"ศักยภาพ ทันตกรรมไทย จาก "ศูนย์วิชาการทันตกรรม" สู่ สถาบันทันตกรรม institute of dentistry ไทยเป็นที่ 1 ในภูมิภาค พร้อมยกระดับสู่ "Dental Hub"
"ศักยภาพ ทันตกรรมไทย จาก "ศูนย์วิชาการทันตกรรม" สู่ สถาบันทันตกรรม institute of dentistry ไทยเป็นที่ 1 ในภูมิภาค พร้อมยกระดับสู่ "Dental Hub"
ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปี 2017 รศ.ทพ.นพ.สมชาย เศรษฐศิริสมบัติ นายกสมาคมทันตกรรมรากเทียม พร้อมคณะกรรมการจัดงานประชุมทันตกรรมรากเทียมในประเทศไทย หรือ BIS 2017 ประสบความสำเร็จสูง
การจัดงานประชุมครั้งนั้น ถือว่าเป็นสุดยอดงานประชุม และ แชร์นวัตกรรมเกี่ยวกับทันตแพทย์รากเทียมและในประเทศไทยตลาดของนวัตกรรมรากฟันเทียมมีขนาดใหญ่ที่สุดพร้อมความรู้ความสามารถของ นวัตกรรมในการให้การรักษาเกี่ยวกับทันตกรรมรากเทียม
โดยประเทศไทยเป็นภูมิภาคใหญ่ที่สุด ในการเป็น Dental Hub เป้าหมายของนโยบายการประชุมในครั้งนี้ คือ อยากให้อุตสาหกรรมด้านรากฟันเทียมในประเทศไทยใหญ่ที่สุดและต้องการเป็นศูนย์กลางของทันตแพทย์รากเทียมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกด้วย
ถือเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นดาวรุ่ง ที่ควรส่งเสริม และ สนับสนุนให้เป็น เมดิคอล ฮับ ของเอเชีย ซึ่งภาคเอกชนมีความพร้อมอยู่แล้ว
ขณะที่ภาครัฐก็มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว คือ สถาบันทันตกรรม ซึ่งเริ่มต้นจากการเป็น ศูนย์วิชาการทันตกรรม ( center of dental technology ) ของกรมการแพทย์ ฯ โดยมี ทพญ. สุขุมาลย์ ชลารักษ์ หัวหน้าแผนกทันตกรรม โรงพยาบาลหญิง (โรงพยาบาลราชวิถีในปัจจุบัน) เป็นหัวหน้าศูนย์ในปี พศ 2517
ศูนย์วิชาการทันตกรรม มีหน้าที่ส่งเสริมด้านวิชาการแก่ทันตแพทย์ของกรมการแพทย์และอนามัย โดยให้คำปรึกษา ทบทวน ฟื้นฟูความรู้ และค้นคว้าในวิชาการทันตกรรม ติดต่อเรื่องทุนและตัวบุคคล เพื่อไปศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งประสานงานทางด้านทันตกรรมของกรมการแพทย์และอนามัยกับหน่วยราชการอื่น
ต่อมาในปี พศ 2518 ระบบบริหารราชการไทยได้มีการเปลี่ยนแปลง กรมการแพทย์และอนามัยได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ โดยที่กรมการแพทย์เป็นหน่วยงานด้านวิชาการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข
มีหน้าที่และความรับผิดชอบสำคัญในการให้คำแนะนำปรึกษาและช่วยเหลือด้านวิชาการแก่โรงพยาบาล หรือสถาบันการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค
และเนื่องจากทันตกรรมเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่กรมการแพทย์ต้องรับผิดชอบ จึงมีการจัดตั้งศูนย์ทันตกรรม (dental center) ของกรมการแพทย์ และได้จัดให้ศูนย์ทันตกรรมอยู่ในแผนพัฒนาทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520 – 2524 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมวิชาการแก่ทันตบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข
ในระยะแรกศูนย์ทันตกรรม กรมการแพทย์เน้นการอบรมระยะสั้นประมาณ 7 – 8 หลักสูตรต่อปี มีการจัดประชุมวิชาการประจำปี มีการนิเทศงานในส่วนภูมิภาค การจัดส่งเอกสารทางวิชาการ รวมทั้งโรงเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์
ต่อมาในปี พศ 2531 ได้มีการสร้างอาคารกรมการแพทย์ 6 ชั้นขึ้น ณ บริเวณโรงพยาบาลศรีธัญญา นนทบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ในปัจจุบัน ศูนย์ทันตกรรมได้ย้ายออกจากโรงพยาบาลราชวิถี มาอยู่ ณ อาคารที่สร้างขึ้นใหม่นี้
โดยมีข้าราชการจำนวนหนึ่งย้ายมาปฏิบัติงานที่อาคารแห่งนี้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2531 โดยมี ทพญ. เพ็ญจันทร์ เนื้อนุ้ย เป็นหัวหน้าศูนย์ทันตกรรม
จากการที่ ศูนย์ทันตกรรมเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเป็นการภายในของกรมการแพทย์ โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นหน่วยงานกลางทางด้านทันตกรรมของกรมการแพทย์ ประกอบกับในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 6 มีจุดมุ่งเน้นเพื่อให้การพัฒนาสุขภาพของประชาชนบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี พ.ศ. 2543
ทั้งยังมีโครงการพัฒนาเทคโนโลยีทางทันตกรรมเป็นโครงการหนึ่งในแผนงานนี้ ศูนย์ทันตกรรมจึงมีหน้าที่รับผิดชอบโครงการนี้โดยตรง รวมทั้งยังเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนรับผิดชอบในการตอบสนองนโยบายทางด้านทันตสาธารณสุขของรัฐบาลด้วย
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาตามแผนงาน / โครงการดังกล่าวนี้ อยู่ภายใต้ความจำกัดทั้งงบประมาณและบุคลากรทางด้านสาธารณสุข โดยจะเห็นได้ว่า มีสัดส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรไทย เพียง 1 : 21,000 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับอัตราที่เหมาะสมซึ่งกำหนด
โดยองค์การอนามัยโลกซึ่งกำหนดไว้ถึง 1 : 4,000 และอัตราส่วนร้อยละของงบประมาณของงานสาธารณสุข เมื่อเทียบกับการศึกษา และเศรษฐกิจ จะเป็นสัดส่วน 4.6 : 20.8 : 15.6 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีข้อจำกัดทั้งทางด้านบุคลากร และงบประมาณ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างประหยัดและให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ประกอบกับภาวะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง จึงทำให้มีโรคทางทันตกรรมที่ยุ่งยากมากขึ้น และประชาชนเองก็มีความรู้ทางทันตสุขศึกษามากขึ้น เกิดความต้องการการบำบัดรักษาทางทันตกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น และหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวงสาธารณสุข ยังไม่สามารถที่จะสนับสนุนในด้านนี้
แม้แต่มหาวิทยาลัยก็ผลิตทันตแพทย์ผู้ชำนาญในแต่ละสาขาได้ไม่เพียงพอ กรมการแพทย์จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในด้านการพัฒนาวิชาการทางทันตกรรม
โดยจัดการส่งเสริม สนับสนุน อบรม นิเทศวิชาการทางทันตแพทยศาสตร์ ตลอดจนศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการพัฒนาบริการทางทันตกรรมให้สามารถถ่ายทอดไปสู่บุคลากรในระดับต่าง ๆ ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง อันจะทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในที่สุด
ในปี พ.ศ. 2531 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีหนังสือขอแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ใหม่ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณามีมติยกฐานะศูนย์ทันตกรรมให้เป็น สถาบันทันตกรรม (institute of dentistry) มีฐานะเทียบเท่ากอง
ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2532 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พศ. 2532 และมี ทพญ.เพ็ญจันทร์ เนื้อนุ้ย เป็นผู้อำนวยการคนแรก
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ รายงานว่า สถานการณ์ด้านทันตกรรมของประเทศไทย กรมการแพทย์ ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันมีประชาชนสั่งซื้อฟันปลอมทางเฟสบุ๊ค ซึ่งมีการโฆษณาและเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ ฟันปลอมที่ซื้อมานั้น ไม่ได้มาตรฐานและไม่เหมาะสมกับสภาพช่องปากไม่สามารถเทียบได้กับรักษาจากทันตแพทย์
แม้หาซื้อง่ายโดยสั่งซื้อทางออนไลน์แต่ฟันปลอมเหล่านี้ แทบจะไม่ช่วยในการบดเคี้ยว อาจส่งผลให้เกิดอันตรายในช่องปาก เช่น เกิดการสบฟันที่ผิดปกติเกิดแผลจากการกัดสบของฟันบริเวณลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม และลุกลามกลายเป็นแผลเรื้อรัง เสี่ยงติดเชื้อในช่องปาก
นอกจากนี้ฟันปลอมที่สั่งซื้อมาอาจไม่ได้ขนาด แน่นหรือหลวมเกินไปใส่แล้วรู้สึกเจ็บจากการออกแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถใช้เคี้ยวอาหารได้
และสูญเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ดังนั้นก่อนทำฟันปลอม ควรได้รับคำแนะนำและประเมินก่อนการรักษาตามขั้นตอนโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ
ทันตแพทย์บุญชู สุรีย์พงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรมกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ฟันปลอม ทำขึ้นเพื่อทดแทนการสูญเสียฟันธรรมชาติแทนที่ฟันที่หายไป
โดยทำฐานในการยึดจากทั้งอะคริลิกและโลหะ แบ่งเป็นฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งชิ้นจะทำเพื่อทดแทนในกรณีที่ไม่มีฟันเหลืออยู่เลย และฟันปลอมชนิดถอดได้เฉพาะซี่เป็นการใส่เพื่อช่วยไม่ให้ฟันซี่ที่เหลือล้มเปลี่ยนตำแหน่งช่วยในการบดเคี้ยวอาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นการทำฟันปลอมเริ่มจากการพิมพ์หรือหล่อเนื้อเยื่อช่องปากที่รองรับฟันใช้แบบพิมพ์ฟันในการสร้างแบบจำลองปากคนไข้ และสร้างฟันปลอมขึ้นมาบนแบบจำลองดังกล่าว แล้วทดลองนำมาใส่ในช่องปากของคนไข้เพื่อการสบฟันที่ถูกต้อง โดยลักษณะรูปร่าง
มีความสวยงามทั้งนี้ก่อนการทำฟันปลอมต้องมีการเตรียมช่องปาก เช่น ทำการอุดฟันซี่ที่ผุ ขูดหินปูน หรือถอนฟันซี่ที่ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้
รวมถึงวัสดุเครื่องมือที่ใช้ต้องได้มาตรฐาน มีการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง และควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลช่องปากและการทำความสะอาดฟันปลอมอย่างถูกวิธีจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
15 มกราคม 2562
ผู้ชม 3447 ครั้ง