"กัญชาทางการแพทย์" ความหวังของ "ผู้ป่วย Parkinson พาร์กินสัน" โรคสุดทรมาน มือสั่น วิจัยชี้ช่วยผู้ป่วย ลมชัก อัลไซเมอร์ ออทิสติก
"กัญชาทางการแพทย์" ความหวังของ "ผู้ป่วย Parkinson พาร์กินสัน" โรคสุดทรมาน มือสั่น วิจัยชี้ช่วยผู้ป่วย ลมชัก อัลไซเมอร์ ออทิสติก
News Update 4 เมษายน 2019 : การปลดล็อกกัญชาทางการแพทย์ เป้าหมายคือ การให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะผู้ป่วย จากโรคที่รักษาไม่ได้และมีภาวะที่ยากต่อการควบคุม
ดังนั้นในสังคมผู้สูงอายุทำให้ กัญชา เป็นความหวังของผู้ป่วย Parkinson พาร์กินสัน ซึ่งโรคพาร์กินสัน หรือ โรคสั่น
เป็นอีกโรคหนึ่งที่ผู้ป่วยจะได้รับความทรมานเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยจะมีอาการมือสั่น เคลื่อนไหวลำบาก เป็นความหวังของลูกหลานที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ
กัญชาทางการแพทย์ มีความสำคัญกับ โรคทางระบบประสาทและ สมอง เช่น โรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ การป้องกัน การชะลอโรค และการบรรเทาอาการ รวมทั้ง โรคลมชัก ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ ที่ไม่สามารถคุมด้วยยากันชักหนึ่งชนิด
ขณะที่ข่าวเศร้าใจในวันนี้ เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 4 เม.ย. ร.ต.อ.ดุสิต รัตนกินรี รอง สว.(สอบสวน) สน.ปากคลองสาน รับแจ้งเหตุ พบผู้เสียชีวิตลอยที่แม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ท่าเรือสะพานพุทธ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กทม.
จึงรุดตรวจสอบพร้อม แพทย์นิติเวช รพ.ศิริราช และอาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญูที่เกิดเหตุพบศพหญิงลอยน้ำคว่ำหน้า ผมขาว สวมเสื้อลายดอก กางเกงขาสั้น สีดำ เจ้าหน้าที่จึงนำร่างขึ้นฝั่ง ทราบชื่อน.ส.แดง โสภณวัฒนพงศ์ อายุ 70 ปี สภาพ ในกระเป๋ากางเกง
พบขวดยารักษา โรคพาร์กินสัน (โรคสั่น) 2 ขวด และเงินสดจำนวนหนึ่ง คาดว่าเสียชีวิตมาไม่เกิน 24 ชั่วโมว นำศพส่งนิติเวช รพ.ศิริราช
จากการสอบสวน นายชัยณรงค์ หยกเล็ก อายุ 40 ปี ชาวชุมชนดินแดง ซอย 1 เขตธนบุรี ให้การว่า ผู้เสียชีวิตพักในชุมชนเดียวกับตนเอง ซึ่งผู้เสียชีวิตอยู่คนเดียวและไม่ได้ทำงาน แต่จะมีพี่สาวมาหาบ้างบางครั้ง ปกติผู้ตายจะชอบนั่งหน้าบ้าน และเป็นคนชอบเดินแถวนั้น โดยมีโรคประจำตัว เป็นโรคสั่น
จะเห็นได้ว่า กัญชา เป็นความหวังของผู้ป่วย Parkinson พาร์กินสัน ที่ต้องรีบดำเนินการนำมาใช้อย่างรวดเร็ว
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com รายงานว่า จากวันที่คณะทำงานเพื่อพิจารณาการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
โดยเริ่มต้นที่คณะทำงานเพื่อพิจารณาการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จะศึกษาวิจัยว่ากัญชาสามารถรักษาโรคชนิดใดได้บ้างทั้งในการแพทย์แผนปัจจุบัน และการแพทย์แผนไทย
ซึ่งเบื้องต้นจะนำไปใช้กับโรคที่มีผลวิจัยจากต่างประเทศรองรับ อาทิ โรคพาร์กินสัน โรคลมชัก โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคอัลไซเมอร์ โรคออทิสติก .......จากวันนั้น จนถึงวันนี้ทำให้ผู้ป่วยรอคอยจำนวนมาก
สำหรับ โรคพาร์กินสัน นับว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่โลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมองและระบบประสาท
ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ โดยสถิติผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันทั่วโลกอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1 ในกลุ่มผู้ที่อายุเกิน 65 ปี และมักพบในผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง
โรคพาร์กินสัน คือ โรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทในบางตำแหน่งเกิดมีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อว่า โดปามีน ( Dopamine ) ซึ่งเป็นสารที่มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายมีปริมาณลดลง
จนส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยแม้โรคพาร์กินสันจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยมากที่สุดในด้านการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องมีคนคอยดูแลในบางราย
เนื่องจากกล้ามเนื้อของผู้ป่วยมีการอ่อนแรงและสั่นเกร็ง จากที่เคยสามารถทำงานได้ ก็เริ่มเป็นทำได้ช้าลงและทำไม่ได้ในที่สุด แต่ก็ยังคงมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่สำคัญ
ได้แก่ อาการท้องผูกเป็นประจำ อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อเกร็ง โดยเฉพาะเวลานอนจนทำให้นอนไม่หลับ หรืออาการท้อแท้เบื่อหน่ายในชีวิตจนอาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมา
ซึ่งผู้ดูแลควรต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อจะสามารถติดตามความผิดปกติ และรีบแจ้งแพทย์เพื่อการรักษาได้อย่างทันท่วงที
ปัจจุบันโรคพาร์กินสันเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ใช้วิธีการรักษาจะเป็นแบบควบคุมประคับประคองอาการด้วยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับประทานยาให้ตรงเวลาในทุก 4-5 ชั่วโมง
และในช่วงที่ท้องว่างเท่านั้นเพื่อให้ยาเกิดประสิทธิภาพได้เต็มที่ ทั้งยังช่วยป้องกันการดื้อยาในผู้ป่วยอีกด้วย เนื่องจากผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีอาการป่วยติดต่อมาเป็นระยะเวลานานๆ จะเริ่มมีการตอบสนองต่อยาที่ไม่สม่ำเสมอ
จึงทำให้อาการที่รุนแรงขึ้นหรือลดลงในบางครั้ง จนอาจกลายเป็นสาเหตุให้เกิดสภาวะโรคแทรกซ้อนได้เช่นกัน
การที่ผู้ป่วยมีความหวัง มีความสุขในชีวิต และ มีกำลังใจที่ดี นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้อาการของผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นและสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวได้ต่อไป
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
04 เมษายน 2562
ผู้ชม 5891 ครั้ง