"back to school" แพทย์แนะ พ่อแม่คลายกังวล ลูกไม่ยอมไปโรงเรียน ควรรับมืออย่างใจเย็น
"back to school" แพทย์แนะ พ่อแม่คลายกังวล ลูกไม่ยอมไปโรงเรียน ควรรับมืออย่างใจเย็น
News Update วันที่ 11 พฤษภาคม 2562 : เชื่อว่าเด็กๆ คงไม่มีใครอยากจะเปิดเทอมกันหรอก ชีวิตเปิดเทอมของแต่ละคนคงรันทดไม่แพ้กัน
…ตื่นนอน อาบน้ำ แปรงฟัน กินข้าว > ไปรร. > เรียน > กินข้าว > เรียน > กลับบ้าน > ทำการบ้าน > กินข้าว > อาบน้ำ นอน โดยเฉพาะเด็กวัยซน ระดับอนุบาล และ ปฐมศึกษา
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ รายงานว่าช่วงนี้ผู้ปกครองคงปวดหัวกับเด็กๆ เมื่อถึงเวลา back to school หลังจากปิดเทอมยาว
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้เข้าสู่ช่วงเวลาของการเปิดเทอมเด็กๆต้องเปลี่ยนการดำเนินชีวิตจากที่เคยนอนดึกตื่นสายไปเที่ยวกับครอบครัว ทำกิจกรรมกับพ่อแม่และเพื่อนๆ
กลายเป็นต้องตื่นแต่เช้าเพื่อไปโรงเรียนเรียนหนังสือ และมีการบ้านกลับมาทำที่บ้าน เด็กจะรู้สึก ขี้เกียจและงอแงไม่อยากไปโรงเรียน
ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องปกติในเด็กเกือบทุกคนที่เริ่มไปโรงเรียนใหม่ๆ พบในช่วงอายุประมาณ 3ปี ถึง 4 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กมีความกังวลกับการแยกจากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู
สำหรับเด็กในวัยเรียนที่มีปัญหาการเรียน เข้ากับเพื่อนไม่ได้ หรือถูกทำโทษรุนแรงที่โรงเรียน บางคนแสดงออกด้วยการร้องไห้ บางคนสะสมความเครียดจนทำให้ตัวเองเจ็บป่วย
เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ปวดแขน ปวดขา ซึ่งเป็นกลไกการต่อต้านทางร่างกาย พ่อแม่ผู้ปกครองควรเปิดใจให้กว้างรับฟังความรู้สึกของเด็ก ต้องเข้าใจและค่อยๆ สอนลูกอย่างใจเย็น พร้อมหาทางแก้ไข
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นพ่อแม่ควรรับมือแก้ไขปัญหาอย่างมีสติปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดูสอนเด็กให้ช่วยเหลือตนเองและช่วยงานบ้าน โดยที่พ่อแม่อยู่ใกล้ชิด คอยให้กำลังใจ
นอกจากนี้ควรฝึกทักษะพื้นฐานในด้านการเล่นและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ทั้งนี้ควรให้เด็กไปโรงเรียนทุกวันโดยไม่จำเป็นต้องหยุด
และขอความช่วยเหลือจากคุณครูให้รับเด็กภายหลังจากพ่อแม่มาส่งเพื่อทำให้ระยะเวลาการแยกจากที่โรงเรียนสั้นที่สุด
ผู้ปกครองไม่ควรตำหนิเด็กหากอืดอาดชักช้าถ้าไม่ยอมอาบน้ำหรือไม่รับประทานอาหารเช้าควรจัดใส่กล่องให้และยังคงบอกเด็กว่าต้องไปโรงเรียน
ขณะเดินทางควรพูดเรื่องสนุกๆที่วางแผนจะทำในช่วงเย็นหลังเลิกเรียนและควรมารับเด็กตรงเวลา
หากปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วไม่ได้ผลควรปรึกษาจิตแพทย์เด็ก เพื่อช่วยกันดูแลให้เด็กปรับตัวไปโรงเรียนได้อย่างมีความสุขต่อไป
11 พฤษภาคม 2562
ผู้ชม 2363 ครั้ง