"จิตแพทย์ เชียงใหม่" พบ สถิติ "พ่อแม่ ผู้ปกครอง" ที่มีลูกเป็น "ออทิสติก" ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ถึงขั้นฆ่าตัวตายสูง
"จิตแพทย์ เชียงใหม่" พบ สถิติ "พ่อแม่ ผู้ปกครอง" ที่มีลูกเป็น "ออทิสติก" ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ถึงขั้นฆ่าตัวตายสูง
สถิติ "พ่อแม่ ผู้ปกครอง" มีลูกเป็นออทิสติก
พ่อแม่ เครียดป่วยซึมเศร้า ถึงขั้นฆ่าตัวตายสูง
MED HUB NEWS - ทุกวันนี้บ้านไหนต้องดูแลเด็กธรรมดาๆ ไม่ได้ป่วย ก็เหนื่อยแล้ว แต่หากเป็นเด็กพิเศษ ยิ่งทำให้เหนื่อยกว่าอีก หลายๆ เท่า เว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ เพจ sasook รายงานว่า ภายหลังจากกรมสุขภาพจิตตรวจการดำเนินงานของ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่
พบว่าในปี 2560 มีเด็กเข้ารับบริการทั้งหมด 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 300 คน กลุ่มโรคที่พบมากที่สุด คือออทิสติก สมาธิสั้น และ สมองพิการ มีผู้ป่วยปีละประมาณ 30,000 คน หรือเกือบร้อยละ 60 ของผู้ป่วยทั้งหมด
โดยแนวโน้มผู้ป่วยมากขึ้น ได้ให้ปรับปรุงแผนกผู้ป่วยนอกให้มีสภาพคล้ายกับบ้าน แต่ปัญหาส่งผลกระทบต่อพ่อแม ครอบครัว
เนื่องจากต้องคอยช่วยเหลือเด็กทุกด้านในชีวิตประจำวันตลอดเวลาจึงเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าครอบครัวทั่วไปทั้งภาระการดูแลเด็ก ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการพาเด็กเข้าๆออกๆโรงพยาบาล
ความไม่เข้าใจกัน ทะเลาะ หย่าร้างกัน หรือมี ภาวะซึมเศร้าถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ ผลสำรวจของสถาบันพัฒนาการเด็กฯพบว่าผู้ปกครองเด็กป่วยจิตเวช 3 โรคนี้มีความเครียดสูงถึงร้อยละ 64
เช่น นอนไม่หลับ กังวลใจ และมีปัญหาสุขภาพจิตร้อยละ 58 เช่นท้อแท้ ซึมเศร้า เบื่อหน่ายลูก บางรายสามีห่างเหินจึงมีนโยบายให้เปิดคลินิกดูแลสุขภาพจิตผู้ปกครองเด็กพิเศษควบคู่ไปด้วย
ด้าน แพทย์หญิงดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเด็กราชนครินทร์ ให้ข้อมูลว่าการให้บริการส่งเสริมดูแลสุขภาพจิตกับพ่อแม่ครอบครัวของเด็กพิเศษนี้ จะรับผู้ปกครองในรายที่มีปัญหาทางสังคมจิตใจที่คลินิกต่างๆไม่สามารถให้การช่วยเหลือได้ หรือในรายที่มีปัญหายุ่งยากซับซ้อน
เช่น มีภาวะซึมเศร้าหรือมีความเครียดในระดับรุนแรง มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย เพื่อบำบัดทุกข์เพิ่มความเข้มแข็งทางใจให้ผู้ปกครองตลอดจนการให้คุณค่าความสำคัญของตนเองต่อลูก
ปัญหาหลักของผู้ปกครองเด็กออทิสติก คือ เครียด เบื่อหน่าย ท้อแท้ที่เด็กไม่พูด พูดไม่รู้เรื่องไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ทำตามคำสั่งไม่ได้ กรีดร้องเสียงดังไม่นิ่ง ขับถ่ายทุกที่ที่อยากถ่าย เด็กทำร้ายตนเอง อาการของลูกไม่ดีขึ้นอย่างที่ต้องการ สามีห่างเหิน ไม่ช่วยดูแลลูก และ เครียดจากรายได้ไม่พอ
หลังจากที่ผู้ปกครองได้รับบริการดูแลด้านจิตใจแล้ว พบว่าสามารถให้การดูแลการกินยาของเด็กดีขึ้นชัดเจน เด็กกินยาตามแพทย์สั่งได้สูงถึงร้อยละ 100 โดยสามารถปรึกษาปัญหาได้ฟรีทางสายด่วนสุขภาพจิต 1323
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ
Thailand Health and Wellness News
( ไทยแลนด์ เฮลท์ แอนด์ เวลเนสนิวส์ )
16 มกราคม 2562
ผู้ชม 3758 ครั้ง