ซีรีส์ Side by Side ออนแอร์รีรันอีกครั้ง เนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาเด็กออทิสติก ทำให้ "พ่อแม่ ครอบครัวเด็กออทิสติก" น้ำตาไหล "ชีวิตเหมือนตายทั้งเป็น" เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com

บทความ

"พ่อแม่เด็กออทิสติก" น้ำตาไหล ดูซีรีส์ Side by Side เนื้อหาเกี่ยวกับ "เด็กออทิสติก" เหมือนความจริง

ภายหลังจากเมดฮับนิวส์ดอทคอม medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ เพจ sasook นำเสนอว่า  กรมสุขภาพจิต ดูงานของสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่   

ระบุถึงสถิติ ในปี 2560 มีเด็กเข้ารับบริการทั้งหมด 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 300 คน  กลุ่มโรคที่พบมากที่สุด คือออทิสติก สมาธิสั้น และ สมองพิการ มีผู้ป่วยปีละประมาณ 30,000 คน หรือเกือบร้อยละ 60 ของผู้ป่วยทั้งหมด

โดยดำเนินโครงการให้บริการส่งเสริมดูแลสุขภาพจิตกับพ่อแม่ครอบครัวของเด็กพิเศษ ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้รับเสียงสะท้อนกลับมามากมาย ทั้งการแชร์ตามบอร์ดต่างๆ และ เพจ Sasook ตามลิ้งนี้ ( ปัญหาออทิสติกในไทย ) ว่า ขอขอบคุณอธิบดีกรมสุขภาพจิต รวมทั้งระบายปัญหาต่างๆ นานา

สำหรับ ปัญหาส่งผลกระทบต่อพ่อแม่ ครอบครัว ผู้ปกครองเด็กออทิสติก เช่น ซึมเศร้า หรือ มีความเครียดในระดับรุนแรง มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย  เบื่อหน่าย ท้อแท้ที่เด็กไม่พูด พูดไม่รู้เรื่องไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ทำตามคำสั่งไม่ได้

กรีดร้องเสียงดังไม่นิ่ง โวยวาย ขับถ่ายทุกที่ที่อยากถ่าย เด็กทำร้ายตนเอง อาการของลูกไม่ดีขึ้นอย่างที่ต้องการ สามีห่างเหิน ไม่ช่วยดูแลลูก และ เครียดจากรายได้ไม่พอ

กระทั่งทางช่อง GMM 25 นำเอา ซีรีส์ Project S Side by Side เป็นเรื่องราวที่เสมือนจริงของครอบครัว ผู้ปกครองเด็กออทิสติกมาก โดยมี ต่อ  ธนภพ ลีรัตนขจร มาสวมบทเป็น เด็กออทิสติก  “แม่ตั้ม” ( เปิ้ล หัทยา วงษ์กระจ่าง )  และ “แม่แตง” ( สู่ขวัญ บูลกุล ) ที่ทำให้แม่ของเด็กออทิสติก  น้ำตาไหล

สำหรับเสียงสะท้อนกลับมา ทางกองบรรณาธิการ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ ยกตัวอย่าง เช่น บางคนบอกว่า คนอื่นๆ ถ้าไม่มีลูกป่วยออทิสติกก็ไม่เข้าใจหัวอกพ่อแม่ที่เหมือนตายทั้งเป็น 

“ตอนเรียนเคยคิด ทำวิจัยเรื่องนี้ คิดเรื่องการบำบัดพ่อแม่ ก่อนบำบัดลูก ก็ไม่มีใครสนใจ ตอนนี้คิดเรื่องตัดตอน ลด ภาวะออทิสติกก็ไม่มีใครสนใจอีก เหนื่อยใจเมืองไทย”

“เรื่องนี้จริงที่สุด ควรช่วยบำบัดพ่อแม่ก่อน เมื่อพ่อแม่โอเค แล้วทุกอย่างก็จะไปได้ดี ไม่มีใครคิดทำ ไม่มีใครให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เลยต้องทำเองช่วยกันเองเท่าที่จะทำได้"

“อยากให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง เสริมพลังสร้างกำลังใจ เพื่อดูแลลูกได้อย่างมีความสุข" โครงการในฝันที่คิดทำและอยากให้มีคนสานต่อ”

“เรื่องจริงที่สุด...แต่รู้ตัวค่ะจึงไปหาหมอรับยารักษาตัวเองเพื่อดูแลลูก”

“เจอมากับตัว หลายคนมาก บางคนช่วยได้ บางคนช่วยไม่ได้ เพราะบางคนไม่ยอมไปหาหมอ ไม่ยอมเปิดใจ ไม่ยอมรับ ในสิ่งที่ลูกเป็น เครียด แล้วก็ซึมเศร้าตามมา

เพราะปัญหาที่ตามมาเมื่อรู้ว่าลูกมีภาวะ เช่น ครอบครัว สามี ภรรยาเลิกรา ฐานะทางการเงินมีปัญหา เพราะส่วนมากพ่อจะหาเงินคนเดียว แม่ต้องเลี้ยงลูก ทั้งหมดทั้งมวลต้องแก้ที่ต้นตอของปัญหาก่อน แล้วเรื่องลูกจะมีแนวทางการดูแลต่อไป”

หากใครที่ติดตามชม หวังว่าจะเข้าใจปัญหาออทิสติก และ ควรเห็นใจ ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อพ่อแม่ ครอบครัว ผู้ปกครองเด็กออทิสติก สิ่งที่สังคมช่วยได้คือ เข้าใจเด็กออทิสติก อย่ารังเกียจ หรือ พูดจา  รำคาญ เพราะทั้งหมดคืออาการของ เด็กออทิสติก

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ 

Thailand Health and Wellness News  

( ไทยแลนด์ เฮลท์ แอนด์ เวลเนสนิวส์  ) 

ภาพจาก GDH

09 มกราคม 2562

ผู้ชม 3162 ครั้ง

Engine by shopup.com