“บิ๊ก ศรุต” ผู้สูบบุหรี่ และ มีแนวคิด "เลิกบุหรี่" ในสถานการณ์เดียวกันกับ "กลุ่มผู้สูบบุหรี่เกินครึ่งของไทย" ที่เป็นห่วงสุขภาพตัวเอง เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์นวัตกรรม การค้าการลงทุน

บทความ

“บิ๊ก ศรุต” อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน "กลุ่มผู้สูบบุหรี่" ที่อยากเลิกถาวร

MED HUB NEWS - “บิ๊ก ศรุต” ผู้สูบบุหรี่ และ มีแนวคิด "เลิกบุหรี่" ในสถานการณ์เดียวกันกับ "กลุ่มผู้สูบบุหรี่เกินครึ่งของไทย" ที่เป็นห่วงสุขภาพตัวเอง หวั่นตายด้วยโรคที่เกิดจากการยาสูบ อีก 10-20 ปีข้างหน้า แต่ไม่มีโอกาส ผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ เหมือนในประเทศที่พัฒนาแล้ว

ยุคปัจจุบันนี้คงไม่มีใครไม่ทราบถึงอันตรายของบุหรี่มวน และ ยาสูบประเภทต่างๆ ที่มีต่อสุขภาพของ ทั้งผู้สูบเองและผู้ที่อยู่รอบข้าง

แต่จำนวนผู้สูบบุหรี่ในช่วงหลายปีมานี้กลับไม่ได้ลดลงเลย แม้จะมีการรณรงค์ส่งเสริมรวมถึงมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อการเลิกบุหรี่มากสักเพียงใดก็ตาม

จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนไทยโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 พบว่า ในจํานวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 54.8 ล้านคน เป็นผู้ที่สูบบุหรี่มากถึง 11.4 ล้านคนหรือร้อยละ 20.7 โดยสูบเป็นประจํา 10 ล้านคน และสูบนาน ๆ ครั้ง 1.4 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ที่มีผู้สูบบุหรี่อยู่ร้อยละ 19.9

กลุ่มนักวิจัย และ แพทย์ได้ประเมินกันว่า ผู้สูบบุหรี่เหล่านี้จำนวนถึง 1 ใน 4 จะเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในอีก 10-20 ปีถัดไป เพราะควันบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด โดยเป็นสารพิษมากกว่า 250 ชนิด และเป็นสารก่อมะเร็งมากกว่า 50 ชนิด

แต่ละปีมีคนไทยจำนวนมากถึง 42,000 - 52,000 คนเสียชีวิตด้วยโรคที่เป็นผลมาจากการสูบบุหรี่โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และโรคถุงลมโป่งพอง ทั้งที่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคลงได้อย่างมาก

องค์การอนามัยโลก ได้ให้นโยบายทุกประเทศไปดำเนิน คือ “การใช้มาตรการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และ สุขภาพที่เกิดจากยาสูบ”  และ แคมเปญ World No Tobacco Day ในปี 2561 นี้

WHO ให้คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกว่า Tobacco Break Heart  หรือ  หยุดโรคหัวใจด้วยการเสพผลิตภัณฑ์ยาสูบ ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่ ยาเส้น ซึ่งการกำหนดนโยบายเพื่อใช้จ่ายเงินรณรงค์ต้องให้ถูกจุด ตรงกลุ่มเป้าหมาย

ด้วยการมองถึงปัญหาสุขภาพว่าสิ่งไหนคือตัวการก่อโรคมากที่สุด และ ทำไมการรณรงค์แบบเดิม ไม่ได้ผล กลุ่มผู้ป่วยเสพผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดไหน

สิ่งที่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรค วิธีการแรกคือ 1. เลิกสูบบุหรี่เลย  2.ใช้วิธีการอื่นๆ ที่ทดแทนการสูบบุหรี่ โดยสิ่งนั้นต้องปลอดภัยต่อสุขภาพ ผ่านการศึกษาวิจัยอย่างประจักษ์แล้ว

โดยประเทศไทย สามารถขอเอกสาร และ ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ  สถาบันมะเร็งแห่งสหราชอาณาจักร หรือ Cancer Research Uk  นำผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพมาใช้ได้  

หน่วยงานเหล่านี้ได้ตรวจสอบอย่างมั่นใจแล้ว รวมทั้ง สถาบันวิจัยเพื่อประเมินความเสี่ยงของประเทศเยอรมัน หรือ German Federal Institute for Risk Assessment ( BfR ) ได้ตรวจซ้ำ “บุหรี่ไฟฟ้า” ยืนยันว่ามีความปลอดภัยกว่าเมื่อเทียบกับบุหรี่มวนแน่นอนแล้ว

งานวิจัยยังบอกอีกว่า ความเสี่ยงของการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีน้อยมาก หรือ แทบไม่ทำให้ก่อโรคเลย ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ ทางการไทยไม่ควรดูถูกเขา หรือ อาจจะพูดเข้าข้างตัวเองเพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่คุณไม่อยากเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมาก ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

คำถามคือ ทำไมไม่เลิกบุหรี่เลย หักดิบไปเลย หรือ เชิญชวนผู้สูบบุหรี่ให้ลงมือเลิกในวันงดสูบบุหรี่โลก เป็นคำพูดที่เหมือนไร้ความรับผิดชอบต่อสุขภาพผู้สูบบุหรี่อย่างมาก เมื่อผู้ไม่สูบบุหรี่ แนะนำผู้สูบบุหรี่ในลักษณะนี้  องค์ความรู้ของผู้พูดไม่ได้ศึกษาเรื่องการติดบุหรี่แล้วเลิก ซึ่งการหักดิบที่สำเร็จมีอยู่บ้าง แต่น้อยมาก และทำลายสุขภาพ

จากสถิติพบว่าร้อยละ 90 ของผู้ที่พยายามเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง ไม่ประสบความสำเร็จในการเลิก และกลับไปสูบใหม่ภายใน 1 สัปดาห์   

ทำไมบุหรี่จึงเลิกยาก ? สาเหตุก็เพราะผู้บุหรี่ติดพฤติกรรมการบุหรี่ 2 ด้าน คือบุหรี่ติดทางจิตใจ ซึ่งมักเกิดจากความเคยชินและความเชื่อที่ว่าบุหรี่ช่วยให้เกิดความสบายคลายเครียดได้ สังเกตได้จากการเข้าห้องน้ำ หรือ หลังการทานอาหาร

และ การติดทางร่างกาย ซึ่งก็คือการติดนิโคตินในบุหรี่ ผู้สูบจึงรู้สึกผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวลลงได้ในทันที และหากต้องการความสบายอีกก็ต้องสูบอีกจนกลายเป็นการเสพติดในที่สุด สังเกตได้จากหลังการเลิกประชุม หรือ การทะเลาะเบาะแว้งกัน

ทำไมบุหรี่จึงเลิกยาก ? สิ่งนี้ทำลายสุขภาพมาก คือ อาการถอนยา หรืออาการขาดนิโคติน ซึ่งจะเริ่มภายใน  4-6 ชั่วโมงหลังการหยุดบุหรี่ โดยผู้สูบจะมีอาการด้านอารมณ์และจิตใจ ได้แก่ อยากยา ซึมเศร้า วิตกกังวล กระวนกระวาย หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย สมาธิลดลง นอนไม่หลับ

อาการด้านร่างกาย ได้แก่ หัวใจเต้นช้าลง อยากอาหาร น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ไม่มีเรี่ยวแรง ปวดศีรษะ ท้องผูก เหงื่อออก 

สำหรับวิธีเลิกบุหรี่นั้น เท่าที่มีวิธีการต่างๆ  ในรูปแบบของหมากฝรั่งอดบุหรี่ หรือ แผ่นแปะผิวหนัง จากการสอบถามของแพทย์เจ้าของคลินิกเลิกบุหรี่ พบว่าผู้สูบบุหรี่ เลิกไม่ได้เลย แถมเสียเงิน เสียเวลาอีกด้วย

ทั้งนี้ ในงานของ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ( องค์การมหาชน ) หรือ SACICT เปิดงาน “SACICT เพลิน Craft 2561”  ชวนคนเมืองมาผ่อนคลายกับคราฟต์บำบัด สัมผัสงานคราฟต์ร่วมสมัย  

หนุ่มฮอต “บิ๊ก ศรุต วิจิตรานนท์” ร่วมพูดคุยถึงไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน โดยสิ่งที่น่าชื่นชมคือ บิ๊ก ศรุต สามารถเลิกเหล้า เลิกเบียร์ได้อย่างถาวร ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

แต่สิ่งที่ บิ๊ก ศรุต พยายามอีกหนึ่งเรื่องคือ การเลิกบุหรี่ แต่ยังไม่สามารถเลิกได้ ซึ่งตัวเขาได้ตั้งใจว่าจะต้องเลิกบุหรี่ให้ได้ในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะกลัวว่าอายุที่เริ่มมากขึ้นจะเกิดโรคร้ายต่างๆ

สิ่งที่ บิ๊ก ศรุต เผชิญอยู่นั้น ผู้ไม่สูบบุหรี่ไม่เข้าใจ แต่ผู้สูบบุหรี่ด้วยกันเข้าใจดี เพราะปัจจุบันมีแต่คนรักสุขภาพ การไปพ่นควันบุหรี่  และ เป็นคนดังด้วยทำให้สังคมมองไม่ดี

กลุ่มผู้สูบบุหรี่ และ มีแนวคิดแบบ บิ๊ก ศรุต มีจำนวนเกินครึ่งของผู้สูบบุหรี่ในไทย เราจะช่วยคนกลุ่มนี้อย่างไร ?

อยากเลิกบุหรี่มาก  เพราะตนรู้สึกว่าตอนนี้ร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนเก่า และเวลาออกงานเจอผู้ใหญ่ หรือเพื่อนร่วมงานแล้วได้กลิ่นบุหรี่จากตน 

รับทำใจยากมากในการเลิกบุหรี่  เพระด้วยความเคยชินของตนตนดูดบุหรี่ตั้งแต่อายุ 14ปี จนตอนนี้อายุ 46 ปี รวมเวลาที่ดูดบุหรี่มานานกว่า 32 ปี  เล็งภายในปีนี้เลิกได้แน่นอน

การนำผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพมาใช้โดยไม่ก่อให้เกิดโรค หรือ ความเสี่ยงต่ำมากๆ จะช่วยชีวิตเขา และ คนรอบข้างที่ได้ควันบุหรี่มือสอง ให้มีสุขภาพดี

รวมทั้ง ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ ที่สูบมายาวนาน จนเกิดโรคในช่วงระยะต้นๆ สามารถยืดอายุ 10 - 20 ปี จะดีต่อระบบสาธารณสุขไทยมากขึ้นหรือเปล่า

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ โปรดใช้หลักเมตตา...เราจะช่วยคนกลุ่มนี้อย่างไรต่อไป การนิ่งเฉยต่อความเป็นความตายมนุษย์ มันบาปมากนะครับ ? ! 

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News   

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

05 พฤษภาคม 2564

ผู้ชม 3731 ครั้ง

Engine by shopup.com