การ เปลี่ยนแปลง วันชาติของ ไทย จาก วันที่ 24 มิถุนายน มาเป็นวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี

วันชาติไทย 2566 กับ วันชาติไทยในอดีต วันชาติไทย 24 มิถุนายน การ เปลี่ยนแปลง วันชาติของ ไทย จาก วันที่ 24 มิถุนายน มาเป็นวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี

 

ข่าวล่าสุด 29 มิถุนายน 66 : 09:30:40 

 

29 มิถุนายน 2566 - News Update ข่าววันนี้, ข่าววันนี้ล่าสุด ข่าวสด ข่าวด่วนวันนี้ Google News ไทย, google ข่าวฮอตวันนี้, google ข่าววันนี้, ok google ข่าววันนี้, ข่าววันนี้สด, ข่าว-วัน-นี้  จากเพจ โบราณนานมา ระบุว่า วันอภิวัฒน์สยาม ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย คณะราษฎรนำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา นำกำลังชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และอ่านคำแถลงการณ์ของคณะราษฎร อันมีเจตนาคือสถาปนาระบอบประชาธิปไตย

.บันทึกเหตุการณ์ตอนหนึ่งที่ปรากฏในหนังสือ รัฐสภาไทยในรอบ ๔๒ ปี เนื้อหาส่วนนี้บันทึกโดยนายประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ อดีตเลขาธิการรัฐสภา เอ่ยถึงบรรยากาศครั้งนั้นว่า

.“...เวลาเช้ามืดของวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นวันที่คณะราษฎรได้วางแผนและนัดหมายกันไว้ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ได้มีกำลังทหารบก ทหารเรือ และหน่วยรถถังพร้อมด้วยอาวุธตั้งแถวเพื่อรอฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้เพราะกรมยุทธศึกษาทหารบกได้มีคำสั่งให้ทหารทุกหน่วยไปพร้อมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้าก่อนเวลา ๖ นาฬิกา เพื่อรับการฝึกยุทธวิธีแผนใหม่ ซึ่งจะอำนวยการฝึกโดยนายพันเอก พระยาทรงสุรเดช อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยทหารบก ครั้นถึงเวลา ๖ นาฬิกาตรงตามที่นัดหมาย นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้แสดงตนต่อหน้าแถวทหาร และได้อ่านประกาศคำแถลงการณ์ของคณะราษฎรฉบับแรก ต่อหน้าแถวทหารนั้น …”

.ความตอนหนึ่งจากประกาศคณะราษฎร เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ความว่า

.“...ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่จะชุบมือเปิบ และกวาดรวบทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน ก็เอามาจากราษฎร เพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนเรียนเสร็จแล้วและทหารปลดกองหนุนแล้วไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบ และเสมียน

.เมื่อให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่กวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมืองให้มีงานทำ จึ่งจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อย ๆ ไป เงินมีเหลือเท่าใดก็เอาฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองซุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย…”

หลังพระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านประกาศคณะราษฎร ณ ลานพระราชวังดุสิตแล้วนั้น แผนการสำคัญขั้นต่อไปคือการจับพระบรมวงศานุวงศ์เป็นตัวประกัน เพราะเชื่อว่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงพะวักพะวงห่วงใยพระบรมวงศานุวงศ์ โดยเฉพาะสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ ที่ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ของราชวงศ์และบ้านเมือง

.พระยาทรงสุรเดชจึงออกคำสั่งให้ พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) หนึ่งในสี่ทหารเสือ นำกำลังทหารราว ๕๐ นาย ประกอบด้วยนักเรียนนายร้อย นักเรียนนายดาบ และทหารเรือบางส่วน พร้อมด้วยรถเกราะและรถปืนใหญ่ มุ่งหน้าจากพระบรมรูปทรงม้า ลานพระราชวังดุสิต สู่วังบางขุนพรหม

.เมื่อคณะราษฎรได้ตัวประกันคนสำคัญมาไว้ในมือหมดแล้ว จึงได้ออกประกาศว่า “...ด้วยบัดนี้ คณะราษฎรได้จับพระบรมวงษานุวงศ์มาไว้เป็นประกันแล้ว ถ้าผู้ใดขัดขวางคณะราษฎร ผู้นั้นจะต้องถูกลงโทษ และพระบรมวงษานุวงศ์จะต้องถูกทำร้ายด้วย...”

.หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คณะราษฎรได้จัดระบบระเบียบและร่างข้อกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยาม” ร่างขึ้นโดย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือนายปรีดี พนมยงค์ และคณะกรรมการคณะราษฎรบางส่วน

ก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เพื่อให้พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย แต่ฉบับที่พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยนี้ เป็นเพียงฉบับ “ชั่วคราว” และมีพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕

การพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับ “ชั่วคราว” ของรัชกาลที่ ๗ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

แท็ก : วันชาติไทย, ประวัติวันชาติไทย, วันชาติไทย ความสําคัญ, วันชาติคืออะไร, วันชาติไทย 24 มิถุนายน, เปลี่ยนวันชาติไทย, วันชาติไทย 2565, วันชาติไทย 2566, การ เปลี่ยนแปลง วันชาติของ ไทย จาก วันที่ 24 มิถุนายน มาเป็นวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี, วันชาติไทย 2564, ประวัติวันชาติไทย, วันชาติ, วันชาติไทยในอดีต, วันชาติไทย 24 มิถุนายน

28 สิงหาคม 2566

ผู้ชม 15779 ครั้ง

Engine by shopup.com