เชิด ร็อคแสลง เจ้าของเพลง มอเตอร์ไซค์ฮ่าง เสียชีวิตด้วยโรคตับแข็ง ภัยต่อเนื่องไปสู่ โรคมะเร็งตับ เว็บไซต์สุขภาพ

บทความ

เชิดร็อคแสลงป่วย เจ้าของเพลง มอเตอร์ไซค์ฮ่าง เสียชีวิตด้วยโรคตับแข็ง ภัยต่อเนื่องสู่ โรคมะเร็งตับ

News Update วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 62 : เชิดร็อคแสลงมอเตอร์ไซค์ฮ่าง / มอเตอร์ไซค์ฮ่างเชิดร็อคแสลง / เชิดร็อคแสลงป่วย / เชิด ร็อคแสลง / ร็อคแสลง / มอเตอร์ไซค์ฮ่าง / โรคตับแข็ง / โรคมะเร็งตับ / สิ้นตำนานมอเตอร์ไซค์ฮ่าง 

ปี 2562 วงการบันเทิงไทยสูญเสีย นายอุดม ทรงแสง หรือที่เรียกกันในวงการบันเทิงว่า พ่อดม ชวนชื่น หรือ อุดม ชวนชื่น อายุ 83 ปี ที่เสียชีวิตลง ณ รพ.พระนั่งเกล้า ด้วยโรคมะเร็งตับไปแล้ว 

ล่าสุด กรณี "เชิด ร็อคแสลงหรือ นายบุญเชิด พรมประโคน อายุ 40 ปี อดีตนักร้องชื่อดัง เจ้าของเสียงเพลง "มอเตอร์ไซค์ฮ่าง" ได้ล้มป่วยลงด้วยโรคตับแข็งระยะสุดท้าย

น.ส.ปาริชาติเจตนา อายุ 40 ปี ภรรยาเชิด ร็อคแสลง ได้ออกมาเผยอาการก่อนหน้านี้ว่า ตอนนี้ทรุดหนัก ค่อนข้างโคม่าชัก มีเลือดพุ่งออกปากและก้น น็อกกะทันหัน

เมื่อช่วงบ่าย วันที่ 3 มิ.ย. "เชิด ร็อคแสลง" ที่อยู่ในอาการโคม่าตัวร้อนไข้ไม่ลดไข้ ร่างกายไม่รับน้ำเกลือ จนภรรยาโพสต์ข้อความแจ้งข่าวร้ายว่า "ไร้ซึ่งปาฏิหาริย์...หลับให้สบายนะพี่ ไม่ต้องห่วงหนูกับลูก..หนูจะเข้มแข็ง"

ทั้งนี้ โรคตับแข็ง เป็นภัยต่อเนื่องไปสู่มะเร็งตับ ผลพวงจากตับอักเสบที่ปล่อยปละละเลยมานานจนเป็นโรคเรื้อรังจะทำให้มีการอักเสบซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเกิดพังผืดหรือแผลเป็นในตับมากขึ้นเรื่อย ๆ

ผิวตับที่เคยเรียบลื่นจะหยาบและขรุขระ เนื้อตับส่วนที่ยังดีลดลง ๆ ขณะที่พังผืดหรือแผลเป็นจะแผ่บริเวณกว้างขึ้น ส่งผลกระทบต่อการทำงานตามปกติของตับ เกิดเป็นภาวะที่เรียกว่าโรคตับแข็งในที่สุด

การรักษาภาวะตับแข็งนั้นมีเป้าหมายเพื่อชะลอไม่ให้ตับส่วนที่ยังดีอยู่ถูกทำลายเพิ่มเติม แต่ไม่อาจทำให้เนื้อเยื่อตับที่แข็งไปมากแล้วคืนสู่สภาพปกติได้ทั้งหมด

เป็นการรักษาตามอาการแทรกซ้อนเป็นส่วนใหญ่ และจะต้องติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอเพื่อดูการดำเนินโรคและเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับต่อไป

เชิดร็อคแสลงป่วย

ผู้ป่วยตับแข็งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับสูงมาก จึงต้องให้การดูแลเป็นพิเศษเพื่อป้องกัน หรือตรวจค้นหามะเร็งตับตั้งแต่ระยะแรก ๆ

วิธีสุดท้ายที่จะรักษาโรคตับแข็งระยะท้าย ๆ ได้ผลดี คือการผ่าตัดเปลี่ยนตับ ( Liver Transplantation )

ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ หรือ มะเร็งตับอ่อน ส่วนใหญ่จะทราบว่าป่วยก็อยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว รวมทั้งปัจุบัน ยังไม่สามารถตรวจคัดกรองได้ในระยะเริ่มแรก

โดย กองบรรณาธิการ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพของคนรุ่นใหม่ และ เพจ sasook  รายงานว่า  นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และ โฆษกกรมการแพทย์  ยืนยันว่า แม้โรคมะเร็งตับอ่อน จะพบได้ไม่บ่อยในคนไทย

สถิติมักพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และในเพศชายอายุระหว่าง 60 – 65 ปี  ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด โรคมะเร็งตับอ่อน แต่พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ

ได้แก่ พันธุกรรม โรคอ้วน รับประทานอาหารไขมันสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา และเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคมะเร็งตับอ่อน เป็นโรคที่อาจพบได้น้อย

แต่เมื่อพบแล้วมักอยู่ในระยะลุกลาม และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรอง ที่มีประสิทธิภาพในการค้นหาโรคมะเร็งตับอ่อนในระยะเริ่มต้น 

ดังนั้น ควรป้องกันตนเอง โดยงดสูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติทานอาหารที่มีไขมันต่ำ

และผักผลไม้ ออกกำลังกายเป็นประจำ ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ

อาการของโรคมะเร็งตับอ่อน เมื่อเริ่มเป็นมักไม่มีอาการแน่ชัดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อนมะเร็งในตับอ่อน

ส่วนใหญ่มักมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง จากการที่ก้อนเนื้องอกโตไปกดเบียดท่อน้ำดี หรือมีอาการปวดบริเวณส่วนบนของช่องท้อง และร้าวไปด้านหลัง เนื่องจากตับอ่อนเป็นอวัยวะที่วางตัวอยู่ด้านหลังช่องท้อง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมีอาการมาพบแพทย์มักพบว่ามะเร็งลุกลามไปมากไม่สามารถผ่าตัดเพื่อหวังผลหายขาดได้

ในรายที่โรคลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงมักกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองและเส้นประสาทด้านหลังทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังมาก โดยเฉพาะในระยะท้ายๆ ของโรค ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอ่อนจึงมีอัตราการรอดชีวิตต่ำ

การรักษามะเร็งชนิดนี้ที่สำคัญที่สุดคือการผ่าตัด การรักษามะเร็งตับอ่อนจะได้ผลค่อนข้างดี

หากสามารถผ่าตัดเอาเนื้องอกและอวัยวะข้างเคียงรวมถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณนั้นออกได้ทั้งหมด อาจมีการรักษาเพิ่มเติมโดยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาร่วมด้วยแต่มักไม่ได้ผลดี

ส่วนในรายที่ไม่สามารถผ่าตัดออกได้ หรือ ผ่าออกได้ไม่หมด การรักษาอาจ เป็นการผ่าตัดระบายน้ำดี หรือ ทางเดินอาหาร และ การรักษาแบบประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News   

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

      รหัสคลังภาพ 081208 MD

04 มิถุนายน 2562

ผู้ชม 7968 ครั้ง

Engine by shopup.com