“กรม สบส." หนุน "เมดิคอลฮับ" ต้องไม่มี "สุรา ยาสูบ"

บทความ

“กรม สบส." หนุน "เมดิคอลฮับ" ต้องไม่มี "สุรา ยาสูบ"

ด้วยความที่ กองบรรณาธิการ www.medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพของคนรุ่นใหม่ และ เพจ sasook  ทีมงานเราเน้นในเรื่องของ Thailand Medical  Hub News  หรือ ข่าวสารในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ซึ่งเป็น Positioning  ของ Med Hub News ที่เป็นเอกลักษณ์ เน้นเทรนด์ในอนาคต และ เป็น เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ ของคนรุ่นใหม่ที่มองเห็นการเติบโตในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ออกมาลดความเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้น 

ดังนั้นจึงมีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับ  ธุรกิจที่อยู่ใน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไปด้วย  โดยแผนการพัฒนาไทยสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ หรือ เมดิคอลฮับ  เริ่มต้นเมื่อ 10 ปีก่อน ยังคงเดินหน้าต่อเนื่องมายังปัจจุบัน เดินๆ หยุดๆ ซ้ำวนกันไป

โรงพยาบาลเอกชน เป็นอีกแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ดึงเม็ดเงินจากต่างชาติเข้ามาสู่ประเทศไทยโอกาสและศักยภาพทางการค้าของกลุ่มธุรกิจบริการด้านสุขภาพ ในประเทศไทยเป็นกลุ่มธุรกิจที่สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศอย่างมหาศาล

กลุ่มลูกค้าสำคัญอีกกลุ่มของโรงพยาบาลเอกชนจึงเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวแต่ละปียิ่งทำให้ภาพของ เมดิคอลทราเวล หรือ เมดิคอลเซอร์วิส ชัดเจนขึ้น

เพราะในจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่เดินทางเข้ามาในไทยจำนวนมาก เป็นนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ลูกค้าต่างชาติช่วยให้ผลประกอบการของโรงพยาบาลเอกชน เติบโต  ท่ามกลางคนไทยที่ไม่สามารถไปรักษาพยาบาลได้ และ กำลังซื้อภายในประเทศที่ถดถอย

และ ด้วยความที่ กองบรรณาธิการ www.medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพของคนรุ่นใหม่  ได้นำเอางานวิจัยต่างชาติมาลง และ วิเคราะห์อย่างมากมาย

สิ่งที่  เราเคยไม่ชอบในอดีต คือ บุหรี่ เพราะเหม็น และ แพ้ควันบุหรี่ เราจึงเสาะแสวงหาข่าวนำมาลงเพื่อรณรงค์ไม่ให้คนสูบบุหรี่

แต่ยุคนี้ ยุคดิจิตอล หากข้อมูลที่นำมาลงนั้น เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง เราคงไม่ต้องนำเสนอผลงานวิชาการเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า เพราะทราบไหมว่า คนไทยกว่า 50 % ทราบความจริงกันหมดแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มคนมีฐานะ เข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างประเทศ  และ ศึกษาผลดีผลเสีย หากเลิกได้ เราก็สนับสนุนให้เลิกเลย อย่าไปแตะ

ขณะที่คนเมืองจำนวนมาก มักดูแลสุขภาพร่างกาย แม้ยังเลิกไม่ได้ ก็เลือกใช้ "นวัตกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพ"

ในเมืองไทย ไม่มี เว็บไซต์สุขภาพ หรือ สื่อมวลชนสายสุขภาพ คนไหน เว็บไหน ? ที่กล้า เปิดตัวสนับสนุน เพราะมีแต่เจ็บตัว เปลืองตัว เสียภาพลักษณ์ สังคมไทยไม่ยอมรับการสูบบุหรี่ หากเราพบใครสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ เราก็รังเกียจมากๆ เหมือนกัน 

ขณะเดียวกัน พอทราบผลการศึกษา จากต่างประเทศทั่วโลก ที่เขาหันมาสนับสนุนการใช้บุหรี่ไฟฟ้า  เฉพาะในรายที่ยังสูบบุหรี่ ก็เพื่อต้องการส่งเสริมสุขภาพ พวกเรากำลังเข้าสู่ยุคที่คนเลิกสูบบุหรี่มวนกันแล้ว

จำได้ว่า ? เคยเห็น "บุหรี่ไฟฟ้า" ครั้งแรก ปี 2557 ตอนไปประชุมงานกับหัวหน้างานที่ร้านกาแฟดังร้านหนึ่ง จู่ๆ หัวหน้าก็งัดเอาอะไรก็ไม่รู้ขึ้นมาสูบ แล้วก็พ่นควัน เราก็สังเกตว่ามันคืออะไร เพราะไม่เห็นไฟ ไม่ได้จุดไฟแช็คนี่ และก็ไม่เห็นจะมีกลิ่นชวนอ้วกเลย

ตอนนั้นไม่ได้สนใจ เพราะไม่คิดจะสูบบุหรี่ไฟฟ้า หรือ บุหรี่มวนอยู่แล้ว อย่างที่เรารู้ๆ กันว่ามันอันตรายมาก เสี่ยงโรคมะเร็งและอีกมากมาย แต่พอมาในปีที่ผ่านมา คือ 2560  จากการที่ทำเพจ sasook ขึ้นมา คิด วิเคราะห์ แยกแยะ พบว่ามีข้อดี มากกว่าข้อเสีย

กลับมาที่ เมดิคอลฮับ  จะพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทั้งหมดที่เดินทางเข้ามาในไทยจำนวนมาก เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ชอบเที่ยวธรรมชาติ ทะเล ภูเขา แต่สิ่งที่เขานำเอามาด้วยคือ บุหรี่ไฟฟ้า อุปกรณ์ที่มีงานวิจัยรองรับว่าลดอันตรายจากสารเคมีต่างๆ ได้ 95 %

ดังนั้น บุหรี่ไฟฟ้า กับ จำนวนนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีความสัมพันธ์กัน บางคนบินมาศัลยกรรมเป็นเดือนๆ หรือมารักษาโรค และต้องใช้ บุหรี่ไฟฟ้า ที่มีอันตรายน้อยมาก หรือ แทบไม่ก่อให้เกิดโรคเลย

สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือการกำหนดนโยบาย การออกกฎหมาย  ที่จะเอื้อต่อธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศ ที่มีศักยภาพสูง หากทุกคนสลัดผลประโยชน์ออกให้หมด องค์กรไหนรณรงค์เรื่องบุหรี่ ก็ทำต่อไป เพราะบุหรี่ก็ถือว่าเป็นสิ่งทำลายสุขภาพเหมือนเดิม เพียงแต่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม อัพเดท ทั้งหมด

เพราะ กฎหมายที่อยากให้ออกมาคือ "การควบคุมอย่างถูกกฎหมาย" ไม่ใช่ปล่อยให้ขายเสรี  เพราะตอนนี้ผิดกฎหมายศุลกากร ตำรวจไทยเราก็บ้านนอกมาก เขียนสำนวนคดี ยังงงๆ มึนๆ บางคนรู้ดีว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตราย เพียงแต่อยากจับ ทำผลงานเท่านั้น !! 

ล่าสุด นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุขไปเป็นประธานการประชุมเรื่อง “การพัฒนามาตรฐาน Healthy Home Stay” ร่วมกับ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ

เพื่อส่งเสริมการดำเนินการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ให้มีการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างถูกสุขลักษณะสะอาดสวยงามปลอดภัยสามารถดูแลสุขภาพของผู้พัก

โดยใช้หลัก 3 อ. 2ส.สามารถปรุงอาหาร  มีกิจกรรมออกกำลังกาย สร้างบรรยากาศ อารมณ์ผ่อนคลายให้เหมาะกับผู้มาพักที่มีโรคประจำตัว ไม่มีเรื่องสุรา ยาสูบ

และมีความสามารถเรื่องช่วยฟื้นคืนชีพ เพื่อให้เป็นไปตาม นโยบาย All Policies for Health ให้ผู้พักได้ทั้งพักผ่อน หย่อนใจและผ่อนคลายสุขภาพ

แหม .... เขียนข่าว แอบมาเหน็บกันว่า ”ไม่มีเรื่องสุรา ยาสูบ” อาจจะคิดว่า เพราะมีสื่อเว็บไซต์สุขภาพที่เน้นนำเสนอข่าวสาร การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ  เป็นนักข่าวแกะดำ หรือใช้คำว่า "แกะกล้า" สายสุขภาพสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าจะดีกว่า 

ทุกวันนี้ก็รู้ตัวดีว่าท่านก็อ่านกัน แต่ไม่มีใครกล้าพูด แม้กระทั่งผมมีหมอที่ผมนับถือ และ สนิทมากๆ บ้านก็อยู่จังหวัดเดียวกัน ตอนนี้ท่านนั่งทำงานในกระทรวงสาธารณสุข ตำแหน่งใหญ่โต ผมยังให้เกียรติท่านที่จะไม่ถามเรื่องนี้เด็ดขาด เพราะไม่อยากให้ลำบากใจ   

ในเมื่อ กรม สบส. ออกข่าว จุดกระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเข้าสู่ประเทศแล้ว

ครั้งต่อไปท่านก็ต้องสานงาน  การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ให้สำเร็จ ดูเป็นรูปธรรม ไม่ใช่แค่เอาโต๊ะไปตั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิหนึ่งตัว ดอนเมืองอีกหนึ่งตัว แค่นั้น ไม่ได้เรียกว่าขับเคลื่อนนะครับ

เพราะเขาเรียกว่า แค่ทำให้มันเสร็จๆ ไป จะได้มีผลงานไปรายงาน รมต.สธ. หรือ ผู้ช่วย รมต. แบบนี้อย่าทำเลย เสียงบประมาณครับ !!


ส่วนอีกเรื่อง วันนี้ ( 26 มีนาคม 2561) แพทย์หญิงประนอม คำเที่ยง อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข นำคณะผู้บริหารกรม สบส. ร่วมทบทวนภารกิจ โครงสร้างภายใน และวิเคราะห์อัตรากำลังของหน่วยงานในสังกัดกรม สบส.

เพื่อขานรับนโยบายและวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งยั่งยืน และนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพที่นับเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านระบบบริการสุขภาพ

ให้ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดภัย รวมทั้ง การลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบระบบสุขภาพโดยรวมของประชาชนทั้งประเทศ


เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News  

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา    

 

27 พฤศจิกายน 2565

ผู้ชม 3060 ครั้ง

Engine by shopup.com