เสรี วงษ์มณฑา “แนะ” งานวิจัยปริญญาเอก นิสิตต้องมีความสนใจและใช้งานได้จริง

บทความ

เสรี วงษ์มณฑา “แนะ” งานวิจัยปริญญาเอก นิสิตต้องมีความสนใจและใช้งานได้จริง

เสรี วงษ์มณฑา แนะงานวิจัยปริญญาเอก นิสิตต้องมีความสนใจและใช้งานได้จริง

รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการชื่อดัง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการจัดการการท่องเที่ยวโรงแรมและธุรกิจบริการ

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา(กรุงเทพ)

พลวัตการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ในยุคของการใช้ชีวิตหลากหลายขั้น (Multistage Life) โดยมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Coronavirus Disease: COVID-19) เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน ในขณะที่มีประเด็นความเหลื่อมล้ำที่เรื้อรังเป็นตัวฉุดรั้งความก้าวหน้า ส่งผลกระทบให้ระบบอุดมศึกษาต้อง Re-Adjust, Re-Position และ Reinvent ตัวเองให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยการผลิตบัณฑิตทั้งในและนอกวัยเรียนที่สามารถอยู่รอดและเติบโตในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความไม่แน่นอน การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมให้ทันสมัยต่อโลก การให้บริการวิชาการเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม การเผยแพร่องค์ความรู้ตามหลักวิชาการต่อสาธารณะ รวมถึงการส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นและของชาติ (ข้อมูลจาก สอวช.)

การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นแนวโน้มสำคัญซึ่งทั่วโลกต่างให้ความสนใจ ดังเช่นประเทศสิงค์โปร์ที่มีนโยบาย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยโปรแกรม SkillsFuture Credit ซึ่งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาทักษะทั้งในระยะ ยาว ระยะเร่งด่วน และเพื่อการเปลี่ยนผ่านสายอาชีพสำหรับประชาชนทุกคน การอุดมศึกษาจึงต้องปรับตัวเพื่อ ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยการพัฒนาทักษะบัณฑิตและแรงงานลูกจ้างทั้งเพื่อการใช้ชีวิต การเข้าสังคม และเพื่อพัฒนาตนเองให้เหมาะกับตำแหน่งงานที่สำคัญในอนาคต อีกทั้งในปัจจุบันได้มีนวัตกรรมเชิงโมเดลการจัด การศึกษาซึ่งเป็นการพลิกผันของหน่วยฝึกอบรมภาคเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาให้มีหลักสูตรที่คุ้มค่าสำหรับผู้ เข้ารับการฝึกอบรมและตรงกับความต้องการ โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและ AI โดยผู้ประกอบการ ธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรสำหรับตำแหน่งงานทักษะสูงในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึง โมเดลการจัดการศึกษาในรูปแบบ Relationship-Based ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อสร้าง โอกาสทางอาชีพ ทำให้นักศึกษาสามารถพัฒนาศักยภาพผ่านเครือข่ายที่หลากหลายในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เป้าหมายได้ (ข้อมูลจาก สอวช.)

รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการและประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการจัดการการท่องเที่ยวโรงแรมและธุรกิจบริการ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา(กรุงเทพ) เปิดเผยโดยชี้แนะว่า นิสิตที่อยู่ในการดูแลโดยเฉพาะในระดับปริญญาเอกนั้น ได้สอนให้รู้จักการวางแผนในการทำงานตั้งแต่ตอนที่เริ่มเรียน ให้มองจุดหมายปลายทางว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วจะนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้บูรณาการทางการศึกษาต่อไปได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นิสิตจะต้องทำผลงานวิจัยที่เป็นผลงานของตัวนิสิตเอง รศ.ดร.เสรี กล่าวต่อว่า เมื่อเราสอนให้ความรู้นิสิตไปในห้องเรียนแล้ว นิสิตเองจะต้องตกผลึกทางความคิดให้ได้ว่าอะไรที่ตัวเองนั้นสนใจในการทำวิจัย เมื่อตกผลึกแล้วลงมือทำปลายทางจะต้องสามารถนำงานวิจัยนั้นไปบูรณาการและใช้งานได้จริง อย่างในตอนนี้ก็มีนิสิตได้สอบโครงร่างงานวิจัยไปแล้ว 5 คน

และที่รอต่อคิวเพื่อสอบโครงร่างก็ยังมี พระครูโฆษิตสุทธสร เจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมาวาส อีก 1รูป  ซึ่งแต่ล่ะคนนั้นเป็นการวางแผนในการทำงานมายาวนานและอัพเดทงานอยู่เรื่อยๆ ทำให้การทำงานวิจัยนั้นมีระบบ แบบแผนและเป็นไปตามกลยุทธในการทำงาน นิสิตก็สามารถบริหารจัดการเวลาได้ นั่นเอง และสำคัญที่สุดเมื่อนิสิตจบการศึกษาไปแล้วนั้น นิสิตเองจะต้องนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดปัญญา และสามารถช่วยเหลือสังคม สร้างสรรค์สังคม ดูแลระบบการศึกษาพร้อมพัฒนา เพื่อส่งต่อคุณภาพให้กับเยาวชนรุ่นหลัง และสุดท้ายทำให้สังคมและประเทศชาตินั้นเติบโตด้วยการศึกษาที่มีคุณภาพต่อไป

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลการสมัครเรียนได้ที่ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา(กรุงเทพ)
55 Waveplace Building Wireless Road, Patumwan, Bangkok, Thailand, Bangkok
02 655 1100

01 กุมภาพันธ์ 2567

ผู้ชม 339 ครั้ง

Engine by shopup.com