เปิดงานวิจัย "อาการติดมือถือ" หรือ "โรคโนโมโฟเบีย" ชี้ พฤติกรรมสุดอันตราย หวาดกลัว วิตกกังวล จนทำให้เกิด "สังคมก้มหน้า" แม้ขับขี่รถบนท้องถนน ก็ยังแอบเปิดอ่านไลน์ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ ของคนรุ่นใหม่ ข่าวสารสาธารณสุข,ข่าวสุขภาพวันนี้,ข่าววันนี้,ข่าวสุขภาพ,ข่าวสาธารณสุข,เว็บไซต์เพื่อสุขภาพ

บทความ

เปิดงานวิจัย "อาการติดมือถือ" หรือ "โรคโนโมโฟเบีย" ชี้ พฤติกรรมสุดอันตราย

เว็บไซต์สุขภาพ www.medhubnews.com และ เพจ sasook รายงานว่า แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ออกมาระบุถึง ยุคที่โทรศัพท์สมาร์ทโฟน กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการติดต่อสื่อสาร แต่บางกลุ่มมีพฤติกรรมติดอยู่กับการเล่นโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา

เช่น พกติดตัว ต้องวางไว้ใกล้ตัวเสมอ รู้สึกกังวลเมื่อมือถือไม่ได้อยู่กับตัวหรือแบตเตอรี่หมด คอยเช็กข้อความจากโซเชียลมีเดีย หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูบ่อยแม้ไม่มีเรื่องด่วน ตื่นนอนจะเช็กโทรศัพท์ก่อนและยังคงเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน ติดเกม

พฤติกรรมเหล่านี้ จะถูกวินิจฉัยว่าเป็น อาการติดโทรศัพท์มือถือ ( Nomophobia )  และบางรายอาจมีอาการเครียด ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ หากไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่กับตัว โทรศัพท์เเบตหมด หรือว่าอยู่ในที่ไร้สัญญาณ

อาการติดโทรศัพท์มือถือจะส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างและสังคม โดยเฉพาะด้านสุขภาพร่างกาย เช่น 1.นิ้วล็อก เกิดจากการใช้นิ้วกด จิ้ม สไลด์ หน้าจอเป็นระยะเวลานาน 2.อาการทางสายตา

เช่น ตาล้า ตาพร่า ตาแห้ง เกิดจากเพ่งสายตาจ้องหน้าจอเล็กๆ ที่มีแสงจ้านานเกินไป อาจส่งผลให้วุ้นในตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม 3.ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ จากการก้มหน้า ค้อมตัวลง ส่งผล เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

หากเล่นนานๆ อาจมีอาการปวดศีรษะตามมา รวมไปถึงหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร  4.โรคอ้วน แม้พฤติกรรมจะไม่ส่งผลโดยตรง แต่การนั่งทั้งวันโดยไม่ลุกเดินไปไหน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเรื่อรังอื่นๆได้

เว็บไซต์สุขภาพ www.medhubnews.com และ เพจ sasook รายงานด้วยว่า สำหรับ งานวิจัย โนโมโฟเบีย หรือ Nomophobia  มีที่มาจากคำว่า "no mobile phone phobia" ได้ทำเมื่อปี 2010

โดยพบว่าพฤติกรรมติดมือถือ จะมีอาการ หวาดกลัว วิตกกังวลเมื่อขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร และอาการนี้อยู่ในกลุ่มอาการวิตกกังวล

งานวิจัย ที่เป็นที่มาของโรคนี้ได้ทำการศึกษา ผู้ใช้มือถือ 2,163 คนใน สหราชอาณาจักร และพบว่า 53% ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ใน สหราชอาณาจักร จะเกิดอาการวิตกกังวลเมื่อพบว่าโทรศัพท์หาย แบตเตอรี่หมด หรือ อยู่ในสถานที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์

อีกทั้งยังพบว่า 58% ของผู้ชาย และ 47% ของผู้หญิงที่ใช้โทรศัพท์มือถือมีอาการของ nomophobia และในจำนวนนี้มีถึง 9% ของกลุ่มที่ศึกษา ระบุว่ารู้สึกเครียดมากถ้าโทรศัพท์ของตนเองใช้การไม่ได้

และเมื่อให้ผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ระบุถึงระดับของ ความเครียดจากการขาดโทรศัพท์มือถือนั้น ความเครียดที่เกิดขึ้นเทียบเท่ากับความเครียดที่เกิดขึ้น ก่อนวันแต่งงาน หรือ ความเครียด ระดับเดียวกับการไปพบทันตแพทย์เลยทีเดียว

จากงานวิจัยที่ทำพบว่า โนโมโฟเบียพบ มากที่สุดในกลุ่มคนในช่วงอายุ 18-24 ปี โดยคิดเป็นร้อยละ 77 รองลงมาคือกลุ่มคนในช่วงอายุ 25-34 ปี และกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 55 ปีตามลำดับ

ขณะที่บรรดาชาวโลกออนไลน์ ได้แสดงความเป็นห่วงในทิศทางเดียวกัน คือ บุตรหลานของตนเอง เริ่มติดมือถือตั้งแต่ 4-5 ขวบแล้ว เนื่องจากชอบเล่นเกมส์ในเฟสบุ๊ค ซึ่งบางครั้งกระทบต่อการเรียน และ พัฒนาการตามช่วงวัย 

รวมทั้งผู้คนในปัจจุบันก็ก้มหน้าจนไม่สนใจสิ่งรอบตัว จนทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การขับขี่รถบนท้องถนน เป็นอันตรายต่อตัวเอง และ ทำให้ผู้อื่นต้องได้รับผลกระทบ บาดเจ็บ หรือ เสียชีวิตได้ ซึ่งเราจะพบเห็นได้จากข่าวตามสื่อมวลชนเป็นประจำ  

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ ของคนรุ่นใหม่

10 เมษายน 2561

ผู้ชม 4425 ครั้ง

Engine by shopup.com