อึ้ง ! พวกดูถูกเหยียดหยาม เหยียบย่ำซ้ำเติม ผู้ที่กำลังเจอปัญหา "พยายามฆ่าตัวตาย" จำนวนมาก ไม่ช่วยแถมซ้ำเติม สถิติคนไทยฆ่าตัวตาย ทุก 2 ชั่วโมง
อึ้ง ! พวกดูถูกเหยียดหยาม เหยียบย่ำซ้ำเติม ผู้ที่กำลังเจอปัญหา "พยายามฆ่าตัวตาย" จำนวนมาก ไม่ช่วยแถมซ้ำเติม สถิติคนไทยฆ่าตัวตาย ทุก 2 ชั่วโมง
ปัญหาของโรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตาย ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่หลายคนไม่เข้าใจถึงปัญหาเหล่านี้ คนจำนวนมากดูถูกเหยียดบุคคลเหล่านี้ว่าไม่มีความอดทน หรือ ไม่พยายามมองโลกในแง่ดี เพียงแค่คิดว่าโรคนี้ เป็นแค่โรคที่เรียกร้องความสนใจเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ www.medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพของคนรุ่นใหม่ และ เพจ sasook รายงานว่า นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยม โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จ.ขอนแก่นว่า
รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ นอกจากจะเป็น "ศูนย์เชี่ยวชาญรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรงยุ่งยากซับซ้อน" ที่ส่งต่อมาจาก 4 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 7 คือ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมหาสารคามแล้ว ยังเป็น ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายในระดับชาติ ด้วย
จากการติดตามสถานการณ์ในรอบ 3 ปี ตั้งแต่ 2557-2559 ประเทศไทยมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ย 4,100 คนหรือพบทุก 2 ชั่วโมง อัตราอยู่ที่ 6.35 ต่อประชากรทุก 1 แสนคน ในปี 2560 ประมาณการว่าจะมีแนวโน้มลดลงที่ 6.03 ต่อประชากรทุก 1 แสนคน
ในปี 2561 นี้ กรมสุขภาพจิต มีนโยบายเน้นหนักที่การป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยเน้นหนักที่กลุ่มที่พยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งจากผลสำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตระดับชาติ ครั้งล่าสุดในปี 2556
พบคนไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป มีอัตราพยายามฆ่าตัวตายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 คาดว่าทั่วประเทศจะมีประมาณ 53,000 คน ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานอายุ 35-39 ปี และในกลุ่มนี้ร้อยละ 15 จะกลับทำซ้ำอีกภายใน 1 ปี จึงตั้งเป้าจะป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่าตัวตายซ้ำ :ซึ่งช่วยให้ประเทศลดการสูญเสียด้านเศรษฐกิจ ได้ปีละ 300 ล้านบาท
สำหรับ มาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำ จะเน้นหนัก 3 เรื่อง ประการแรกคือการเพิ่มพูนความรู้แก่ แพทย์ทั่วไป แพทย์เวชปฏิบัติในรพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไปและรพ.ชุมชน ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย
โดยกรมฯได้จัดทำคู่มือในการตรวจวินิจฉัยโรคเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และขึ้นทะเบียนในการติดตามกลุ่มนี้ให้เข้าถึงบริการโดยเฉพาะ ประการที่ 2 คือการปรับฐานข้อมูลผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาโดยออกแบบให้แพทย์ทั่วประเทศสามารถส่งข้อมูลผู้ป่วยเข้าศูนย์ข้อมูลกลางที่รพ.จิตเวชขอนแก่นฯทางระบบออนไลน์
ซึ่งจะปรากฏเป็นทะเบียนของผู้ป่วยในแต่ละจังหวัด สามารถใช้ติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ฆ่าตัวตายซ้ำ โดยเฉพาะการใช้เป็นข้อมูลการติดตามเยี่ยมบ้านของทีมหมอครอบครัวและการดูแลในระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
มาตรการที่ 3 คือเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการ โดยให้ความรู้ประชาชนผ่านแอพพลิเคชั่นสบายใจ ( sabaijai ) เชื่อมโยงกับสายด่วนสุขภาพจิต 1323
ด้านนายแพทย์ณัฐกร จำปาทอง ผู้อำนวยการ รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์กล่าวว่า การฆ่าตัวตาย เป็นปรากฎการณ์แสดงถึงความอ่อนแอของบุคคลในการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้น
สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตายมาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ ความสัมพันธ์บุคคลเช่นทะเลาะกัน ถูกตำหนิ ดุด่า ครอบครัวมีปัญหาความสัมพันธ์ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่มีคนดูแล จะมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จ 4 เท่าตัวของผู้สูงอายุทั่วไป รองลงมาคือ ปัญหาการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงเป็น 3 เท่าของคนที่ฆ่าตัวตายที่ไม่ป่วย และ 3.จากปัญหาเศรษฐกิจ
"ที่ผ่านมา จะพบจำนวนผู้ฆ่าตัวตายสูงในเดือนมีนาคม และเมษายน เกิน 400 ราย ขณะที่เดือนอื่นๆประมาณ 300 กว่าราย
สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไปที่ประชาชนต้องช่วยกันเฝ้าระวังมี 5 กลุ่มได้แก่ 1. ผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เกิดจากการเสพสารเสพติด เช่นเหล้า ยาบ้า 2. กลุ่มสูญเสีย หรือผู้ที่รอดชีวิตจากเหตุรุนแรง
3. กลุ่มที่มีประวัติการฆ่าตัวตาย 4. กลุ่มพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์หุนหันพลันแล่น และ 5. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานหรือมีอาการรุนแรง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคทางจิตเวช
ทั้งนี้ หลักการสังเกตผู้ป่วยที่อาจมีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย หากพบว่ามีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงจากเดิมเช่น เก็บตัว ท้อแท้สิ้นหวัง หมดหวังในชีวิต พูดสั่งเสีย ถือว่าเป็นสัญญาณเตือน ขอให้รีบไปพูดคุยจัดการปัญหาให้เบื้องต้น หากยังไม่ดีขึ้น ให้รีบพาไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านให้เร็วที่สุด หรือโทรปรึกษาสายด่วน 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
www.medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ ของคนรุ่นใหม่
ข่าวจริง.......ชัวร์
"Health News Leader Thailand and Health Data Science"
25 กุมภาพันธ์ 2561
ผู้ชม 2294 ครั้ง