ข้อดีของ วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันเชื้อไวรัส HPV ที่อาจก่อโรคบริเวณอวัยวะเพศ และทวารหนักจนลุกลาม รักษาไม่หาย
ข้อดีของ วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันเชื้อไวรัส HPV ที่อาจก่อโรคบริเวณอวัยวะเพศ และทวารหนักจนลุกลาม รักษาไม่หาย
News Update วันอังคารที่ 1 กันยายน 2563 - ข่าวล่าสุดวันนี้ : ย้อนกลับไปในอดีต ข่าวการสูญเสียนักแสดงตลกในวงการบันเทิง "ไข่มุก ซุปตาร์" หรือ ไข่มุก พิพัฒน์ ผึ้งทรัพย์
ที่ก่อนหน้านี้เข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการป่วยโรคมะเร็งผิวหนัง บริเวณสะโพก ลามจนถึงก้น
และมีอาการแทรกซ้อนอยู่เป็นระยะ พร้อมทั้งมีกลุ่มเพื่อนดาราที่รู้จักแวะเวียนมาเยี่ยมอาการ รวมทั้งขอรับเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือเงินค่าทำคีโม
ซึ่งสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ เอชพีวี ( HPV : Human papilloma Virus) เป็นไวรัสที่ก่อโรคบริเวณอวัยวะเพศ และทวารหนัก เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก มะเร็งผิวหนัง หูดหงอนไก่ สามารถก่อมะเร็งได้ทั้งชายและหญิง
เชื้อนี้ติดต่อกันได้ง่าย โดยคนส่วนมากที่มีเชื้อนี้โดยไม่รู้ตัว HPV ไม่ใช่เชื้อเริมหรือเอชไอวี แต่ไวรัสทั้งหมดนี้สามารถแพร่ได้โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และแสดงอาการแตกต่างกัน
เนื่องจากเชื้อนี้บางชนิด อาจจะทำให้เกิดลักษณะเหมือน หูด จึงเรียกว่า papillomaviruses หูดนี้สามารถเกิดได้ที่มือและเท้า และยังเกิดที่คอ และอวัยวะเพศ
เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า บทเรียนของเชื้อ เอชพีวี ( HPV )
ที่คนทั่วไปนิยมป้องกัน ด้วยการฉีด วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันเชื้อ เอชพีวี ( HPV )
ต้นเหตุของโรคต่างๆ หลายโรค
เช่น “มะเร็งผิวหนัง” เนื้อร้ายที่เกิดบนผิวหนังและเยื่อบุ
เนื่องจากความผิดปกติของการเจริญเติบโต และการแบ่งเซลล์ของผิวหนังและเยื่อบุ
มะเร็งผิวหนังมีหลายชนิด ในเมืองไทย เราอาจจะคุ้นเคยกับ “มะเร็งผิวหนัง” ภายนอกร่มผ้า
เพราะไทยเป็นเมืองที่มีแสงแดดจัด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งผิวหนัง
ดังนั้น ทำให้ละเลย ค้นหาเฝ้าระวัง มะเร็งผิวหนังในร่มผ้า กรณีอยู่ในร่มผ้า ต้องสังเกตความผิดปกติของผิวหนัง
ทั้ง ไฝ ผื่น หรือ ก้อน ที่โตเร็วกว่าปกติหรือไม่ มีสีเปลี่ยน มีแผลเรื้อรังที่ไม่หายและขยายออกหรือไม่
พบผื่นที่ใช้ยาทาแล้วไม่หายหรือไม่ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
มีเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น HPV ที่ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ หรือ บริเวณใกล้เคียงหรือไม่
หรือ ผิวหนังในบริเวณที่เคยได้รับรังสีรักษา ( อ้างอิง HPV and Skin Cancer Risks )
HPV และความเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง
การป้องกันมะเร็งผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นที่อวัยวะใด ถ้าสามารถตรวจพบตั้งแต่แรก และกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติออกได้หมด ก็สามารถหายขาดได้
มะเร็งผิวหนังมีข้อเด่นคือ ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มอยู่ภายนอก เราสามารถมองเห็นได้ จึงทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติในระยะเริ่มแรกได้รวดเร็ว และยังติดตามการรักษาได้ง่าย
ส่วนกรณีพบเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น HPV ที่ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ หรือ บริเวณใกล้เคียงนั้น ขณะนี้ไทยได้บรรจุวัคซีนป้องกันโรคชนิดนี้ในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว
สำหรับ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นไวรัสที่พบได้บ่อย และสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะทางช่องคลอด รู ทวาร หรือ ช่องปาก
เชื้อ human papillomavirus เป็นกลุ่มเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 150 สายพันธุ์ และสามารถติดได้ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
การติดเชื้อ HPV ทำให้เกิด หูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก และการติดเชื้อ HPV บางสายพันธุ์อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค องค์การเภสัชกรรม ( GPO ) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
ได้ดำเนินการร่วมกันในการจัดหาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือ วัคซีนเอชพีวี เพื่อลดการเสียชีวิตของสตรีไทยจากมะเร็งปากมดลูก
ซึ่งคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้บรรจุวัคซีน เอชพีวี ทั้งชนิด 2 สายพันธุ์ ( ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ) และ 4 สายพันธุ์ ( ป้องกันมะเร็งปากมดลูก และ หูดหงอนไก่ ) ไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว
โดยในปีที่ผ่านมา องค์การเภสัชกรรม ได้จัดหาวัคซีนให้กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้พอเพียงเป็นไปตามแผนการดำเนินงานของประเทศ และ การจัดซื้อวัคซีนประหยัดงบประมาณได้ 36 ล้านบาท
สำหรับด้านประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งมดลูกนั้น คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ยืนยันว่าวัคซีนทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน
สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้เท่ากัน และวัคซีนทั้งสองชนิดนี้ในต่างประเทศก็ยังมีการใช้อยู่
โดยมีประเทศที่ ใช้วัคซีนเอชพีวีชนิด 2 สายพันธุ์ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 29 ประเทศ เช่น สก็อตแลนด์ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี สเปน เม็กซิโก แอฟริกาใต้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เป็นต้น
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
08 กันยายน 2563
ผู้ชม 11198 ครั้ง