กลุ่มสัตวแพทย์ แนะ “กรมปศุสัตว์” - “กรมควบคุมโรค” ทำงานเชิงรุก เก็บภาษี ไม่ใช่ทางออก
กลุ่มสัตวแพทย์ แนะ “กรมปศุสัตว์” - “กรมควบคุมโรค” ทำงานเชิงรุก เก็บภาษี ไม่ใช่ทางออก
กลายเป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากสำหรับประเด็นการ “เซ็ท ซีโร่” ( Set Zero ) อ้างว่า "ฆ่าสุนัขจรจัดให้หมด" หลังจากเกิดโรคพิษสุนัขบ้าระบาดในประเทศไทย
จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เรื่องนี้นับเป็นเรื่องใกล้ตัวของคนไทย และทำให้หลายคนกังวลว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลง เมื่อประเด็นนี้ถูกเผยแพร่ออกมาทำให้มีความคิดเห็นหลายฝ่าย ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
เมื่อกำลังเป็นปัญหาสังคมแบบนี้ กองบรรณาธิการ www.medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพของคนรุ่นใหม่ และ เพจ sasook รายงานว่า
กลุ่มสัตวแพทย์จำนวนมากได้ออกมาเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา ตามที่กรมปศุสัตว์ กรมควบคุมโรค กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกัน จัดทำแผนยุทธศาสตร์ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และมีความต่อเนื่อง
แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำตามแผน มีการโยนอำนาจหน้าที่ไปให้กันและกัน ส่งผลมีคนตายแล้ว 6 ราย เฉพาะปี 2561
ขณะที่ สัตวแพทย์ แนะ “กรมปศุสัตว์” - “กรมควบคุมโรค” ทำงานเชิงรุกให้มีศักยภาพมากกว่านี้ หากควบรวมหน่วยงานจะดีขึ้น พบปัญหา “ฉีดวัคซีน” ไม่ได้คุณภาพ โดยผู้ที่ฉีดวัคซีนต้องมีความรู้ที่ดี มีการเก็บวัคซีนในอุณหภูมิที่ถูกต้อง
ด้าน นายสัตวแพทย์สุพจน์ ทรัพย์สินสุนทร จาก โรงพยาบาลสัตว์ SOS ซ.วิภาวดี 60 หรือ SOS The pet hospital กล่าวว่า การออกมาพูดเรื่องการจัดเก็บภาษี ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา แต่จะพบทำให้เกิดหมาแมวจรจัดมากขึ้น ในต่างประเทศมีการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้นวัตกรรมที่ทำให้คนรักสัตว์ ไม่รู้สึกว่าทรมานสัตว์เลี้ยง
ด้าน นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ กรณีโรคพิษสุนัขบ้า ว่า กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ดูแลรักษาผู้ที่ถูกสุนัข แมว กัดหรือข่วน รวมทั้งผู้สัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
ซึ่งโรคนี้อันตรายมาก หากเป็นแล้วไม่มียารักษา แต่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประชาชน ทุกคนทุกสิทธิการรักษา สามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
ในส่วนการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์นั้น มีหลายหน่วยงานดูแลและมีหลายมาตรการในการควบคุม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขไม่มีอำนาจก้าวล่วงเข้าไปดูแลในเรื่องสัตว์ โรคพิษสุนัขบ้าเป็นปัญหาในประเทศไทยเรื้อรังมานาน
ไม่สามารถแก้ไขกันได้ภายในวันเดียวหรือสองวัน ต้องใช้หลายวิธีหลายมาตรการในการแก้ปัญหา ที่สำคัญที่สุดคือ ขอให้ประชาชนตระหนักในการจะมีสัตว์เลี้ยง ต้องสามารถดูแลให้ดี ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ อาหาร ยารักษาโรค วัคซีน และไม่ควรปล่อยให้สัตว์ออกมาอยู่ภายนอกการดูแล
“ส่วนเรื่องมาตรการการเก็บภาษีสัตว์เลี้ยงนั้น เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ได้มีผลใด และเป็นเพียงการยกตัวอย่างมาตรการหนึ่งที่ต่างประเทศทำ ที่มีการจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง และมีเรื่องภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง
เช่น กำหนดให้เลี้ยงได้ครอบครัวละ 1-2 ตัว หากเลี้ยงมากกว่าก็จะมีการเก็บภาษี ซึ่งประเทศไทย ยังไม่มีมาตรการนี้ และกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่มีอำนาจที่จะดำเนินการในเรื่องเหล่านี้
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
Thailand Health and Wellness News
( ไทยแลนด์ เฮลท์ แอนด์ เวลเนสนิวส์ )
15 กันยายน 2561
ผู้ชม 4266 ครั้ง