ทำความรู้จัก ก้าวไกลม 112 สาระสำคัญ และ ข้อเสนอแก้ไข ม.112 ฉบับก้าวไกล

บทความ

ทำความรู้จัก ก้าวไกลม 112 สาระสำคัญ และ ข้อเสนอแก้ไข ม.112 ฉบับก้าวไกล

ทำความรู้จัก ก้าวไกลม 112 สาระสำคัญ และ ข้อเสนอแก้ไข ม.112 ฉบับก้าวไกล

 

การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ถือเป็นหนึ่งใน 300 นโยบายที่พรรคก้าวไกลนำเสนอในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา โดยพรรคจัดให้นโยบายดังกล่าวอยู่ในหมวดการสร้างประชาธิปไตยเต็มใบ ข้อเสนอการแก้ไข ม.112 ของพรรคก้าวไกลดังกล่าวประกอบด้วยสาระสำคัญดังต่อไปนี้

ลดโทษของกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ให้มีความสอดคล้องกับหลักสากล โดยลดโทษให้เหลือเพียง

ในกรณีหมิ่นพระมหากษัตริย์ ลดโทษเหลือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีหมิ่นพระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ลดโทษจำคุกเหลือไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ลดโทษหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา โดยจะถูกลดลงจากโทษจำคุก 0-2 ปี เหลือแค่โทษปรับ

ย้ายกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ออกจากหมวดความมั่นคง และให้เป็นความผิดที่ยอมความได้ โดยกำหนดให้สำนักพระราชวังเป็นผู้มีสิทธิแจ้งความหรือร้องทุกข์กล่าวโทษเพียงผู้เดียว

บัญญัติให้ชัดเจนในกฎหมาย เพื่อคุ้มครองกรณีการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตหรือการพูดความจริงที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันกับเหตุยกเว้นความผิดและเหตุยกเว้นโทษสำหรับการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา

การแก้ไข ม.112 เข้าข่าย "ล้มล้างการปกครอง" หรือไม่

เครือข่ายของกลุ่มอำนาจนิยมใช้ความพยายามเพื่อให้เกิดการตีความกฎหมายเชื่อมโยงข้อเสนอแก้ ม.112 ของพรรคก้าวไกล กับคำวินิจฉัยคดี "ล้มล้างการปกครอง" ของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2564 กรณีการชุมนุมของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ในวันที่ 10 ส.ค. 2563 โดยเฉพาะว่า การแก้ไขและยกเลิก ม.112 เข้าข่ายการล้มล้างการปกครองหรือไม่

ตัวอย่างความพยายามดังกล่าวนี้ก็เช่น กรณีของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร อดีตทนายความของอดีตพระพุทธอิสระ ที่ยื่นคำร้องให้อัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า

"การกระทำของนายพิธา และพรรคก้าวไกลที่เสนอร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่.... พ.ศ. .... เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่"

สำหรับมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า "บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้"

ทั้งนี้ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ได้อ้างอิงถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564 ในคดีล้มล้างการปกครองข้างต้นเป็นบรรทัดฐาน

ดร.เข็มทอง อธิบายว่า ในกรณีการแก้ไข ม.112 ของพรรคก้าวไกลไม่สามารถยึดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปี 2564 มาเป็นบรรทัดฐานได้ โดยมี 2 ประเด็นที่ต้องนำมาพิจารณา

ประเด็นแรก: เมื่อปี 2564 ข้อเรียกร้องทั้ง 10 ข้อของกลุ่มนักศึกษาคือ การปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่ปัจจุบันคือ การแก้ไขเพิ่มเติม ม.112 เฉพาะมาตราเดียว

ประเด็นที่สอง: คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนั้นเป็นคำสั่งเฉพาะที่พูดถึงรูปแบบวิธีการที่ใช้เรียกร้องด้วยวิธีการประท้วง การชุมนุม ถึงจะเป็นการล้มล้างการปกครอง เพราะฉะนั้นจึงยังไม่เคยมีบรรทัดฐานให้การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 112 ในกระบวนการในรัฐสภาปกติเป็นการล้มล้างการปกครอง

"ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น จึงไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายได้ ไม่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานได้ แม้ว่ามาตรา 112 ศาลรัฐธรรมนูญเคยยืนยันว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้วก็จริง แต่การชอบด้วยรัฐธรรมนูญไม่ได้หมายความว่า ไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ ยกเว้นไปขัดคุณค่าพื้นฐานบางอย่างของรัฐธรรมนูญ" ดร.เข็มทอง กล่าว

เมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่พรรคก้าวไกลพยายามทำในขณะนี้ ดร.เข็มทอง มองว่า เป็นการทำ "ตรงกันข้ามกับ" แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมที่ต้องการผลักดันด้วยการชุมนุม ในขณะที่พรรคก้าวไกลใช้ความพยายามผลักดันให้ประเด็นดังกล่าวเข้าสู่ระบบรัฐสภา

"ในเมื่อสองอย่างไม่เหมือนกัน ผลที่ตามมาหรือข้อสรุปก็ไม่ควรจะเหมือนกัน" เขากล่าว

#เลือกนายกตามผลเลือกตั้ง, #พิธา, #สวมีไว้ทําไม, งดออกเสียงคือ, ปิดถนนรัฐสภา, ก้าวไกลม 112

14 กรกฎาคม 2566

ผู้ชม 20284 ครั้ง

Engine by shopup.com