วิชาชีพที่ถูกลืม "จิรัชญา จานุสรณ์" อดีตพยาบาล รพ. เขาคิชฌกูฏ ปัจจุบันต้อง "พิการ" เดินไม่ได้ เพราะอุบัติเหตุขณะปฏิบัติหน้าที่ รีบพาผู้ป่วยไปรักษาให้รอดชีวิต เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com

บทความ

วิชาชีพที่ถูกลืม "จิรัชญา จานุสรณ์" อดีตพยาบาล รพ. เขาคิชฌกูฏ ปัจจุบันต้อง "พิการ" เดินไม่ได้

ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ www.medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพของคนรุ่นใหม่ และ เพจ sasook รายงานว่า สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย นำโดย นางสาวมัลลิกา  ลุนจักร ประธานสหภาพพฯ กล่าวกับ กองบรรณาธิการ www.medhubnews.com ว่า

“ตัวแทนวิชาชีพพยาบาลฯ” และ เหล่าสหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย  ได้เดินทางไปกระทรวงการคลัง   เพื่อดำเนินการสอบถาม และ เร่งรัดความก้าวหน้า (ร่าง) ระเบียบการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ตามคณะรัฐมนตรีมติ ครั้งที่ 2

ภาพข่าวจากกรณีนางฟ้ากู้ภัย 

โดยในหนังสือระบุว่า  ตามที่กระทรวงสาธารณสุข มีหนังสือตอบกลับจากสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ.o๒o๘.o๗/๒๘๑๕๐ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน๒๕๖๐๒๕๕๘  ถึง สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย โดยผู้บริหารได้มีนโยบายที่จะแก้ไขพัฒนาระบบสวัสดิการ บุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นปัญหายาวนาน

และได้สั่งการให้จัดทำ (ร่าง) ระเบียบข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งได้จัดทำอย่างเป็นทางการ โดยกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ ๗ เมษายน  ๒๕๖๐ ส่ง (ร่าง) ระเบียบข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข พศ... ให้รัฐมนตรีกระทรวงการคลังพิจารณา ไปแล้วนั้น    

สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ในฐานะที่เป็นตัวแทน วิชาชีพพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข และมีจำนวนบุคลากรพิการ ตาย บาดเจ็บจากการให้บริการสาธารณสุข มากที่สุดในระบบการบริหารสาธารณสุข มีหนังสือขอติดตามความก้าวหน้าของหนังสือลงรับหนังสือเลขที่  สร.๙๘๒๖ ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๐ (ร่าง) ระเบียบการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ตามคณะรัฐมนตรีมติ

ขอให้ได้โปรดพิจารณา เพื่อเร่งอนุมัติ (ร่าง ) ฉบับดังกล่าว อย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ แก่เจ้าหน้าที่บุคลากรที่ปฎิบัติหน้าที่จากการให้บริการสาธารณสุขและผู้ที่ให้บริการสาธารณสุขทีมีความเสี่ยง ทุกระดับในสถานการณ์ปัจจุบัน ให้มีระบบสวัสดิการ ของกระทรวงสาธารณสุขรองรับอย่างเป็นทางการ

สำหรับพยาบาล มนุษย์ล้อ หรือ นางสาวจิรัชญา จานุสรณ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ. เขาคิชฌกูฏ ผู้ประสบอุบัติเหตุ จากรถพยาบาลโดนชนขณะนำส่งผู้ป่วย เมื่อวันที่1 มกราคม2560

จนส่งผลให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังและไขกระดูกได้รับบาดเจ็บต้องนั่งวิวแชร์ตลอดชีวิตตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา ที่ต้องเป็นคนพิการ

นับจากเข้ารับการรักษาผ่าตัดรักษาพยาบาล จนถึงปัจจุบันนี้ ต้องฟื้นฟูร่างกาย ให้กลับมาใช้ชีวิตได้ต้องให้ตัวเองคุ้นชินกับภาพลักษณ์ คนพิการ ทักษะ การใช้วิวแชร์ ต้องฝึกกาย ใจให้สามารถใช้ชีวิตแบบอิสระไม่ต้องพึ่งผู้อื่น บอกตรงๆมันยากจัง ชีวิตไม่เคยเตรียมใจ เตรียมตัว มาเพื่อจะเป็นคนพิการการเยียวยาช่วยเหลือที่เป็นสิทธิของตัวเองมันไม่มี 

มีแต่ความกรุณาของผู้ใหญ่ท่านตั้งกองทุนขอรับเงินบริจาคให้ ได้เงินชดเชย จากสปสช  ซึ่งมันเป็นจำวนเงินน้อยนิด เมื่อเทียบกับการใช้ชีวิตในวันข้างหน้าการรักษาตัวเองเรื่องค่าใช้จ่ายก็ใช้ตามสิทธิติดตัว คือเบิกจากกรมบัญชีกลางถ้าเบิกไม่ได้ก็ต้องจ่ายเอง อนาคตหน้าที่การงาน ไม่ต้องถามนะคะ   รู้สึกไม่มีความแน่นอนเลย

เพราะตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนเมื่อทุพพลภาพ ถ้าไม่สามารถทำงานได้ต้องออกจากงาน ต้องเขียนบันทึกข้อความยื่นความจำนง ว่าจะขอเข้ารับราชการต่อ การไปฝึกกายภาพแต่ละครั้งที่สถาบันฟื้นฟูสิรินธร ต้องถือเป็นวันลาป่วย เงินประจำตำแหน่ง เงินพตส เงินฉ11 ไม่ได้รับนะคะ

ในเดือนที่ไปรักษาตัว ลาป่วยได้นานสุดไม่เกิน120 วันถ้านานกว่านี้จะมีผลกับเงินเดือน ซึ่งมันผิดกับทหารตำรวจเลย ถ้าได้รับบาดเจ็บ ตายในหน้าที่ มีการปูนบำเหน็จที่เห็นชัดเจน พวกเราพยาบาล ก็เปรียบได้กับทหารเหมือนกัน ต้องสู้รบกับเชื้อโรค ภาวะวิกฤติทางจิตใจ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ความรับผิดชอบต่อชีวิตคนไข้  ปริมาณงานที่มาก ขึ้นเวร เช้า บ่าย ดึก

แต่ค่าตอบแทนเมื่อเทียบกับแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช แล้ว ทำไมมันชั่งห่างไกลกันจัง การต่อใบประกอบโรคศิลปะก็ต้องทำเหมือนตอนที่ร่างกายปกติ อยากให้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียม สภาการพยาบาลควรมีบทบาทให้มากกว่านี้คะในการรับผิดชอบดูแลสมาชิกพยาบาล

การเยียวยาควรจะชัดเจน และทันเหตุการณ์ ความรู้สึกตอนนี้ กังวลเกี่ยวหน้าที่การงาน ที่มันมืดมน ความก้าวหน้า ถามตัวเองว่าลาป่วยแบบนี้จะมีผลกับการประเมินขั้นไม ตอนเกษียณราชการ วันลานี้จะมีผลอะไรกับตัวเองบ้าง การชดใช้ค่าเสียหายต้องขึ้นศาลฟ้องเรียกร้องค่าเสียจากกระทรวงสาธารณสุข ก็ยังไม่รู้ชะตากรรมว่าจะออกมาแบบไหน

 ไม่ฟ้อง ก็ไม่ได้  ก็อย่างที่บอกนั่นแหละคะ ชีวิตมันจะหาความมั่นคง คุณภาพชีวิตได้จากที่ไหน เพราะปัจจุบันอายุ 43ปี แต่ต้องมาเป็นผู้พิการ สองมือต้องปั่นวิวแชร์ ใช้พยุงตัวเองในการฝึกเดิน มันปวด นิ้วล็อค การปวดของเส้นประสาท ตลอดเวลา

ภาวะเสี่ยงทีจะเกิดแผลกดทับ การดำรงชีวิต ที่สามารถเดินทางไปได้แค่ในที่เปิดรับคนพิการ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งมันมาจากความประมาทของคนขับรถพยาบาล

เราควรภูมิใจ หรือเสียใจ ดีคะ ที่เลือกเรียนวิชาชีพพยาบาล ซึ่งจะครบรอบ 10 ปี ในวันที่ 14 ก.พ.นี้ เพื่อดูแลประชาชนและเยาวชนให้รู้เท่าทันพิษภัยและลดละเลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

www.medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ ของคนรุ่นใหม่

ข่าวจริง.......ชัวร์

"Health News Leader Thailand and Health Data Science" 

https://www.facebook.com/Dr.sasook 

13 เมษายน 2561

ผู้ชม 2933 ครั้ง

Engine by shopup.com