"สถาบันบำบัดผู้ติดยาเสพติดฯ" เผยเลิกใช้วิธีตรวจฉี่หาสารเสพติด Color test หรือ “ฉี่สีม่วง” แล้ว เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์

บทความ

สถาบันบำบัดฯ เลิกใช้วิธีตรวจฉี่ หาสารเสพติด Color test หรือ “ฉี่ม่วง”

ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ medhubnews.com  เว็บไซต์สุขภาพ และ เพจ sasook รายงานว่า นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ สารเสพติด ที่พบมากคือ ยาและสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน 

ซึ่งได้แก่ ยาบ้า ยาไอซ์ยาอี ยาเลิฟ นอกจากกลุ่มนี้แล้วยังมี ยาและสารเสพติดชนิดอื่นๆอีก เช่น เฮโรอีน ฝิ่น มอร์ฟีน กัญชา กลุ่มยากล่อมประสาท และยานอนหลับ 

การตรวจหายาและสารเสพติดในร่างกาย จะใช้การตรวจจากตัวอย่างปัสสาวะซึ่งจะได้ผลดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับในกระบวนการยุติธรรมในระดับสากล เพราะเมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยการกิน ฉีดสูบ หรือ สูดดมควัน

ยาและสารเสพติดเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดหลังจากนั้นประมาณ 2-3 ชั่วโมงร่างกายจะขับยาและสารเสพติดออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งมีความเข้มข้นมากพอทำให้ตรวจพบได้ง่าย

และตกค้างในปัสสาวะได้นานหลายวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของผู้เสพแต่ละคน รวมถึงปริมาณที่ใช้ ความถี่และชนิดของยาและสารเสพติดที่เสพเข้าสู่ร่างกาย

ด้าน นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวเพิ่มเติมว่า สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี มีการตรวจหายา และสารเสพติดในร่างกายในกลุ่มผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดและผู้ต้องสงสัย 2 ขั้นตอน

ได้แก่ 1.การตรวจคัดกรองขั้นต้น ( Screening  Test ) เป็นการตรวจหาสารเสพติดเป็นกลุ่มในขั้นตอนนี้ จะแสดงผลเพียงพบ หรือ ไม่พบยาและสารเสพติดในร่างกายเท่านั้น ยังไม่สามารถระบุได้ว่า ผู้รับการตรวจ เสพยาบ้า หรือ ใช้สารเสพติดในกลุ่มนี้

โดยวิธีการตรวจคัดกรองขั้นต้นมีอยู่ 2 หลักการคือ หลักการคัลเลอร์เทสต์ (Color test) หรือที่เรียกกันว่า “ปัสสาวะสีม่วง” ซึ่งปัจจุบันวิธีการตรวจนี้ไม่นิยมนำมาใช้ตรวจแล้ว

และ หลักการทางอิมมูโนแอสเสย์ ( Immunoassay ) แบ่งเป็นที่ต้องใช้เครื่องอัตโนมัติในการตรวจ และใช้ชุดตรวจสำเร็จรูป (Testkits ) ซึ่งจะแสดงผลเป็น บวก ( positive ) และ ลบ ( Negative )

ทั้งนี้ ในรายที่ตรวจคัดกรองขั้นต้นแล้วพบว่า ผลเป็นบวก หรือมีข้อสงสัย  จะต้องทำการตรวจยืนยันในขั้นต่อไป 2. การตรวจยืนยัน ( Confirmation Test )

โดยใช้ หลักการทาง โครมาโตรกราฟฟี ( Chromatography ) ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจขั้นสูงเป็นการตรวจวิเคราะห์ ที่มีความละเอียดสูงสามารถตรวจหายาและสารเสพติดที่มีปริมาณน้อยๆ ได้

และสามารถแยกชนิด ระบุ ประเภทของยาและสารเสพติดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เป็นมาตรฐานสากล เช่น แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีนทรามาดอลอัลพราโซแลม เป็นต้น

โดยสามารถนำมาใช้ตรวจคัดกรอง ในผู้ต้องสงสัย และตรวจประเมินในผู้ป่วยยา และสารเสพติดได้เป็นอย่างดี

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News   

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com

ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

 

 

16 ธันวาคม 2561

ผู้ชม 8603 ครั้ง

Engine by shopup.com