“น้องแจน พีรยา” กู้ภัยสาว เจอดราม่า CPR ไม่จบ ! “หมอวิทวัส" ยันทำถูกต้องแล้ว "ภูผา" นักกู้ภัยสว่างเมธาธรรม จัดหนัก "อย่าโลกสวย

บทความ

“น้องแจน พีรยา” กู้ภัยสาว เจอดราม่า CPR ไม่จบ ! "ภูผา" จัดหนัก "อย่าโลกสวย

 

หลากหลายความคิดเห็นในโลกโซเชี่ยล ยังคงมีดราม่าตามมามากมาย หลังจากคลิปสาวรายหนึ่ง กระโดดขึ้นคร่อมร่างผู้ป่วยเพื่อช่วยปั๊มหัวใจ ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล โดยผู้ชายรายนี้เป็นผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้ ชุมชนถนนจันทน์ เมื่อวันที่ 21 ก.พ.2561 

ทั้งนี้ น้องแจน พีรยา แซ่น้า หรือ  อายุ 20 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยชื่อดัง อาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญู ระบุว่า วันเกิดเหตุตนไม่ได้สวมเครื่องแต่งกายอาสากู้ชีพ เพราะว่าไม่ได้เข้าเวร แต่เพื่อนน้องชายได้โทรศัพท์มาบอกตนว่า ในชุมชนถนนจันทน์เกิดเหตุเพลิงไหม้ ตนจึงได้ลงพื้นที่ไปดู เพื่อจะเข้าช่วยเหลือ

เมื่อเดินทางมาถึงพบว่าคุณลุง นอนอยู่ข้างถนน โดยมีเจ้าหน้าที่กำลัง CPR อยู่ ตนจึงอาสาเข้าไปช่วยบอกว่า สามารถเปลี่ยนคนทำได้ ถ้าหากหมดแรง ขณะนั้นมีคนที่สามารถทำ CPR ได้ประมาณ 4 คน

ระหว่างนั้นมีเจ้าหน้าที่พยาบาลมาตรวจสัญญาณชีพ พร้อมบอกว่า ผู้ป่วยไม่มีสัญญาณชีพแล้ว ตอนนั้นตนจึงเห็นว่า ควรพาตัวส่งโรงพยาบาล จึงยกผู้ป่วยขึ้นเตียง และเข็นไปที่รถกู้ชีพ เนื่องจากซอยแคบ รถกู้ชีพไม่สามารถเข้าได้ ขณะนั้น ตนจึงตัดสินใจขึ้นคร่อมร่างผู้เสียชีวิตตามภาพที่ปรากฏในคลิป

สำหรับระยะทางที่ต้องเข็นรถผู้ป่วยไป ยาวประมาณ 300 เมตร และการทำ CPR ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ยอมรับว่า ปกติการทำ CPR จะทำจากด้านข้างของผู้ป่วย

แต่ด้วยเส้นทางไม่สามารถทำ CPR ได้สะดวก จึงตัดสินใจทำเช่นนั้น ตอนนั้นตนไม่ได้คิดว่า ท่าทางจะไม่เหมาะสม หรือจะถูกคนมองอย่างไร เพราะต้องการแค่ช่วยชีวิตคนก่อน คิดเพียงอยากให้ชีพจรกลับมา โดยคิดว่าขอให้ลุงสู้กับตน ตนสู้ที่จะช่วยชีวิตลุงเต็มที่แล้ว

ทั้งนี้ คลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป หลายคนมองว่าน้องแจน พีรยา ทำถูกหรือไม่ ?  โดย น้องแจน พีรยา  ยืนยันว่า ทำถูกต้อง เหตุการณ์ในลักษณะนี้เคยเกิดขึ้น และตนขึ้นคร่อมบนเตียง ด้วยความที่ตนตัวเล็กจึงสามารถขึ้นคร่อมได้ทันที

ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ www.medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพของคนรุ่นใหม่ และ เพจ sasook รายงานว่า “ภูผา วันเฉลิม” หรือ ปิงปอง อาสากู้ภัยสว่างเมธาธรรม ของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งทีมข่าวของเราคุ้นเคยอย่างดี จึงต้องขอเกาะติดการทำงาน อาสากู้ภัยสว่างเมธาธรรม

ปิงปอง ภูผา ได้ระบุว่า ตนเป็นวิทยากร บรรยายวิธีการทำ CPR หรือ  “การปั๊มหัวใจ” ให้อาสาสมัครรุ่นน้องๆ เพื่อรับมือช่วยผู้ป่วยอย่างถูกต้อง

จะเหมาะสม หรือ ไม่ เราค่อยมาว่ากัน..หัวใจสำคัญ ณ วินาทีนั่นคือการรอดชีวิตของคนไข้ #ไม่โลกสวยนะครับ #วินาทีนั่นไม่ใช่ญาติคุณเองคุณคงไม่เข้าใจ 

 องรีบปั๊ม ภายใน ทีกาสรอดจะมีมาก” 

ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ www.medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพของคนรุ่นใหม่ และ เพจ sasook รายงานว่า นายแพทย์วิทวัส ศิริประชัย  หรือ แอดมินเพจ Drama-addict ย้ำว่า กรณีดังกล่าว สิ่งที่ น้องแจน พีรยา ทำถูกต้องแล้ว แต่กรณีที่ต้องปั๊มหัวใจคนไข้ ตามหลักแล้วจะต้องทำการปั๊มทางด้านข้าง

สำหรับกรณีที่คนไข้นอนบนเตียง และนอนราบไปกับพื้น ส่วนการเคลื่อนย้ายคนไข้ หากไม่มีอุปกรณ์ อย่างที่ต่างประเทศที่ จะมีอุปกรณ์ปั๊มหัวใจ ติดบริเวณหน้าอกคนไข้

ดังนั้นกรณีดังกล่าว จึงต้องใช้คนขึ้นไปปั้มหัวใจ แบบที่ น.ส.พีรยา ทำในคลิป เพราะการเคลื่อนย้ายคนไข้ ต้องทำการปั๊มหัวใจตลอด บางกรณีเข้าจากด้านข้างไม่ได้ ตามโรงพยาบาล ตามสถานที่ต่างๆ ก็ทำกัน 

นอกจากนี้ ภูผา วันเฉลิม ระบุย้ำอีกว่า พื้นฐานของการทำ CPR อยู่ที่ C-A-B ได้แก่ C – Compression กดหน้าอก เพื่อนวดหัวใจภายนอก A – Airways เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง

โดยการตั้งศีรษะของผู้ป่วยให้ตรง แล้วเสยคางขึ้นเล็กน้อย B – Breathing ช่วยหายใจด้วยการประกบปาก แล้วเป่าลมเข้าไป

ทั้งนี้ ภูผา ย้ำว่า ความสำคัญของการทำ CPR อยู่ที่การปั๊มหัวใจ ที่ต้องทำให้ถูกต้อง และทันเวลา เพราะหากสมองขาดออกซิเจนไปเกิน 4 นาที สมองอาจเสียหายได้

เราสามารถเข้าไปทำ CPR ให้กับผู้ป่วยที่หมดสติ ลมหายใจอ่อนหรือหยุดหายใจ หัวใจใกล้หยุดเต้น หรือหยุดเต้นไปแล้ว เช่น จมน้ำ หัวใจวาย สำลักควันไฟจากที่ที่เกิดไฟไหม้ อุบัติเหตุต่างๆ

สำหรับ วิธีทำ CPR ที่ถูกต้อง ประชาชนทั่วๆไป ควรตรวจดูความปลอดภัยบริเวณรอบๆ ตัวผู้ป่วย หากสถานที่รอบๆ ผู้ป่วยปลอดภัยดี ให้เข้าไปหาผู้ป่วยทำการยืนยันว่าผู้ป่วยหมดสติจริง

โดยการตีที่ไหล่แล้วเรียกด้วยเสียงดัง 4-5 ครั้ง หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัวอยู่ หายใจเองได้ ให้จับนอนตะแคง รอการช่วยเหลือ โทร 1669 ไม่ควรทำ CPR ขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติ

หากไม่ได้สติ ไม่ลืมตาจริงๆ และหยุดหายใจ ให้รีบโทรหา 1669 เช่นกัน แจ้งทีมงานว่าผู้ป่วยไม่ได้สติ หยุดหายใจ ให้นำเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ AED มาด้วย

เริ่มทำการกดหน้าอก โดยจับผู้ป่วยนอนหงาย นั่งคุกเข่าข้างผู้ป่วย วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก อยู่ตำแหน่งตรงกลางระหว่างหน้าอก ระดับเดียวกับหัวนมพอดี

และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที ควรทำ CPR ต่อไปเรื่อยๆ

จนกว่าทีมแพทย์ หรือหน่วยกู้ภัยจะมา หากคุณไม่เคยเข้ารับการฝึกทำ CPR มาก่อน ให้กดหน้าอกเพียงอย่างเดียวไปเรื่อยๆ

หากคุณเคยทำ CPR แล้ว อาจกดหน้าอกสลับกับการเป่าปากช่วยหายใจได้ โดยกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับมาเป่าปากช่วยหายใจ 2 ครั้ง

ในกรณีที่มีคนอยู่ด้วยหลายคน สามารถสลับให้คนอื่นมาช่วยปั๊มหัวใจแทนได้ สิ่งสำคัญคือควรทำ CPR ไปเรื่อยๆ จนกว่าทีมกู้ภัย หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จะมา แล้วเข้าช่วยเหลือด้วยเครื่อง AED อีกครั้ง ก่อนนำส่งโรงพยาบาล

แม้ว่าบางครั้ง การทำ CPR ไม่สำเร็จ  อาจเป็นเพราะกดหน้าอกเบาไป ช้าไป กดไม่ตรงจุด หรือเข้าไปช่วยเหลือเพื่อทำการปั๊มหัวใจช้าเกินไปตั้งแต่แรก

อย่างไรก็ตาม ระหว่างการทำ CPR  ควรเรียกคนมาช่วย รีบโทร 1669 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่เร็วที่สุด หากสามารถนำส่งโรงพยาบาลด้วยตัวเองได้ ก็สามารถทำ CPR ระหว่างนำส่งโรงพยาบาลได้เช่นกันครับ” ภูผา  กล่าว 

www.medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ ของคนรุ่นใหม่

"Health News Leader Thailand and Health Data Science" 

https://www.facebook.com/Dr.sasook

ภาพจาก amarintv, เพจ Drama-addict ฯลฯ 

 

22 ธันวาคม 2565

ผู้ชม 2400 ครั้ง

Engine by shopup.com